Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12912
Title: ศักยภาพในการปรับเปลี่ยนการขนส่งสินค้าภายในประเทศไทยจากการขนส่งด้วยรถบรรทุกเป็นการขนส่งโดยเครื่องบิน
Other Titles: Potentials to divert Thailand's domestic cargo movements from truck transportation to air transportation
Authors: ประพล เสถียรภาพงษ์
Advisors: พงศา พรชัยวิเศษกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Pongsa.P@Chula.ac.th
Subjects: บริการจัดส่งสินค้า -- ไทย
การขนส่งทางบก -- ไทย
การขนส่งทางอากาศ -- ไทย
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาความเป็นได้ในการเปิดเที่ยวบินขนส่งสินค้าภายในประเทศเพิ่มระหว่างจังหวัดเชียงใหม่และกรุงเทพมหานคร โดยใช้เครื่องบินแบบ Airbus A310 Freighter ของบริษัทขนส่งด่วนระหว่าง ประเทศ ซึ่งปัจจุบันการขนส่งสินค้าระหว่างสองจังหวัดดังกล่าวทำโดยรถบรรทุกขึ้นล่องข้ามคืนมาเป็นการ ขนส่งด้วยเครื่องบินขนส่งแทน วิธีดำเนินการวิจัยใช้ศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน โดยเปรียบเทียบ ต้นทุนการบินต่อเที่ยว กับปริมาณสินค้าที่ส่งออกจากนิคมอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกลำพูน จุดคุ้มทุน ระยะเวลาคืนทุน ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจทำการบินเพิ่ม อีกทั้งปัจจุบันรัฐบาลไทยยังพยายามให้ การสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมการบินภูมิภาค โดยการพยายามให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการบิน ย่อยภูมิภาค (Regional Hub) ดังนั้นจึงมีความน่าสนใจในการศึกษาการตัดสินใจลงทุนเปิดเส้นทางบิน ระหว่างจังหวัดโดยใช้จังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง จากผลการศึกษาพบว่าในปี ค.ศ. 2005 พบว่าปริมาณ การขนส่งเข้าออกนิคมอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกลำพูนทั้งสิ้น 61,452,589 กก. นั้น มีการใช้การขนส่งด่วน ทางอากาศเพียงร้อยละ 0.4 ถ้ามีการขยายเส้นทางการบินเพื่อขนส่งสินค้าไปยังจังหวัดเชียงใหม่ ใช้เงิน ลงทุนเริ่มแรก 76,623,888 บาท อายุโครงการทั้งสิ้น 6 เดือน มีผลตอบแทนภายใน (IRR) ในกรณียอดขาย ทั่วไป 41.15% ใช้ระยะเวลาในการคืนทุนทั้งสิ้น 5.52 เดือน ค่าปัจจุบันของโครงการ (NPV) เท่ากับ 5,333,584 บาท จากการศึกษาพบว่าการลงทุนของโครงการนี้มีความเป็นไปได้ถ้ามีการส่งเสริมการขายที่เหมาะสม
Other Abstract: The objective of this thesis is the feasibility study of Potential to fly the dedicated freighter aircraft between Chiangmai Province and Bangkok. The aircraft type of this study is Airbus A310 freighter by converting the current trucking route volume from Lamphoon Export Processing Zone to and from Bangkok. The cost analysis is inclusive. The study on 2005 found that the overall of inbound and outbound of Lamphoon Export Processing Zone was 61,452,589 kgs in total. Only 4% were transported under Air Express Mode which is very minimal. After opened the new route. It will increase its line haul capacity up to at least an approximate 80,000 lbs per flight. The initial investment is 76,623,888 baht and 6 months lifetime. The project has IRR 41.15% on average selling volume, Payback period 5.52 months, net present value 5,333,584 baht. From the overall result indicates that this project is feasible if proper sales and promotion campaign have been implemented.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12912
ISBN: 9741437919
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Praphon_st.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.