Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12954
Title: ผลของการเรียนแบบผสมผสานที่ใช้คอร์สแวร์ในรูปแบบที่ต่างกันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และความพึงพอใจของผู้เรียนระดับปริญญาบัณฑิตที่มีระดับความสามารถทางการเรียนรู้ต่างกันในรายวิชาโปรแกรมการเรียนการสอนผ่านเว็บขั้นนำ
Other Titles: Effect of hybrid learning with different type of courseware toward learning acheivement and attitude of undergraduate students with different levels of learning ability in introduction to web-based instruction program subject
Authors: จินตวีร์ คล้ายสังข์
Email: jinmonsakul@gmail.com
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: การเรียนรู้แบบผสมผสาน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
แบบเรียนสำเร็จรูป
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
Issue Date: 2553
Publisher: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของการเรียนแบบผสมผสานที่ใช้คอร์สแวร์ในรูปแบบที่ต่างกัน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อบทเรียนในผู้เรียนระดับปริญญาบัณฑิต ที่มีระดับความสามารถทางการเรียนต่างกันในรายวิชาโปรแกรมการเรียนการสอนผ่านเว็บขั้นนำ โดยมีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อบทเรียนของนิสิตที่เรียนแบบผสมผสาน ที่ใช้คอร์สแวร์และระดับความสามารถทางการเรียนที่ต่างกัน และ (2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อบทเรียนของนิสิตที่เรียนแบบผสมผสาน ที่ใช้คอร์สแวร์และระดับความสามารถทางการเรียนที่ต่างกัน วิธีการดำเนินงานวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลจากการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของตัวแปรอิสระคือบทเรียนแบบผสมผสาน และระดับความสามารถทางการเรียน ที่ส่งผลต่อตัวแปรตามคือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตวิชาโปรแกรมการเรียนการสอนผ่านเว็บขั้นนำและความพึงพอใจต่อคอร์สแวร์ในรายวิชาฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่ออธิบายข้อมูลทั่วไป แล้วนำเสนอข้อมูลที่ได้ในรูปแบบตารางประกอบความเรียง และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานที่ออกแบบตามศาสตร์ด้านการศึกษา และใช้คอร์สแวร์ที่ออกแบบตามหลักการการออกแบบสื่อประสมและระดับความสามารถทางการเรียนของนิสิต ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการออกแบบโปรแกรมการเรียนการสอนผ่านเว็บขั้นนำ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบพหุคูณ (Multivariate analysis of variance : MANOVA) แล้วนำเสนอข้อมูลที่ได้ในรูปแบบตารางและแผนภาพประกอบความเรียง สรุปผลการวิจัยจากวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 โดยมีสมมติฐานว่า นิสิตที่เรียนแบบผสมผสานที่ใช้คอร์สแวร์และระดับความสามารถทางการเรียนที่ต่างกัน จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อบทเรียนต่างกัน ถึงแม้ว่าผลจากการทดสอบจะไม่พบนัยสำคัญทางสถิติที่แสดงถึงว่า ไม่ว่าจะเป็นบทเรียนในรูปแบบใดก็ไม่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนพบความแตกต่างบางประการ กล่าวคือ (1) ผู้เรียนกลุ่มเก่งและผู้เรียนกลุ่มอ่อนมีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เกิดจากเนื้อหาบทเรียนแบบบรรยายของบทเรียนแบบผสมผสาน ที่ใช้คอร์สแวร์ที่ใช้ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่เกิดจากเนื้อหาบทเรียนแบบปฏิบัติของบทเรียนแบบผสมผสาน ที่ใช้คอร์สแวร์ที่ใช้ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว (2) ผู้เรียนกลุ่มเก่งมีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เกิดจากเนื้อหาบทเรียนแบบบรรยายและแบบปฏิบัติของบทเรียนแบบผสมผสาน ที่ใช้คอร์สแวร์ที่ใช้ภาพเคลื่อนไหวสูงที่สุด และมีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เกิดจากเนื้อหาบทเรียนแบบบรรยายและแบบปฏิบัติของบทเรียนแบบผสมผสาน ที่ใช้คอร์สแวร์ที่ใช้ภาพนิ่งน้อยที่สุด และ (3) ผู้เรียนกลุ่มอ่อนมีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เกิดจากเนื้อหาบทเรียนแบบบรรยายของบทเรียนแบบผสมผสาน ที่ใช้คอร์สแวร์ที่ใช้ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเท่ากัน ในขณะที่ผู้เรียนกลุ่มอ่อนมีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เกิดจากเนื้อหาบทเรียนแบบปฏิบัติของบทเรียนแบบผสมผสาน ที่ใช้คอร์สแวร์ที่ใช้ภาพนิ่งสูงกว่าที่ใช้ภาพเคลื่อนไหว จากวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อบทเรียนของนิสิตที่เรียนแบบผสมผสานที่ใช้คอร์สแวร์และระดับความสามารถทางการเรียนที่ต่างกัน จากวัตถุประสงค์งานวิจัยดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่าความพึงพอใจต่อบทเรียนที่มีเนื้อหาแบบบรรยายและแบบปฏิบัติของบทเรียนผสมผสาน ที่ใช้คอร์สแวร์ที่ใช้ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวนั้น ด้านที่ 1 การประเมินความพึงพอใจการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามหลัก 7 ประการเพื่อการสอนระดับปริญญาบัณฑิตที่มีประสิทธิภาพ (Chickering and Gamson, 1986) ได้รับความพึงพอใจเป็นอันดับที่หนึ่งเช่นเดียวกันทั้งหมดเพียงด้านเดียว รวมทั้งผู้เรียนกลุ่มเก่งก็ให้ความพึงพอใจในด้านที่ 1 นี้เช่นเดียวกันด้วย สำหรับผลการประเมินระดับความพึงพอใจในภาพรวม สรุปได้ว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใจ ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้มีดังนี้ (1) ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า เนื้อหาบทเรียนแบบบรรยายของบทเรียนแบบผสมผสานที่ใช้คอร์สแวร์ที่ใช้ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวมีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าเนื้อหาบทเรียนแบบปฏิบัติที่ใช้คอร์สแวร์ที่ใช้ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว และสรุปได้ว่าความพึงพอใจต่อบทเรียนที่มีเนื้อหาแบบบรรยายและแบบปฏิบัติของบทเรียนผสมผสาน ที่ใช้คอร์สแวร์ที่ใช้ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวนั้น ด้านที่ 1 การประเมินความพึงพอใจการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามหลัก 7 ประการเพื่อการสอนระดับปริญญาบัณฑิตที่มีประสิทธิภาพ (Chickering and Gamson, 1986) ได้รับความพึงพอใจเป็นอับดับหนึ่งเช่นเดียวกันทั้งหมดเพียงด้านเดียว จึงสามารถนำไปเป็นแนวทางในการออกแบบและประยุกต์ให้เข้ากับการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานวิชาอื่นๆ เพื่อให้เหมาะสมกับเนื้อหา และจุดประสงค์ในการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น (2) แม้ว่าการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือนี้จะเหมาะกับการเรียนรายวิชาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา แต่ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับกลุ่มสาระอื่นๆ และปรับใช้ได้กับผู้เรียนทุกระดับชั้น และ (3) การนำคุณสมบัติและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านการศึกษามาบูรณาการเพื่อการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม เช่น หลัก 7 ประการเพื่อการสอนระดับปริญญาบัณฑิตที่มีประสิทธิภาพ (Chickering and Gamson) และการเรียนการสอน 9 ขั้นตามแนวทางของ Gagne (Gagne’s nine events of instruction) ข้อแนะนำในการทำวิจัยครั้งต่อไปมีดังนี้ ควรมีการทำวิจัยโดยใช้บทเรียนเว็บแบบผสมผสานที่มีการผสมผสานการเรียนการสอนกับการเรียนรูปแบบอื่นๆ เช่น การเรียนแบบปัญหาเป็นฐาน การเรียนแบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดด้านอื่นๆ ต่อไป โดยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่นำรูปแบบการสอนต่างๆ มาบูรณาการ เช่น การจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน (Project based learning) หรือการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem based learning) เป็นต้น
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12954
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jintavee_Hybrid.pdf4.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.