Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12995
Title: รูปแบบพันธมิตรทางธุรกิจสถาปัตยกรรมระหว่างบริษัทสถาปนิกสำหรับโครงการออกแบบและก่อสร้างในประเทศไทย
Other Titles: Types of architectural business alliances amongst architectural firms for projects in Thailand
Authors: เกศศจี ศุภพัฒนวรกุล
Advisors: ปรีชญา สิทธิพันธุ์
กุลธิดา แสงนิล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Preechaya.S@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: กลยุทธ์พันธมิตรธุรกิจ
สถาปัตยกรรม
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พันธมิตรในธุรกิจสถาปัตยกรรมนั้นก่อให้เกิดความได้เปรียบหลายประการต่อบริษัทสถาปนิก การผสมผสานความชำนาญที่แตกต่างกันของหุ้นส่วนต่างๆ ช่วยสร้างผลลัพธ์ที่ดีกว่าการดำเนินงานโดยลำพัง นอกจากนั้นพันธมิตรทางธุรกิจที่เข้มแข็งสามารถยืดหยัดท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่ผันผวนและสามารถจัดการกับปัญหาด้านการบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย การศึกษางานวิจัยและเอกสารทั้งในประเทศและต่างประเทศในเรื่องหลักการและแนวทางปฏิบัติของพันธมิตรทางธุรกิจทั่วไป เรื่องพันธมิตรทางธุรกิจที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทสถาปนิก นอกจากนั้นยังมีเป้าหมายในการจัดประเภทพันธมิตรทางธุรกิจสถาปัตยกรรมระหว่างบริษัทสถาปนิกที่มุ่งเน้นเฉพาะโครงการออกแบบและก่อสร้างในประเทศไทย และการเสนอปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของพันธมิตรทางธุรกิจสถาปัตยกรรม การวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทสถาปนิก โดยทำการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) บริษัทสถาปนิกขนาดเล็ก มีจำนวนบุคลากรน้อยกว่า 20 คน 2) บริษัทสถาปนิกขนาดกลาง มีจำนวนบุคลากร 21 - 50 คน 3) บริษัทสถาปนิกขนาดใหญ่ มีจำนวนบุคลากร 51 - 100 คน 4) บริษัทสถาปนิกขนาดใหญ่พิเศษ มีจำนวนบุคลากรมากกว่า 100 คน จากการวิจัยพบว่าพันธมิตรทางธุรกิจสถาปัตยกรรมในประเทศไทย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ คือ พันธมิตรทางธุรกิจระหว่างบริษัทสถาปนิกไทยกับบริษัทสถาปนิกไทยด้วยกัน และพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างบริษัทสถาปนิกไทยกับบริษัทสถาปนิกอื่นๆ โดยพันธมิตรทางธุรกิจสถาปัตยกรรมระหว่างบริษัทสถาปนิกไทยกับบริษัทสถาปนิกไทยด้วยกัน สามารถแบ่งย่อยตามระดับความรับผิดชอบระหว่างหุ้นส่วน ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) พันธมิตรทางธุรกิจแบบรับเหมาช่วง(Sub-contracting with lesser liabilities) 2) พันธมิตรทางธุรกิจแบบเท่าเทียม (Two parties with equal liabilities) 3) พันธมิตรทางธุรกิจแบบสัญญา 3 ฝ่าย (Consortium) 4) พันธมิตรทางธุรกิจโครงการร่วมทุน (Project-based Joint partnership) พันธมิตรทางธุรกิจระหว่างบริษัทสถาปนิกไทยกับบริษัทสถาปนิกอื่นๆ สามารถแบ่งย่อยตามระดับความร่วมมือ ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่1) พันธมิตรทางธุรกิจแบบส่งบริการข้ามแดน(Cross-border service) 2) พันธมิตรทางธุรกิจแบบผู้ร่วมงานต่างชาติ (Foreign Affiliate) 3) พันธมิตรทางธุรกิจแบบบริษัทในเครือ (group companies: local and overseas) 4) พันธมิตรทางธุรกิจโครงการร่วมทุนระหว่างประเทศ (project-based joint partnership with renowned international firm(s)) นอกจากนั้นการวิจัยพบปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจสถาปัตยกรรม ประกอบด้วย การคัดเลือกหุ้นส่วนควรคำนึงถึง ความชำนาญที่แตกต่างกันและเป็นประโยชน์ต่อโครงการเพื่อก่อให้เกิดการรวมตัวอย่างมีพลัง ประสบการณ์และประวัติการทำงานของหุ้นส่วน ความเข้าใจของหุ้นส่วนในเรื่องผลประโยชน์ของการเข้าร่วมกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจ ความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมองค์กรและแนวทางการปฏิบัติวิชาชีพของหุ้นส่วน ความเข้าใจเรื่องจรรยาบรรณและจริยธรรมในการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเรื่องข้อตกลงระหว่างหุ้นส่วน: สัญญาระหว่างหุ้นส่วนควรชัดเจนและมีผลตามกฏหมายไทย ประกอบด้วยรายละเอียดเรื่องอำนาจ สิทธิ และความรับผิดชอบทางกฏหมายของทุกฝ่าย หน้าที่ ระบบการบริหาร ขอบเขตงานและความรับผิดชอบของหุ้นส่วนทุกฝ่าย โครงสร้างภาษีและแนวทางการยุติความร่วมมือ โดยข้อตกลงนี้ควรได้รับการตรวจสอบจากปรึกษาทางกฏหมายที่มีประสบการณ์ นอกจากนั้นการวิจัยยังแสดงถึงความคิดเห็นของสถาปนิกถึงเรื่องพันธมิตรทางธุรกิจสถาปัตยกรรมในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่เห็นว่าสภาสถาปนิกควรเข้ามามีบทบาทและจัดระเบียบรูปแบบพันธมิตรทางธุรกิจสถาปัตยกรรมระหว่างบริษัทสถาปนิกสำหรับโครงการออกแบบและก่อสร้างในประเทศไทย และสมาคมสถาปนิกสยามควรมีบทบาทในการเป็นตัวกลางที่ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างบริษัทสถาปนิกมากขึ้น
Other Abstract: Alliances in architectural business are considered to be advantageous. Companies can contribute their different knowledge and skills to create better results. Moreover, stronger alliances put them in a better position to stand the current unpredictable economic situation as well as the management difficulties of the present. The objectives of this research include: identifying the principles and practices of the world business alliances. Investigating the state of business alliances amongst local architectural firms as well as the international research and publications. Categorizing the architectural business alliances amongst architectural firms for projects in Thailand. Representing the way to build successful business alliances. Interviews are also conducted with top executives of selected architectural firms which include: 1) small-sized firms with staff fewer than 20, 2) medium-sized firms with staff of 21 but not over 50, 3) large-sized firms with staff of 51 but not over 100, and 4) super-sized firms with staff of more than 100. The findings reveals that: 1) Architectural business alliances in Thailand can be divided into two categories: (a) alliances between Thai firms, (b) alliances between Thai firm(s) and non-Thai firm(s). 2) The alliances between Thai firms can be sub-divided into four different categories, based on degree of responsibility amongst the partners: (a) sub-contracting with lesser liabilities, (b) two parties with equal liabilities, (c) a consortium, and (d) project-based joint partnerships. 3) The alliances between Thai firm(s) and non-Thai firm(s) can be sub-divided into four different category, based on degree of co-operation: (a) cross-border service, (b) foreign affiliation, (c) group companies: local and overseas, (d) project-based joint partnership with renowned international firm(s). 4) Factors determining the success in the architectural business alliance include, but are not limited to the following: 4.1) Selection of good partner(s) which will include: (a) different skills and expertise to promote synergy, (b) experience and good work records, (c) understanding mutual benefits of forming a partnership, (d) understanding the cultures and practice of the organization, (e) understanding ethics of good conduct of the architectural profession. 4.2) Shareholder agreement: clear and enforceable under the Thai laws, with full details on the rights and liabilities of joint venture shareholders, functions and procedures of the management, duties and responsibilities of each party, tax structure, share exit clause, etc. The shareholder agreement should be drafted by an experienced law firm. The findings also reveal that there are voices of concern by most interviewed architects on the prospect of architectural business alliances. They would like to see the Council of Architects come into play and set the proper standard of such alliances.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12995
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.597
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.597
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kaesajee.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.