Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13061
Title: สุขภาพจิตและวิธีจัดการกับปัญหา ในบุตรวัยรุ่นของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
Other Titles: Mental health and coping styles among adolescent offsprings of patients with depressive disorders
Authors: จารุรัตน์ เภานิบล
Advisors: อุมาพร ตรังคสมบัติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Umaporn.Tr@Chula.ac.th
Subjects: สุขภาพจิต
ความซึมเศร้า
การแก้ปัญหาในวัยรุ่น
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาภาวะสุขภาพจิต วิธีจัดการกับปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในบุตรวัยรุ่นของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรพยาบาลศรีธัญญา จำนวน 61 คน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น (TMHI-15 )และ แบบสอบถามวิธีจัดการกับปัญหา (ฉบับภาษาไทย) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมทางสถิติ SPSS ที่ระดับนัยสำคัญ P<.05 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภาวะสุขภาพจิตอยู่ในระดับดีเท่ากับค่าเฉลี่ยของคนทั่วไป (39.3%) วิธีจัดการกับปัญหาที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกใช้บ่อยมากที่สุด ได้แก่ การนอนหลับ (80.3%) วิธีที่เลือกใช้บ่อยน้อยที่สุด ได้แก่ ไปหาผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาอื่นๆ เช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา (93.4%) ส่วนวิธีจัดการกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคะแนนสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่น การวาดฝันถึงสิ่งอยากจะให้มี อยากจะให้เป็น และการพยายามใช้เหตุผลและพูดคุยประนีประนอมกับบิดามารดา เป็นต้น สำหรับปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับคะแนนสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่น คะแนนเฉลี่ยสะสม และบุคคลที่ปรึกษาเมื่อมีเรื่องที่ไม่สบายใจ เป็นต้น
Other Abstract: To study level of mental health and coping styles among adolescent offsprings of patients with depressive disorders, who came to the out-patient clinic of the King Chulalongkorn Memorial Hospital and Sritanya Hospital, 61 samples. The instruments used in this study consisted of a questionnaire on general information, Thai Mental Health Indicator (TMHI-15) and The Adolescent Coping Orientation for Problem Experience (Thai version). The data was analyzed by SPSS program at statistical significance of P<.05. The results show that most of the sample (39.3%) had a mental health state at the same level as that of the general public. The most frequent method of coping used by the sample was sleeping (80.3%) the least frequent was getting professional counseling such as a psychiatrist (93.4%). Many methods of coping were significantly associated with mental health such as daydreaming, talking and reasoning with parents etc. Factor found to be significantly related to mental health included.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13061
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.173
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.173
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jaruratt_pr.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.