Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13129
Title: บทบาทของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค
Other Titles: Roles of modern retail business on the changes of consumer behaviour
Authors: ฌานพล รตนาภรณ์
Advisors: นวลน้อย ตรีรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Nualnoi.T@chula.ac.th
Subjects: การค้าปลีก
พฤติกรรมผู้บริโภค
เศรษฐศาสตร์สถาบัน
ทุนนิยม
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาว่าการขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่เช่นห้างไฮเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อ ก่อให้เกิดผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างไร ผลการศึกษาพบว่า ร้านค้าปลีกข้ามชาติได้อาศัยความได้เปรียบของทุนและเทคโนโลยีการจัดการ เข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างส่วนบนระดับอุดมคตินั่นคือ วัฒนธรรมในการบริโภค ที่ครอบและกำหนดพฤติกรรมผู้บริโภคไทยอยู่ โดยอาศัยกลยุทธทางการตลาดต่างๆ เช่น การโฆษณา การบริการ และการประชาสัมพันธ์ เพื่อเปลี่ยนทัศนคติมุมมองของผู้บริโภคต่อสินค้าจากวัตถุธรรมดา (Objective) ให้กลายเป็นวัตถุของความปรารถนา (Desired object) หรือสัญญะ (Sign object) เพื่อให้การซื้อสินค้าเป็นมากกว่าการบริโภควัตถุธรรมดา แต่เป็นการบริโภคเพื่อความหมาย เช่น เพื่อความสุขสำราญ ความตื่นตาตื่นใจ และเพื่อวิถีชีวิตแบบหนึ่งมากกว่า ผลลัพธ์จากการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเชิงสัญลักษณ์คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer behaviour) ผู้บริโภคเปลี่ยนมาให้ความสำคัญและถูกจูงใจจากความสะดวกสบาย หรืออยู่ในบรรยากาศที่ทันสมัย สวยงาม ได้รับบริการที่ดี และสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ที่ตนต้องการในเวลาเดียวกัน หรือเป็นการตอบสนองความต้องการ (Desire) ของวิถีชีวิตแบบคนเมือง (Urbanism) ตามที่ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ได้วางกลยุทธทางการตลาดไว้นั่นเอง
Other Abstract: To study how the expansion of modern trade could lead to the process of changes of consumer behaviour. The result of this study shows that multinational modern retail business utilizes the capital and technological advantages to change the superstructure that is culture in consumption. By employing the marketing strategies, e.g. advertising, services and public relations, the modern retail business can alter the consumer's attitude towards shopping goods as an object to become desired object or sign object. Thus, consumer behaviour is changed from shopping regular object to become lifestyle pleasure. The consequence of cultural change is the change of consumer's perception toward their new motivations on convenience, the privacy of shopping, good environmental, good services, and other family activities. This fulfills consumer's desire for urbanism culture.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์การเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13129
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1086
ISBN: 9741435223
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1086
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Charnpol_Ra.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.