Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13189
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุพจน์ ศรีมหาโชตะ | - |
dc.contributor.author | ปกรณ์ เมธรุจภานนท์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2010-08-03T01:28:18Z | - |
dc.date.available | 2010-08-03T01:28:18Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13189 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en |
dc.description.abstract | ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย : โรคหลอดเลือดแดงเอออร์ต้าเป็นโรคที่พบร่วมกับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้บ่อย ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงเอออร์ต้า มาเข้ารับการผ่าตัดในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นจำนวนมาก ผู้ป่วยเหล่านี้มักส่งปรึกษาอายุรแพทย์โรคหัวใจเพื่อฉีดสีหลอดเลือดหัวใจเกือบทุกราย แต่ไม่เคยมีการศึกษาอุบัติการณ์ และปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบของผู้ป่วยกลุ่มนี้ในประเทศไทย วิธีการ : การศึกษานี้ทำในคนไข้ที่จะผ่าตัดโรคหลอดเลือดแดงเอออร์ต้าทั้งสิ้น 289 คนซึ่งเป็นการศึกษาย้อนหลังที่ทำในปี 2545-2549 จำนวน 227 คน ร่วมกับการศึกษาแบบไปข้างหน้าในปี 2550 จำนวน 62 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจทั้งสิ้น 126 คน (83 คนในปี 2545-2549 และ 43 คนในปี 2550) โดยได้เก็บข้อมูลจากประวัติผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และการสัมภาษณ์คนไข้ และญาติของผู้ป่วยในกลุ่มนี้ และวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในคนไข้ ที่ได้รับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจก่อนการผ่าตัดหลอดเลือดแดงเอออร์ต้า ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่เข้ารับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจแล้วพบความผิดปกติ 47 ราย(37%) โดย 34 รายในปี 2545-2549 และ 13 ราย ในปี 2550 จากผู้ป่วย 126 คนที่เข้ารับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจก่อนการผ่าตัดโรคหลอดเลือดแดงเอออร์ต้า จากการวิเคราะห์แบบลำดับขั้น (multivariate analysis) พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจแล้ว พบความผิดปกติก่อนการผ่าตัดหลอดเลือดแดงเอออร์ต้ามีเพียง 2 ปัจจัยคือ โรคหลอดเลือดแดงโป่งพองระดับช่องท้อง (abdominal aortic aneurysm) (OR = 4.14, 95% CI = 1.89-9.08) และภาวะหัวใจวายที่ระดับมากกว่าหรือเท่ากับระดับ 2 (NYHA class ii) (OR = 2.67, 95% CI = 1.2-5.9) ไม่พบภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดหลอดเลือดแดงเอออร์ต้าที่เกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ อัตราตายในกลุ่มที่ได้รับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ 12% (15/126 คน) มี 9% ที่ไม่พบความผิดปกติจากผลการฉีดสี และ 3% ที่พบความผิดปกติจากการฉีดสี บทสรุป : ความชุกของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในคนไข้กลุ่มนี้ใกล้เคียงกับการศึกษาก่อนหน้านี้ และมีเพียง 2 ปัจจัยนั้นที่มีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าในกรณีที่ผู้ป่วยมีความสามารถออกกำลังกายได้ปกติ และไม่เป็นโรคหลอดเลือดแดงโป่งพองระดับช่องท้อง อาจไม่จำเป็นต้องฉีดสีหลอดเลือดหัวใจก่อนการผ่าตัดทุกราย แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการศึกษาต่อเนื่องที่มีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นต่อไป ถึงจะสรุปผลได้อย่างชัดเชน | en |
dc.description.abstractalternative | Background: Coronary artery disease (CAD) was commonly associated with aortic syndrome patients. Routine coronary angiogram (CAG) was performed to evaluate coronary artery anatomy in patients prior to repair of aortic syndrome in King Chulalongkorn memorial hospital. This prevalence and predictors of significant coronary artery disease in this patients have never been reported in Thailand. Methods: Two hundred and eighty-nine patients whom undergoing aortic syndrome surgery were studied. 227 were retrospective study in 2002-2006 and 62 were prospective study in 2007. Only 126 patients whom were performed CAG were reviewed and collected data from OPD card, IPD data, hospital LAN data and telephone interview. Clinical atherosclerotic risk factors and types of aortic surgery were subjected to univariate and multivariate analysis to determine predictors for CAD. Results: Forty-seven of 126 (37%) had significant at least one major coronary artery stenosis, 18 patients (38%) received medication, 5 patients (11%) received percutaneous tranluminal coronary angiography and 24 patients (51%) underwent coronary artery bypass graft. Overall mortality of 126 patients undergoing aortic syndrome surgery was 15 (12%). 11 patients (9%) were non-significant CAD group, 4 patients (3%) were significant CAD group. No perioperative myocardial infarction were noted after aortic syndrome surgery. Multivariate analysis indicated only infrarenal type of abdominal aortic aneurysm (AAA) (OR = 4.14, 95% CI = 1.89-9.08) and NYHA functional class >= 2 (OR = 2.67, 95% CI = 1.2-5.9) as significant for significant CAD in patients undergoing aortic syndrome surgery. Conclusions: Prevalence of significant CAD in these groups were similar previous study. Infrarenal AAA and NYHA functional Class >= 2 were correlated with significant CAD. Thus, all patients have no intrarenal AAA and NYHA functional class I may not be necessary to perform CAG before surgical repair. Further large scale studies are required to assess risk in this patients to facilitate the development of appropriate practice. | en |
dc.format.extent | 6076440 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1692 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | หลอดเลือดแดง -- โรค | en |
dc.subject | หลอดเลือดเอออร์ตา -- ศัลยกรรม | en |
dc.title | การสวนหลอดเลือดหัวใจก่อนการผ่าตัดโรคหลอดเลือดเอออร์ต้า : ความชุกของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในคนไข้ที่ได้รับการสวนเส้นเลือดหัวใจของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ | en |
dc.title.alternative | Preoperative cag prior to aortic surgery : prevalence of significant cad in undergoing patient in King Chulalongkorn Memorial Hospital | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2007.1692 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pakorn_me.pdf | 5.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.