Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13194
Title: คำเรียกขานอาชีพและตำแหน่งในภาษาญี่ปุ่นและภาษาไทย
Other Titles: Occupational and positonal terms of address in Japanese and Thai
Authors: ปนัดดา ศิริพานิช
Advisors: วรวุฒิ จิราสมบัติ
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Voravudhi.C@Chula.ac.th
Amara.Pr@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาญี่ปุ่น -- คำเรียกขาน
ภาษาไทย -- คำเรียกขาน
ภาษาญี่ปุ่น -- การใช้ภาษา
ภาษาไทย -- การใช้ภาษา
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาคำเรียกขานอาชีพและตำแหน่งในภาษาญี่ปุ่นและภาษาไทย โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคำดังกล่าวกับปัจจัย 3 ประการคือ กลุ่มอาชีพของผู้ฟัง เพศของผู้พูดผู้ฟัง และความเป็นทางการของสถานการณ์ โดยเก็บข้อมูลคำเรียกขานในทั้งสองภาษาด้วยแบบสอบถามกับนักศึกษาระดับปริญญาตรีในโตเกียวและกรุงเทพมหานคร จากการศึกษาพบว่า คำเรียกขานอาชีพและตำแหน่งในภาษาญี่ปุ่นและภาษาไทย ประกอบด้วยส่วนประกอบตั้งแต่หนึ่งประเภทหรือมากกว่ามาประกอบกัน ส่วนประกอบที่พบทั้งในภาษาญี่ปุ่นและภาษาไทย ได้แก่ ชื่อ คำเรียกญาติ อาชีพ / ตำแหน่ง และคำแสดงความสุภาพ / ยกย่อง ส่วนประกอบที่พบเฉพาะในภาษาญี่ปุ่นได้แก่ สถานที่ทำงาน / องค์กร และคำแสดงการทักทาย ผลการวิเคราะห์การแปรของคำเรียกขานอาชีพและตำแหน่งตามปัจจัยด้านกลุ่มอาชีพของผู้ฟังพบว่า ผู้พูดในภาษาใช้ ชื่อสกุล + คำแสดงความสุภาพ / ยกย่อง เรียกขานกลุ่มวิชาชีพ และกึ่งวิชาชีพมากที่สุด และใช้คำแสดงการทักทาย เรียกขานกลุ่มไม่ใช่วิชาชีพมากที่สุด ในภาษาไทยรูปแบบคำเรียกขานอาชีพและตำแหน่งที่นิยมเรียกใช้เรียกขานผู้ที่มีอาชีพในกลุ่มวิชาชีพและกึ่งวิชาชีพมากที่สุดคือ คำนำหน้า + ชื่อตัว คำเรียกขานที่นิยมเรียกขานผู้ที่มีอาชีพในกลุ่มไม่ใช่วิชาชีพมากที่สุด คือ คำเรียกญาติ + ชื่อตัว สำหรับปัจจัยด้านเพศของผู้พูด ผู้ฟังและความเป็นทางการของสถานการณ์พบว่า ปัจจัยด้านเพศของผู้พูดผู้ฟังมีผลต่อการแปรของการใช้คำเรียกขานอาชีพและตำแหน่งน้อยมากทั้งในภาษาญี่ปุ่นและภาษาไทย ส่วนปัจจัยด้านความเป็นทางการของสถานการณ์พบว่า มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้คำเรียกขานอาชีพและตำแหน่งในภาษาญี่ปุ่น แต่แทบจะไม่มีอิทธิพลเลยในภาษาไทย ผลการวิเคราะห์ การใช้คำเรียกขานอาชีพและตำแหน่งในทั้งสองภาษาแสดงให้เห็นลักษณะทางสังคม บางประการกล่าวคือ ในสังคมไทยคำเรียกขานอาชีพและตำแหน่งแสดงถึงความผูกพันกันฉันญาติมากกว่าในสังคมญี่ปุ่น นอกจากนี้ในสังคมญี่ปุ่นและสังคมไทยการใช้คำเรียกขานอาชีพและตำแหน่ง ยังแสดงถึงการให้ความเคารพนับถือบุคคลโดยดูจากหน้าที่การงาน
Other Abstract: To study the use of occupational and positional terms in Japanese and Thai. Three social factors were taken into consideration in the analysis of the variation of the address terms. They are 1) the occupation of the addressee,2) sex of the speaker and the addressee, and 3) formality of the situation. The data of both languages were collected by using questionnaires, and the target population was undergraduate students in Tokyo and Bangkok. The findings show that an occupational and positional term in Japanese and Thai is composed of one or more types of address. The types commonly found in both Japanese and Thai are name, kinship terms, positional terms, and honorific terms. The types occurring only in Japanese are place of work and greeting. The result of the analysis of variation in the use of the address terms shows that in Japanese the most frequently used form in addressing the professional and semi-professional is last name + honorific term, and that in addressing the non-professional, the most frequently used form is a greeting term. In Thai the most frequently used term for addressing the professional and semi-professional is title + first name ,but the most frequently used form for addressing the non-professional is kinship term + first name. As for sex of the speaker and the addressee, it is found that it has no effect on choosing an occupational and positional term in either Japanese or Thai. Regarding the formality of situation, the findings show that it has a strong influence on the use of occupational and positional term in Japanese, but not in Thai. From the analysis, it is concluded that the use of occupational and positional terms of address reflects certain significant social characteristics of the society. In Thai society, it reflects strong kinship relationship, and in both Japanese and Thai society, the use of such terms implies that the degree of respect a person shows toward others depends on their occupations and positions.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาและวรรณคดีญี่ปุ่น
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13194
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1696
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1696
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panatda_si.pdf15.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.