Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13217
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พงศ์พรต ฉัตราภรณ์ | - |
dc.contributor.author | จารุพร เรืองกาญจนวิทย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี | - |
dc.date.accessioned | 2010-08-05T09:36:21Z | - |
dc.date.available | 2010-08-05T09:36:21Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13217 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาถึงคุณภาพกำไรทั้งช่วงก่อนและหลังการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การวิจัยตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าคุณภาพกำไร ก่อนการ ออกหุ้นสามัญเพิ่มต่ำกว่าคุณภาพกำไรหลังการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน เนื่องจากงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่ามี การจัดการกำไรช่วงก่อนการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน ซึ่งหมายถึงว่ากำไรที่นำเสนอในงบการเงินนั้น มีคุณภาพต่ำ หรือไม่ใช่กำไรที่แท้จริงที่ได้มาจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ การศึกษา ใช้ข้อมูล จากงบการเงินของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน ในช่วงปี พ.ศ. 2544-2546 โดยคุณภาพกำไรวัดได้จาก ดัชนีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน อัตราส่วน ความเพียงพอของกระแสเงินสด จากการดำเนินงาน อัตราส่วนผลกระทบของค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่าย ตัดจำหน่ายที่มีต่อกระแสเงินสด อัตราส่วนการลงทุนต่อ อัตราส่วนเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเมื่อเทียบกับ กระแสเงินสดสุทธิ อัตราส่วน ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย และอัตราส่วนผลตอบแทนของกระแส เงินสดต่อสินทรัพย์รวม งานวิจัยนี้ใช้วิธี การทดสอบสมมติฐานความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของประชากร แบบจับคู่ โดยใช้พารามิเตอร์ตามวิธี Paired T-test ควบคู่ไปกับการทดสอบสมมติฐานค่ามัธยฐานโดยไม่ใช้พารามิเตอร์ตามวิธี Wilcoxon Signed-Rank Test การทดสอบทั้งหมดใช้ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการวิจัย พบว่าอัตราส่วนที่ใช้วัดถึงคุณภาพกำไรได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ดัชนีกระแสเงินสดจากการดำเนิน งาน อัตราส่วนผลกระทบของค่าเสื่อมราคา และค่าใช่จ่ายตัดจำหน่ายที่มีต่อกระแสเงินสดอัตราส่วนการ ลงทุนต่อ อัตราส่วนเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเมื่อเทียบกับกระแสเงินสดสุทธิ และอัตราส่วนผลตอบแทน ของกระเงินสดต่อสินทรัพย์รวม ซึ่งมีค่ามัธยฐานของอัตราส่วนช่วงก่อนการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ทั้งสูง และต่ำกว่าค่ามัธยฐานของอัตราส่วนช่วงหลังการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน และเป็นไปตามสมมติฐานที่ได้ ตั้งเอาไว้ ในทางกลับกันค่ามัธยฐานของอัตราส่วนความเพียงพอของกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน และอัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยไม่สามารถใช้วัดถึงคุณภาพกำไรได้อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ และไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ได้ตั้งเอาไว้ | en |
dc.description.abstractalternative | The main objective of this thesis is to examine the quality of earnings before and after public offerings of listed firms in the Stock Exchange Thailand. It was hypothesized that the quality of earnings before public offerings is less than the quality of earnings after public offerings. This is because previous research found that firms manage earnings, leading to the low quality of earnings before public offerings presented in financial statements, or to the unreal ongoing earnings from activities. The data for this study were obtained from financial statements of listed firms in the Stock Exchang of Thailand, which had public offerings from 2001 to 2003. Operating cash index, cash flow adequacy, depreciation/amortization impact ratio, reinvestment ratio, capital investment per dollar of cash, interest coverage ratio, and cash flow return on assets were used as proxies for the measure of the quality of earnings. The statistical tools were the test of difference between two dependent samples for matched pairs by the parametric method (Paired T-test) and the non-parametric method (Wilcoxon Signed-Rank Test.) All statistical tests were done at 0.05 significant level. The results indicate that the quality of earnings before public offerings is significantly less than that after public offerings. This is confirmed by operating cash index. Depreciation/amortization impact ratio, reinvestment ratio, capital investment per dollar of cash and cash flow return on assets. However, cash flow adequacy and interest coverage ratio before and after public offerings are not significantly different. | en |
dc.format.extent | 1714248 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.415 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การจัดการเงินสด | en |
dc.subject | กำไร | en |
dc.subject | บริษัทมหาชน -- หุ้นสามัญ | en |
dc.subject | การระดมทุน -- ไทย | en |
dc.title | คุณภาพกำไรก่อนและหลังการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย | en |
dc.title.alternative | The quality of earnings before and after public offerings of listed firms in the stock exchange of Thailand | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | บัญชีมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การบัญชี | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Pongprot.C@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.415 | - |
Appears in Collections: | Acctn - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
jaruporn.pdf | 1.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.