Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13262
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล-
dc.contributor.authorศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-08-19T11:14:44Z-
dc.date.available2010-08-19T11:14:44Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13262-
dc.description.abstractการแยกแลกติกแอซิดแบคทีเรียจากทางเดินอาหารของปลากะพงขาว เพื่อคัดเลือกแบคทีเรียที่มีสมบัติเป็นโพรไบโอติก ด้วยเทคนิค well agar diffusion ผลพบว่า มี 5 ไอโซเลต (กำหนดให้เป็น LAB-1 - LAB-5) ที่สามารถยับยั้งการเจริญของ Aeromonas hydrophila แบคทีเรียก่อโรคในปลาได้ ผลการวิเคราะห์ปริมาณองค์ประกอบในอาหารผสมแบบเปียก พบว่า ปริมาณสารอาหารต่างๆ ในอาหารมีเพียงพอกับความต้องการของปลากะพงขาว ยกเว้นปริมาณไขมันที่ต่ำเกินไป ความเข้มข้นของ A. hydrophila ที่ทำให้ปลาตาย 50% (LC50) หลังจากที่ปลาได้รับเชื้อแล้ว 72 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 7.76 log10 เซลล์/มล. และที่ 96 และ 120 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 7.47 และ 7.26 log10 เซลล์/มล. ตามลำดับ ผสมอาหารกับแต่ละไอโซเลตที่คัดแยกได้ให้มีความเข้มข้น 107 เซลล์/กรัมอาหาร นำมาเลี้ยงกับปลากะพงในตู้กระจก พบว่า มีเพียง LAB-4 เท่านั้น ที่มีการเสริมการเจริญเติบโตของปลาและต้านโรคที่เกิดจาก A. hydrophila ได้อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) และเมื่อเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง โดยใช้ LAB-4 ผสมในอาหารปลาโดยใช้ความเข้มข้น 105 และ 107 เซลล์/กรัมอาหาร พบว่า ทุกกลุ่มทดลองมีอัตราการรอดชีวิต การเจริญเติบโตและความสามารถในการต้านโรคที่เกิดจาก A. hydrophila ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) สามารถตรวจพบ LAB-4 ในลำไส้ของปลากะพงขาวทั้ง 2 กลุ่มทดลองและไม่พบ LAB-4 ในกลุ่มควบคุม ปลากะพงขาวที่ตายหลังจากการเหนี่ยวนำให้เกิดโรคด้วย A. hydrophila แสดงวิการของโรคอย่างชัดเจนและสามารถตรวจพบ A. hydrophila ในเนื้อเยื่อของปลาที่ตายด้วยเทคนิคทาง Immunohistochemistry พิสูจน์เอกลักษณ์ของ LAB-4 ด้วยการตรวจสอบรูปร่าง ลักษณะ ปริมาณกรดแลกติกด้วยเทคนิค HPLC และตรวจสอบสมบัติบางประการทางชีวเคมี รวมทั้งการหาลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA เพื่อใช้เทียบเคียงกับลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA ของ Weissella confusa ที่มีรายงานใน Genbank พบว่า ลำดับนิวคลีโอไทด์ของ LAB-4 มีความใกล้เคียงกับ Weissella sp.en
dc.description.sponsorshipได้รับการสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน จุฬาฯ ปี 2548en
dc.format.extent7780424 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectแบคทีเรียกรดแล็กติกen
dc.subjectปลากะพงขาวen
dc.subjectโพรไบโอติกen
dc.subjectปลากะพงขาว -- โรคen
dc.titleแลกติกแอซิดแบคทีเรียที่ใช้เป็นโพรไบโอติกสำหรับปลากะพงขาว Lates calcarifer : รายงานฉบับสมบูรณ์en
dc.typeTechnical Reportes
dc.email.authorSomkiat.P@Chula.ac.th-
dc.email.authorSirirat.R@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Research Reports
CEMB - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somkiat_Lactic.pdf7.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.