Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13352
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ-
dc.contributor.authorศศิธร โอเจริญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2010-08-31T03:46:35Z-
dc.date.available2010-08-31T03:46:35Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13352-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractศึกษาการเปลี่ยนแปลงบทบาทและการรักษาบทบาททางการเมือง ของกลุ่มทหารในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ซึ่งกลุ่มทหารสนับสนุนให้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนถึง พ.ศ. 2531 ซึ่งพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวการเมืองไทยมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น สภาพทางการเมืองในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ส่งผลกระทบต่อบทบาททางการเมืองของกลุ่มทหาร แม้ว่ากลุ่มทหารจะสนับสนุนให้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ในสภาวการณ์ที่สังคมไทยกำลังตื่นตัวต่อแนวความคิดประชาธิปไตย การเข้ามามีบทบาททางการเมืองของกลุ่มทหารจึงไม่ได้รับการยอมรับ ประกอบกับการเมืองที่พัฒนาไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จึงใช้การบริหารแบบรัฐบาลพลเรือน ส่งผลให้กลุ่มทหารไม่สามารถเข้ามามีบทบาททางการเมืองโดยตรงได้ ด้วยเหตุนี้ทหารกลุ่มต่างๆ จึงต้องเปลี่ยนรูปแบบการแสดงบทบาทเพื่อรักษาอำนาจของตน โดยเปลี่ยนมาใช้การแทรกแซงทางการเมืองโดยอ้อม และการแสดงกำลังเพื่อกดดันรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ความพยายามรักษาบทบาททางการเมืองของกลุ่มทหารไม่ได้รับความสำเร็จมากนัก ดังนั้นกลุ่มทหารจึงหันกลับไปใช้การแสดงบทบาทในรูปแบบเดิม ด้วยการก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2524 และวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 แต่ความล้มเหลวในการพยายามก่อรัฐประหารทั้งสองครั้ง ส่งผลให้กลุ่มทหารต้องลดบทบาททางการเมืองลงในเวลาต่อมาen
dc.description.abstractalternativeTo examine the role of the Thai military groups while General Prem Tinsulanonda was serving as prime minister from 1980 to 1988. The studies focus on the change of the military's role in politics nd society that tended to decrease as their olitical influence declined. Under General Prem's ledership, democracy was improved in Thai society which made it difficult for the armed force to retain their influence over the government. Therefore, military intervention in the political entity was not acceptable. Even though General Prem got full support from the military groups when he was appointed as prime minister. Later some military groups tried to revive their role by staging of coups against the government on April 1, 1981 and September 9, 1985. However, as a result of the two unsuccessful coups, democracy in Thailand became effective and it was harder for the armed force to intercede the politics.en
dc.format.extent2652594 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.434-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเปรม ติณสูลานนท์, พล.อ., 2463-2562en
dc.subjectรัฐบาล -- ไทย -- สมัย พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์, 2523-2531en
dc.subjectทหาร -- ไทย -- กิจกรรมทางการเมืองen
dc.subjectไทย -- การเมืองและการปกครองen
dc.titleบทบาททางการเมืองของกลุ่มทหารในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ระหว่าง พ.ศ. 2523-2531en
dc.title.alternativePolitical roles of military factions in the period of General Prem Tinsulanonda's government, 1980-1988en
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSuthachai.Y@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.434-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sasithorn.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.