Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13356
Title: | ผลการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า |
Other Titles: | Effects of the empowerment program on foot care behaviors and blood sugar level in diabetic older people with high risk of foot ulcers |
Authors: | สิริกาญจน์ กระจ่างโพธิ์ |
Advisors: | ศิริพันธุ์ สาสัตย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Siriphun.S@Chula.ac.th |
Subjects: | ผู้สูงอายุ -- การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ เบาหวาน -- ผู้ป่วย พฤติกรรมสุขภาพ เท้า -- บาดแผลและบาดเจ็บ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าและระดับน้ำตาลในเลือกของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า โดยใช้แนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจของ Zimmerman (2000) และการใช้โทรศัพท์เยี่ยมบ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า จำนวน 40 คน จัดเป็นกลุ่มควบคุม 20 คน และกลุ่มทดลอง 20 คน โดยจับคู่ในเรื่อง อายุ ประสบการณ์การเกิดแผลที่เท้า และการสูบบุหรี่ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาล ตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ การสร้างสัมพันธภาพ ประสบการณ์ ระบุประสบการณ์ วิเคราะห์ วางแผนปฏิบัติ และการติดตามผล โดยใช้แบบบันทึกความก้าวหน้าของการดูแลเท้าและสมุดประจำตัวผู้ป่วยเป็นเครื่องมือกำกับการทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวัดระดับน้ำตาลในเลือดและแบบวัดพฤติกรรมการดูแลเท้า ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเที่ยงโดยวิธีของครอนบาค ได้เท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้สูงอายุกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุโรคเบาหวานกลุ่มทดลอง หลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ สูงกว่ากลุ่มผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุโรคเบาหวานกลุ่มทดลอง หลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจไม่แตกต่างกันกับกลุ่มผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ |
Other Abstract: | The purpose of this quasi–experimental research was to examine the effects of the empowerment program on foot care behavior and blood sugar level in older people with diabetes at increase risk of food ulcer. Zimmerman's empowerment Theory (2000) and telephone follow up at home were used as the conceptual framework. Samples were 40 older peoples with diabetic at high risk foot ulcers. 20 was control group and anther 20 was experimental group. Age, experience of foot ulcers and smoking were matched. The control group received the regular health promotion and the experimental group received the empowerment program, consisted of relationship, experience, name experience, analysis, planning, doing and continue follow up. The follow up instrument was progress note for foot care. The instrument for collecting data was a tool to mesure foot care behavior and blood sugar level. All of instruments tested for internal consistency using Cronbach's alpha as well as .85. Data were analyzed by descriptive statistics and t – test. Major finding were as follows: 1. The mean score of foot care behaviors of elderly patience in experimental group were significantly higher than that before received empowerment program. (p<.01) 2. The mean score of blood sugar level of elderly patience in experimental group were significantly lower than that before received empowerment program. (p<.01) 3. The mean score of foot care behaviors of elderly patience in experiment group were significantly higher than that the control group. (p<.01) 4. The mean score of blood sugar level of elderly patience in experimental group werer not significantly different that the control group. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13356 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1544 |
ISBN: | 9741434901 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1544 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sirikan.pdf | 3.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.