Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13399
Title: | เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ : กรณีศึกษา บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด |
Other Titles: | Political economy involving privatization of public enterprise : a case study of Thailand Post Company limited |
Authors: | พุธวัน นาควานิช |
Advisors: | ชัยรัตน์ เอี่ยมกุลวัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chairat.A@Chula.ac.th |
Subjects: | บริษัทไปรษณีย์ไทย รัฐวิสาหกิจ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สามประการคือ 1. ศึกษาปัจจัยที่ผลักดันให้รัฐกำหนดนโยบายแปรรูปบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด 2. ศึกษาผลกระทบจากการแปรรูปต่อการบริหารรัฐวิสาหกิจ ต่อผลได้ผลเสียของพนักงานและผู้ใช้บริการ อันเกิดจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด 3. ศึกษาแนวทางในการปรับตัวของ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ในการเข้าสู่ภาวการณ์แข่งขันในประเทศและเวทีโลก ทั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เจาะลึกบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งผู้บริหารระดับสูงและผู้แทนสหภาพแรงงาน รวมทั้งใช้วิจัยเชิงปริมาณเพื่อสำรวจความคิดเห็นจากพนักงานและผู้ใช้บริการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการแปรรูปกิจการไปรษณีย์เป็นบริษัทจำกัด (Corporatization) มีสาเหตุมาจากกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองเป็นตัวผลักดันทั้งสิ้น ไม่วาจะเป็นการเมืองภายในองค์กร การเมืองระหว่างองค์กร การเมืองระดับประเทศ และการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งกิจการของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นกิจการของรัฐที่สามารถดำเนินกิจการบริการสาธารณะพื้นฐานได้อย่างลงตัว มีการพัฒนากิจการบริการจากระบบราชการมาเป็นระบบธุรกิจพึ่งตนเองได้ จากกิจการที่เคยขาดทุนมาเป็นกิจการที่ได้กำไร ตลอดจนได้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการเป็นที่พอใจของผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ ความเป็นเอกภาพการบริหารจัดการบุคลากรภายในดีขึ้นกว่าเดิม แม้บุคลากรจะขาดสิทธิประโยชน์ในด้านสวัสดิการบ้าง แต่ขวัญกำลังใจ การมีส่วนร่วมในองค์กรดีขึ้นกว่าเดิม แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการจัดสรรผลประโยชน์ให้แก่กลุ่มต่างๆ ทั้งผู้บริหาร พนักงาน และผู้ใช้บริการ ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งภาครัฐก็ไม่ต้องเสียงบประมาณเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าลักษณะกรรมสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าของ ไม่ได้เป็นตัวกำหนดระดับของประสิทธิภาพแต่เป็นเรื่องของการบริหารจัดการ ดังนั้นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจภาครัฐไปสู่ภาคเอกชน (privatization) จึงไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาของรัฐวิสาหกิจที่ถูกทาง แต่แค่ทำการปฏิรูประบบการบริหารงานแบบดั้งเดิม และมุ่งเน้นถึงความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเป็นหลักก็เพียงพอแล้ว |
Other Abstract: | This research has three objectives. Firstly, it studies factors that lead the state to privatize state-owned postal service in Thailand. Secondly, it studies the effects of state reform on management, its staffs and customers. Thirdly, it studies postal service guidelines in adapting to compete in and out of the country. A qualitative analysis includes collecting related documents and in-depth interviews with administrators and representatives from the labor union. A quantitative analysis involves survey opinions from postal staffs and customers in the Bangkok Metropolitan Area. The study found that factors leading to the reform of state postal service into company limited are all push from different political interest groups domestically and internationally. Thailand Post Company Limited is a public enterprise that delivers basic public services. After business losses for a long time, today it makes profits. Management efficiency has also improved and been satisfactory to the customer. It is now easier to manage human resources within organization. Although staffs may lack some welfare benefits, but the morale and organizational involvement has increased. This shows better efficiency in distributing benefits to all sides (the board, staffs and customers) without causing the state any additional expenses. Moreover, management, not ownership, that determines the level of efficiency. Therefore, the right way to solve the problem of state enterprises is not to privatize but to reform traditional work system and focus on customer satisfaction. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์การเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13399 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.142 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.142 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Puttawan_Na.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.