Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1360
Title: | การจัดสรรค่าเผื่อและขนาดสำหรับเครื่องมือในกระบวนการเชื่อมติดของชิ้นงานแผ่นหัวอ่านเขียน |
Other Titles: | Tolerance and dimension allocation for tooling in bonding process of slider bar |
Authors: | พิวัฒน์ เนาวรัตน์กูลชัย, 2517- |
Advisors: | สมชาย พัวจินดาเนตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Somchai.Pua@chula.ac.th |
Subjects: | การเชื่อม หัวอ่าน-บันทึก ต้นทุนการผลิต ค่าเผื่อ |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1)ศึกษาวิธีการจัดสรรค่าเผื่อและขนาดที่เหมาะสมสำหรับเครื่องมือในกระบวนการเชื่อมติดของชิ้นงานแผ่นหัวอ่าน-เขียน โดยมีระดับของของเสียที่ยอมรับได้ (2) สามารถลดของเสียอันมีสาเหตุมาจากปัจจัยค่าเผื่อ และ(3)สามารถประยุกต์ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการออกแบบเครื่องมือในกระบวนการเชื่อมติดของผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีความหนาแตกต่างกัน ในการวิจัยนี้ศึกษาค่าความหนาเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของแผ่นหัวอ่านเขียนและแผ่นกาวที่ใช้ในการผลิต จากนั้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะประกอบชิ้นงานกับของเสียโดยอาศัยแนวคิด Loss Function เพื่อทำการทดลองหาระยะประกอบที่เหมาะสมสำหรับการทำงานจริง จัดสรรค่าเผื่อและขนาดสำหรับออกแบบเครื่องมือ และวิเคราะห์ค่าเผื่อโดยเทคนิควิธี Worst Case Limits เทคนิควิธีทางสถิติ ได้แก่ วิธี Root sum of squares (RSS) และ วิธี Dynamic sum of squares (DRSS) และเทคนิควิธี Monte Carlo Simulation ด้วยโปรแกรมช่วยคอมพิวเตอร์ที่ชื่อ Crystal Ball หลังจากนั้นทำการสร้างแบบจำลองปัญหาเลียนแบบงานจริง และวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างแบบจำลองปัญหากับงานจริง ผลการวิจัย พบว่า (1)การจัดสรรค่าเผื่อและขนาดสำหรับชิ้นส่วนของเครื่องมือในกระบวนการเชื่อมติด เมื่อนำชิ้นส่วนต่างๆมาประกอบกันจะได้ระยะประกอบใหม่เท่ากับ 0.01270 +- 0.00294 นิ้ว ซึ่งมีผลแตกต่างกันกับระยะประกอบเก่าที่มีค่าเท่ากับ 0.01000 +- .00330 นิ้ว เท่ากับ 0.00270 +- 0.00036 นิ้ว ทำให้ค่าเผื่อและขนาดที่ถูกออกแบบใหม่ (2)สามารถลดของเสียอันเนื่องมาจากการมีระยะประกอบที่ไม่เหมาะสมนั้นลดลงคิดเป็นร้อยละ 82 เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนปรับปรุง (3)จากการพยากรณ์ของเสียที่เกิดขึ้นโดยใช้วิธีแบบจำลองปัญหาเทียบกับการปฏิบัติงานจริงพบว่า ค่าความแปรปรวนของของเสียไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (alpha) เท่ากับ 0.05 แสดงว่าแบบจำลองปัญหาที่จัดทำขึ้นมาสามารถประยุกต์ใช้สำหรับการออกแบบเครื่องมือในกระบวนการเชื่อมติดของผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ |
Other Abstract: | The main objectives of this research were (1) to study tolerance allocation and dimension for tooling in bonding process of slider bar to find optimal assembly gap for working at the accepted level of defects, (2) to reduce defects caused from tolerance, and (3) to apply as fundamental data in designing for tooling in bonding process of new slider bar which their thickness are different. This research studied the average thickness and standard deviation of slider bar and adhesive sheet in manufacturing process. Then the relation between assembly workpiece and defect was studied using loss function to find out optimal gap for real work, tolerance and dimension allocation for tooling. The tolerance were analyzed by: Worst Case Limit Method, the Root Sum of Squares (RSS) and Dynamic Sum of Squares (DRSS), and the Monte Carlo Simulation using Crystal Ball's program. The result of the simulation and implementation were compared and analyzed. The experiment revealed that (1) the new tolerance allocation and dimension for tooling in bonding process of slider bar created assembly workpiece at 0.01270 +- 0.00294 inches, while the existing one was 0.0100 +- 0.0033 inches. The different assembly workpiece was 0.00270 +- 0.00036 (2) the new tolerance allocation could remarkably reduce the defect by 82% compared with the old one (3) according to the forecast by comparing simulation and implementation, the variance of defect was not different with significant (alpha) of 0.05. It implied that the simulation could apply for tooling in bonding process of new slider bar. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1360 |
ISBN: | 9741710461 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.