Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13606
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิทิต มันตาภรณ์-
dc.contributor.authorทศพล ทรรศนกุลพันธ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-10-08T08:31:25Z-
dc.date.available2010-10-08T08:31:25Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13606-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractศึกษาถึงลู่ทางในการเยียวยาสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชน โดยตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า “แม้กฎหมายระหว่างประเทศจะรับรองสิทธิด้านอาหารในสถานการณ์ทั่วไปและสถานการณ์ฉุกเฉิน ตลอดจนกำหนดกลไกในการเยียวยา อย่างไรก็ดีการบังคับตามสิทธิขึ้นอยู่กับการบังคับในระดับรัฐเป็นสำคัญ หากขาดการเยียวยาในระดับนั้น จำต้องมุ่งสู่การเยียวยาระหว่างประเทศ” การพิสูจน์สมมติฐานข้างต้นทำให้พบผลการศึกษา 4 ประเด็นหลัก คือ 1. กฎหมายระหว่างประเทศได้รับรองสิทธิด้านอาหารในสถานการณ์ทั่วไปและสถานการณ์ฉุกเฉินผ่านทางกฎหมายสิทธิมนุษยชน และกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ไว้อย่างชัดแจ้ง และได้กำหนดถึงพันธกรณีในการบังคับใช้สิทธิด้านอาหารด้วย นอกจากกฎหมายทั้งสองแล้วกฎหมายระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องยังได้กำหนดการเยียวยาสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชนไว้ในหลายรูปแบบเพื่อตอบสนองต่อสิทธิของปัจเจกชนในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามสถานการณ์การบังคับใช้สิทธิด้านอาหารในปัจจุบัน ได้สะท้อนว่ามีทั้งปัจจัยเอื้อและอุปสรรคต่อการเยียวยาสิทธิของปัจเจกชน โดยปรากฏสภาพปัญหาของสิทธิด้านอาหารในเชิงกฎหมายและเชิงปฏิบัติอยู่บางประการซึ่งต้องอาศัยกระบวนการเยียวยาในหลายระดับเข้ามาแก้ไข 2. การบังคับตามสิทธิต้องใช้มาตรการเยียวยาภายในเสียก่อน โดยปรากฏมาตรการบังคับใช้เพื่อเยียวยาสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชนภายในประเทศ ในสถานการณ์ปกติพอสมควรทั้งมาตรการทางกฎหมาย และมาตรการพัฒนาในภาคปฏิบัติที่ตอบสนองต่อการแก้ปัญหาความหิวโหยของประชาชน ในรูปแบบต่างๆ ดังสะท้อนให้เห็นในหลายกรณีศึกษา ส่วนมาตรการภายในสำหรับเยียวยาสิทธิในสถานการณ์ฉุกเฉินยังปรากฏไม่มากนักโดยเฉพา มาตรการในการเยียวยาสิทธิยามสงคราม ทำให้เกิดบทเรียนจากการบังคับใช้มาตรการที่ผ่านมาว่าการเยียวยาสิทธิด้านอาหารในสถานการณ์ทั่วไป ต้องใช้มาตรการภายในเป็นหลัก ส่วนการเยียวยาสิทธิในสถานการณ์ฉุกเฉินต้องมุ่งสู่มาตรการระหว่างประเทศ 3. มาตรการระหว่างประเทศสำหรับเยียวยาสิทธิด้านอาหารในสถานการณ์ปกติมีอยู่บ้าง โดยระบบเยียวยาระดับภูมิภาคมีเพียงระบบของภูมิภาคอัฟริกาที่เปิดโอกาสให้ปัจเจกชนเข้าถึง ส่วนมาตรการระดับพหุภาคียังไม่มีมาตรการเยียวสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชนเป็นการเฉพาะ โดยปัจเจกสามารถใช้มาตรการระหว่างประเทศสำหรับเยียวยาสิทธิ ในสถานการณ์ปกติมาปรับใช้กับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ แต่ในสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงต้องอาศัยมาตรการของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างเด็ดขาด นอกจากนี้มาตรการเชิงปฏิบัติขององค์กร และองค์การระหว่างประเทศก็มีส่วนส่งเสริมการเยียวยาสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชนในทั้งสองสถานการณ์ 4. ลู่ทางในการเยียวยาสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชนในยามปกติต้องอาศัยมาตรการภายในเป็นหลัก ทั้งกระบวนการทางกฎหมาย การรวมตัวเพื่อเรียกร้องสิทธิต่อรัฐ และการจัดโครงการพัฒนามาสนับสนุน โดยอาจใช้มาตรการระหว่างประเทศมาเสริมในแง่พันธกรณีทางกฎหมาย แต่ลู่ทางในการเยียวยาสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชนในสถานการณ์ฉุกเฉินต้องอาศัยมาตรการระหว่างประเทศ โดยเฉพาะมาตรการของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่สามารถปฏิบัติได้อย่างมีผลผูกทางกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมไปยังกลุ่มเสี่ยง การลงโทษตัวตนผู้ละเมิดสิทธิของปัจเจกชน หรือการรักษาสันติภาพในเขตภัยพิบัติเพื่อส่งเสริมสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชนในพื้นที่en
dc.description.abstractalternativeThis Thesis studies on the topic “The prospect of individual‘s remedies on Right to Food”. The hypothesis of the thesis is “The International Law recognized Right to Food in both general and emergency situation and provided remedy mechanisms. However the enforcement of this right mainly relies on domestic implementations, if such implementations are not enough then the individual could recourse to the international remedies”. The finding of this studies are the followings; 1. International Law explicitly recognizes Right to Food in both general and emergency situations and determines the obligations of its implementation. Furthermore, the International Law also provides many provisions of individual’s remedies to response both situations. The current situation on the implementation of right to food shown that there are developments and obstacles on the issues of individual’s remedies but the problems as such are highly concerned. 2. The implementation of right to food primarily relies on domestic jurisdiction. The local remedies in general situation are legal measures and operational programs witnessed by many case studies. The local remedies in emergency situation are very rare especially in the time of armed conflicts. The study show that “domestic remedy is effective for general situation especially development programs and public action” but “domestic remedy is not enough for emergency situation”. 3. On the international level, there are some specific remedy mechanisms for right to food in general situations. On the regional level only Africa continent’s human rights system is available for individual’s remedies. In emergency situation individual could use any remedies available for general situations. For some extent, the international bodies operating in emergency situation needs more powerful mandate in order to accomplish the mission. The mandate of United Nations Security Council (SC) is the best solutions for emergency situation especially in case of war time. Besides, the operational programs of UN-subsidiary organs and relevant international organizations play significant role on both situations. 4. The prospect of individual’s remedies on Right to food in general situation is the local remedies: legal measures, public action and development programs, moreover international measure could guarantee more protection. The prospect of individual’s remedies on right to food in emergency situation is international remedy: legal-binding measures adopted by SC for instance Humanitarian Assistance, Sanctions on human rights violators and peace-keeping measure on the basis of Responsibility to Protect principle.en
dc.format.extent2269599 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.816-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสิทธิด้านอาหารen
dc.subjectความมั่นคงทางอาหารen
dc.titleลู่ทางในการเยียวยาสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชนen
dc.title.alternativeThe prospect of individual's remedies on right to fooden
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorVitit.M@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.816-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tossapon_Ta.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.