Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13652
Title: | พฤติกรรมแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจในธุรกิจจัดสรรที่ดิน : กรณีศึกษาโครงการบ้านจัดสรรในพื้นที่เขตบางบัวทอง |
Other Titles: | Rent seeking in housing development : a case study of Housing Project in Bangboathong District |
Authors: | กษม ฉันทไกรวัฒน์ |
Advisors: | ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ มานพ พงศทัต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Thawatchai.J@chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ การจัดสรรที่ดิน บ้านจัดสรร -- ไทย -- บางบัวทอง (นนทบุรี) การทุจริตและประพฤติมิชอบ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมที่ไม่สุจริตหรือการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Rent seeking) ของเจ้าหน้าที่รัฐในขั้นตอนการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน และการออกใบอนุญาตต่างๆ ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึง 14 หน่วยงาน 6 กระทรวง ก่อให้เกิดความไม่สะดวกด้านเวลา และขั้นตอนต่างๆ กับผู้ประกอบการในการขออนุญาตจัดสรรที่ดิน โดยใช้ทฤษฎีเรื่องพฤติกรรมแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Rent seeking) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ถึงกระบวนการที่ได้เปิดช่องทางการเกิด (Rent) และข้อตกลงระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับภาคเอกชนในการเจรจาร่วมมือกันเพื่อหาทางออกจากขั้นตอนต่างๆ ที่ก่อความไม่สะดวกในการจัดสรรที่ดิน การศึกษามีขอบเขตศึกษาโครงการจัดสรรในพื้นที่อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี รวม 9 โครงการ ประกอบด้วยโครงการธุรกิจจัดสรรที่ดินขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ ขนาดละ 3 โครงการ และศึกษาหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบถึงระเบียบ ขั้นตอน ในการขออนุญาตจัดสรรที่ดิน ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ เป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติเป็นประเพณีนิยมสืบเนื่องมายาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สาเหตุจากตัวระบบราชการ แม้ช่องทางและรูปแบบของพฤติกรรมที่ไม่สุจริต จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามยุคสมัย โดยเปลี่ยนแปลงตามข้อจำกัดต่างๆ และระเบียบของรัฐ ซึ่งกฎหมายใหม่จะสร้างความไม่สะดวกรูปแบบใหม่ ซึ่งก่อพฤติกรรมแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ โดยทั่วไปผู้ประกอบการจะเตรียมงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ประมาณ ร้อยละ 1-2 ของมูลค่าก่อสร้าง เพื่อหลีกเลี่ยงความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นจากความลักลั่นในการให้บริการของราชการแก่ผู้มาติดต่อ ทำให้ต้นทุนในการประกอบกิจการสูงขึ้น ผลจากการสมยอมระหว่างเจ้าหน้าของรัฐกับผู้ประกอบการที่ทำงานร่วมกันจนกลายเป็น (Social norm) เพื่อหลีกเลี่ยงความไม่สะดวกต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกลไกของภาครัฐ ก่อให้เกิดความสูญเสียแก่สังคมโดยรวม (Social cost) การแก้ไขต่อพฤติกรรมที่ไม่สุจริตสังคมจะต้องร่วมมือกันในการถ่วงดุลอำนาจและสร้างค่านิยมใหม่ ตลอดจนแก้บทกฎหมาย และจัดให้มี One stop service เพื่อบริการประชาชน |
Other Abstract: | To analyze rent seeking activities of the state workers in the process of approving land usage permits and legal land ownership documents involving 14 units from 6 ministries. This processes cause inconvenience in time and expenses for the entrepreneur in obtaining legal land permits. Rent seeking theory is used as tool to analyze the processes which provide opportunity for rent seeking activities between state officers and entrepreneurs in cooperating to protect common interest at the expense of the state. The scope of this study cover 3 samples each from small medium and large project totaling 9 projects altogether, in Bangbuatong area, Nonthaburi Province. In addition, the author also interviews related state officers from several ministries. The study finds that rent seeking activities act as a customary practice that can be traced back from several hundred years. Channel and the form of illegal activities have changed through time, adapting to reflect various state restrictions and regulations. New law and regulations cause new form of inconveniency; therefore creating new form of rent seeking behaviors. Entrepreneurs are willing to pay 1-2 percent of the project costs to avoid inconveniency, which increases the overall cost. Social costs are the results of state officers and entrepreneurs cooperating together, then becomes the social norm. To solve this matter, communities must take counter willing force to balance of the power and make the new standard, changing the law and providing one stop service. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์การเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13652 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1144 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1144 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kasama_Ch.pdf | 1.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.