Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13676
Title: | Pedagogical grammar of Mandarin Chinese negation "Bu" and "Mei (You)" for Thai unversity students |
Other Titles: | ไวยากรณ์เพื่อการสอนคำปฏิเสธ "BR" และ "MEI(YOU)" ในภาษาจีนกลางให้แก่นักศึกษาไทย |
Authors: | Phornphan Thongbanchachai |
Advisors: | Sasarux Petcherdchoo |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Arts |
Advisor's Email: | chenchufen@hotmail.com |
Subjects: | Mandarin dialects -- Usage Chinese language -- Usage Mandarin dialects -- Negatives Chinese language -- Negatives |
Issue Date: | 2006 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบคำปฏิเสธ "BU" และ "MEI(YOU)" ในภาษาจีนกลางกับคำในภาษาไทยในลักษณะเดียวกัน เพื่อให้นักศึกษาไทยเข้าใจและสามารถใช้คำปฏิเสธ "BU" และ "MEI(YOU)" ได้อย่างถูกต้อง และเพื่อให้อาจารย์ผู้สอนภาษาจีนกลางเข้าใจสถานการณ์และสาเหตุของข้อผิดพลาดของนักศึกษาไทยในการใช้คำปฏิเสธ "BU" และ "MEI(YOU)" นอกจากนี้ยังเสนอแนวทางการสอนคำปฏิเสธ "BU" และ "MEI(YOU)" ให้แก่นักศึกษาไทยอีกด้วย ผลการวิจัย พบว่า ในด้านโครงสร้างทางไวยากรณ์ ภาษาจีนกลางและภาษาไทยมีโครงสร้างไวยากรณ์ที่คล้ายกัน เช่น ภาษาจีนกลางและภาษาไทยจะวางคำปฏิเสธไว้หน้าคำกริยา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโครงสร้างทางไวยากรณ์ที่แตกต่างกันด้วย เช่น ภาษาจีนกลางสามารถวางคำปฏิเสธไว้หน้าคำบุพบท แต่ภาษาไทยจะไม่วางคำปฏิเสธไว้หน้าคำบุพบท เป็นต้น ส่วนในด้านความหมาย คำปฏิเสธในภาษาจีนกลางและภาษาไทยแสดงความหมายเหมือนกัน คือ เพื่อแสดงอัตวิสัยและภววิสัย เพื่อแสดงถึงเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้นและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อแสดงสภาพและการเปลี่ยนแปลงสภาพ และเพื่อแสดงถึงความเคยชินและความเป็นครั้งคราว สาเหตุของข้อผิดพลาดของนักศึกษาไทยในการใช้คำปฏิเสธ "BU" และ "MEI(YOU)" ได้แก่ (1) กระบวนการเรียนรู้คำปฏิเสธ "BU" และ "MEI(YOU)" ของนักศึกษาไทยไม่ถูกต้อง (2) การศึกษาเปรียบเทียบคำปฏิเสธ "BU" และ "MEI(YOU)" ในภาษาจีนกลางและภาษาไทยไม่ถูกต้อง (3) เกณฑ์การใช้คำปฏิเสธ "BU" และ "MEI(YOU)" ไม่ชัดเจน สำหรับแนวทางการสอนคำปฏิเสธ "BU" และ "MEI(YOU)" นั้น ได้แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ หน้าที่ โครงสร้าง และวิธีใช้ โดยอาศัยสถิติที่เกิดข้อผิดพลาดมาจัดลำดับการสอน โครงสร้างที่ควรสอนก่อนควรเป็นโครงสร้างที่ใช้บ่อย และมีข้อผิดพลาดในการใช้น้อย จากนั้นควรเป็นโครงสร้างที่ใช้น้อยและมีข้อผิดพลาดในการใช้สูง |
Description: | Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 2006 |
Degree Name: | Master of Arts |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Chinese as a Foreign Language |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13676 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1775 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1775 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
phornphan.pdf | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.