Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13694
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา | - |
dc.contributor.author | รัชนี อรัญนาค | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2010-10-20T06:12:59Z | - |
dc.date.available | 2010-10-20T06:12:59Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13694 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en |
dc.description.abstract | ศึกษา (1) คุณลักษณะครูวิทยาศาสตร์ตามเกณฑ์มาตรฐานครูวิทยาศาสตร์ ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2) ความเชื่อในความสามารถแห่งตนด้านการสอนวิทยาศาสตร์ของครูวิทยาศาสตร์ และ (3) วิเคราะห์อิทธิพลของคุณลักษณะครูวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความเชื่อ ในความสามารถแห่งตนด้านการสอนวิทยาศาสตร์ การวิจัย ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ขั้นแรกเป็นการสำรวจด้วยแบบสอบถามกับครูกลุ่มตัวอย่างที่สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 ของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 258 คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติบรรยาย และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ขั้นที่สองเป็นการศึกษาแบบพหุกรณีศึกษากับครู 2 คน เป็นครูที่มีความเชื่อในความสามารถแห่งตนด้านการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับสูง 1 คน และในระดับต่ำ 1 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูวิทยาศาสตร์รับรู้ว่าตนเองมีคุณลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานครูวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับมาก โดยครูส่วนใหญ่มีการนำวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างมีคุณธรรม และมีความสนใจในการพัฒนาวิชาชีพ แต่ยังขาดการนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และการพัฒนาการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน 2. ครูวิทยาศาสตร์มีความเชื่อในความสามารถแห่งตน ด้านการสอนวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับสูง โดยครูส่วนใหญ่ยินดีที่นักเรียนซักถามปัญหาในขณะเรียน 3. คุณลักษณะครูวิทยาศาสตร์ด้านความรู้ การแสดงออก สาขาวิชาเอก และระดับการศึกษา มีอิทธิพลต่อความเชื่อในความสามารถแห่งตนด้านการสอนวิทยาศาสตร์ โดยทั้ง 4 ลักษณะ สามารถร่วมกันทำนายความเชื่อในความสามารถแห่งตนด้านการสอนวิทยาศาสตร์ได้ ประมาณ 44% 4. ผลจากการศึกษากรณีศึกษาครูทั้ง 2 กรณีบ่งชี้ว่า ครูที่มีความเชื่อในความสามารถแห่งตนด้านการสอนวิทยาศาสตร์สูง เป็นผู้มีความรู้ลึกซึ้งในเนื้อหาวิชา และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยวิธีสอนที่หลากหลาย เหมาะสมกับความหลากหลายของผู้เรียน ทั้งนี้เพราะครูได้สอนตรงตามวิชาเอกที่ได้เรียนมา และเป็นผู้กระตือรือร้นที่จะพัฒนาการเรียนการสอนของตนเอง นอกจากนี้ผู้บริหารให้การส่งเสริมสนับสนุน ให้กำลังใจและเปิดโอกาสให้ครูได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มตามศักยภาพ รวมทั้งครูยังได้เห็นแบบอย่างจากเพื่อนครูที่ประสบความสำเร็จ คุณลักษณะของครู และสภาพแวดล้อมเช่นนี้ส่งเสริมให้ครูมีความเชื่อในความสามารถแห่งตนด้านการสอนวิทยาศาสตร์ | en |
dc.description.abstractalternative | To (1) study the science teacher's characteristics as reference to the teaching standards of the institue for the promotion of teaching science and technology (2) study science teaching self-efficacy belief and (3) analyze effects of science teacher's characteristics on science taeaching self-efficacy belief. The research method was a mixed method. The first step was a survey of 258 science teachers in the Bangkok education area's schools. The data was analyzed by descriptive statistics and multiple regression technique by using SPSS for window. The second step was a multi case study of two science teachers. One had a high score on science teaching self-efficacy belief, and the other had a low score. The research results were as follows 1) The science teachers perceived themselves to have high level in the characteristics accordance with the teaching standards. A majority of the science teachers morally put sciences into practice. They were interested in professional development. However they lacked in linking community participation in educational management and student development. 2) Science teachers had high scores in science teaching self-efficacy belief. They approciate student questions while teaching. 3) The science teachers' knowledge, conduct, major subject and level of education were the predictors of science teaching self-efficacy belief. The 4 factors were able to explain about 44% of the variation. 4) Results from the multiple case study indicated that the teacher with a high score in science teaching self-efficacy belief had indepth science knowledge and was able to teach science for diverse students properly. This was because the teacher was assigned to teach in the subject of her major (teaching science) and she was enthusiastic in her instructional development. In addition, the administer supported the teacher and provided opportunity to work efficiently. Also, the teacher was informally mentored by successful teachers in the school. These teachers' characteristics and environment supported the development of science teaching self-efficacy belief. | en |
dc.format.extent | 1937716 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.205 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ครูวิทยาศาสตร์ | en |
dc.subject | ความสามารถในตนเอง | en |
dc.subject | การศึกษา -- วิจัย | en |
dc.title | อิทธิพลของคุณลักษณะครูวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความเชื่อในความสามารถแห่งตนด้านการสอนวิทยาศาสตร์ : การวิจัยแบบผสมผสาน | en |
dc.title.alternative | Effects of science teacher's characteristics on science teaching self-efficacy belief : a mixed method research | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิจัยการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.205 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ratchanee_a.pdf | 1.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.