Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/136
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธนิส เหมินทร์-
dc.contributor.advisorชุติมา ไตรรัตน์วรกุล-
dc.contributor.authorสุวิมล สุเมธิวิทย์, 2518--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-05-29T06:10:50Z-
dc.date.available2006-05-29T06:10:50Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741771363-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/137-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการศึกษาทางคลินิกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการยึดติดของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันระหว่างการใช้สารยึดติดเซลฟ์เอทช์กัดผิวฟันกับกรดฟอสฟอริกกัดผิวฟัน โดยศึกษาบนฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง ภายในขากรรไกรเดียวกันของบุคคลเดียวกัน จำนวน 95 คู่ฟัน ที่มีลักษณะตรงตามเกณฑ์คัดเข้า ในเด็กอายุ 6-8 ปี จำนวน 77 คน โดยจัดตัวอย่างเข้าทำการเคลือบหลุมร่องฟันด้วยวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดแข็งตัวด้วยแสงคอนไซส์ (บริษัทสามเอ็มเด็นทอลโปรดักท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา) ด้วยการสุ่มแบบบล็อก ให้ฟันข้างหนึ่งได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันโดยวิธีมาตรฐาน ซึ่งใช้กรดฟอสฟอริกชนิดเจลกัดผิวฟัน (กลุ่มควบคุม) ส่วนฟันอีกข้างหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มศึกษาได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันโดยใช้สารยึดติดเซลฟ์เอทช์กัดผิวฟัน (Adper Prompt, บริษัทสามเอ็มเด็นทอลโปรดักท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา) เป่าลมจนแห้ง ก่อนทาวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันและฉายแสงติดตามผลการยึดติดของวัสดุและการผุของฟันที่ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันที่ระยะเวลา 6 เดือน โดยทันตแพทย์อีกคนที่ถูกปิดบังไม่ให้ทราบว่าตัวอย่างที่ตรวจอยู่ในกลุ่มใด เมื่อสิ้นสุดการศึกษาคงเหลือจำนวนตัวอย่าง 88 คู่ฟัน (176 ซี่) คิดเป็นร้อยละ 92.63 ของตัวอย่างเมื่อเริ่มศึกษา พบว่าอัตราการยึดติดทั้งซี่ของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันในกลุ่มศึกษาต่ำกว่าในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p-value = .000) และทั้งสองกลุ่มต่างไม่พบการผุของฟันที่ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันเลย สรุปผลการศึกษาได้ว่า วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันคอนไซส์ที่ใช้สารยึดติดเซลฟ์เอทช์ (Adper Prompt) กัดผิวฟันมีอัตราการยึดติดในหลุมร่องฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งที่ระยะเวลา 6 เดือน ต่ำกว่าเมื่อกัดผิวฟันด้วยกรดฟอสฟอริกen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this clinical study was to compare sealant retention between phosphoric acid etching and self-etching adhesive. Ninety-five pairs of contra-lateral first permanent molars from seventy-seven students, age of 6-8 year-old, that met the inclusion criteria were enrolled into an ongoing study. A block randomization was used in which standard sealant method (control group), using phosphoric acid gel, and experimental group, using self-etching adhesive (Adper Prompt, 3M dental product, USA), air thinned before sealant placement (Concise, 3M dental product, USA) and polymerization, were randomly allocated to one of the teeth in each pair within the same oneself jaw. The sealed teeth were checked for retention and caries after six months. There were eighty-eight pairs (one hundred and seventy-six teeth) remaining in the study (92.63%). The retention rate by tooth in experimental group was statistically significant lower than in control group (p-value = .000). There was no carious lesion developed in both two sealed groups during the trial period. It was concluded that Concise White sealant retention on first permanent molars after six months period in self-etching group (Adper Prompt) was less than in phosphoric acid etching group.en
dc.format.extent2834380 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.322-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectวัสดุผนึกหลุมร่องฟันen
dc.subjectเคลือบฟันen
dc.titleการเปรียบเทียบผลการยึดติดทางคลินิกของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันระหว่างการใช้กรดฟอสฟอริกกัดผิวฟันกับสารยึดติดเซลฟ์เอทช์กัดผิวฟัน บนฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 ของเด็กอายุ 6-8 ปีen
dc.title.alternativeThe comparison of clinical sealant retention between phosphoric acid etching and self-etching adhesive on first permanent molars of 6-8 year-old childrenen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineทันตกรรมสำหรับเด็กen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorHdhanis@chula.ac.th-
dc.email.advisorctrairat@yahoo.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.322-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suwimon.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.