Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13788
Title: ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สรรถนะแห่งตนร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการดูแลบุตรของมารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจ
Other Titles: The effect of perceived self-efficacy and social support promoting program on child caring behavior of mothers with acute respiratory infection children
Authors: อัจฉรา รัตนวงศ์
Advisors: นรลักขณ์ เอื้อกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Noraluk.U@Chula.ac.th
Subjects: ระบบหายใจ -- โรค -- ผู้ป่วย -- การดูแล
การรับรู้ตนเอง
โรคติดเชื้อ
ทางเดินหายใจ -- โรค
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการดูแลบุตรของมารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจ กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาที่มีบุตรอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจ ที่เข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน แผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ ซึ่งเป็นบุตรคนแรกที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กเป็นครั้งแรก จำนวน 40 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 20 รายเท่ากัน โดยทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องระดับอาการของบุตร ช่วงอายุ และระดับการศึกษาของมารดา กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมที่พัฒนาจากกรอบแนวคิดการรับรู้สมรรถนะแห่งตน บูรณาการร่วมกับแนวคิดการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลบุตรขณะเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กของมารดา (CVI .88, Cronbach’s [alpha] .92) แบบวัดความเชื่อมั่นในสมรรถนะแห่งตน (CVI .88, Cronbach’s [alpha] .85) และแบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคม (CVI .87, Cronbach’s [alpha] .96) ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการดูแลบุตรของมารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมมีพฤติกรรมการดูแลบุตรดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. พฤติกรรมการดูแลบุตรของมารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจของมารดากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of perceived self-efficacy and social support promoting program on child caring behavior of mothers with acute respiratory infection children. The participants consisted of 40 mothers caring of children with acute respiratory infection age under 5 years old, In pediatric department, Kanchanadit Hospital. The mothers were divided into the experimental and control group for 20 people in each group. The mothers in both groups were similar in severity of child disease, age and education. The experimental group received self-efficacy and social support promoting program based on the self-efficacy of Bandura (1997) and social support of House (1981). The control group received the conventional nursing care. The instruments were a set of questionnaires, comprised of demographic characteristics, behavior mothers caring (CVI .88, Cronbach’s [alpha] .92), self-efficacy for behavior (CVI .88, Cronbach’s [alpha] .85), and the social support questionnaire (CVI .87, Cronbach’s [alpha] .96). The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation and t-test. The major findings were as follows: 1. Child caring behaviors of mothers with acute respiratory infection after received self-efficacy and social support promoting program was significantly higher than before receiving the program at a level of .05. 2. Child caring behaviors of mothers with acute respiratory infection who received self-efficacy and social support promoting program was significantly higher than those who received conventional nursing care at a level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลเด็ก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13788
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1949
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1949
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Achara_ra.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.