Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13843
Title: Effects of a multifaceted nurse-coaching intervention on diabetic complications and satisfaction in persons with type 2 diabetes
Other Titles: ผลของระบบการพยาบาลชี้แนะแบบหลากหลายต่อภาวะแทรกซ้อนและความพึงพอใจในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
Authors: Rungrawee Navicharern
Advisors: Yupin Aungsuroch
Sureeporn Thanasilp
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Nursing
Advisor's Email: Yupin.A@Chula.ac.th
Sureeporn.T@Chula.ac.th
Subjects: Non-insulin-dependent diabetes -- Nursing
Non-insulin-dependent diabetes -- Complications
Patient satisfaction
Issue Date: 2007
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The research quasi-experimental was conducted to examine the effects of multifaceted nurse-coaching intervention on diabetic complications and satisfaction in persons with type 2 diabetes. Forty participants with type 2 diabetes received diabetes care from the 2nd and 11th Red Cross Health Stations centers. Relief and Community Health Bureau who met the inclusion criteria were studied and pair matched to experimental and control groups. The participants in experimental group received the multifaceted nurse coaching intervention and the participants in control group received the usual care over 12 weeks. The data collected were; demographic data, the diabetic complications were measured by patient’s self-perception of symptoms of diabetic complications, physiological variables including HbA1c level, blood pressure, LDL-C level and satisfaction. These instruments were validated by 5 experts and the reliability of the questionnaires were 0.82 and 0.93, respectively. The data were analyzed using dependent samples T-test, independent sample T-test and two proportion z-test. Results were as follows: 1. Persons with type 2 diabetes who received the multifaceted nurse-coaching intervention had lower proportions of perceived symptoms of diabetic complications (hyperglycemia) than persons who did not receive the intervention at the 12 th week. 2. Persons with type 2 diabetes who received the multifaceted nurse-coaching intervention had lower HbA1c levels than persons who did not receive the intervention at the 12 th week. 3. Persons with type 2 diabetes who received the multifaceted nurse-coaching intervention had no significant blood pressure difference from persons who did not receive the intervention at the 12 th week. 4. Persons with type 2 diabetes who received the multifaceted nurse-coaching intervention had no significant LDL-C difference from persons who did not receive the intervention at the 12 th week. 5. Persons with type 2 diabetes who received the multifaceted nurse-coaching intervention had higher satisfaction scores than persons who did not receive the intervention at the 12 th week.
Other Abstract: เปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อนที่ประเมินจากการรับรู้อาการภาวะแทรกซ้อน ระดับน้ำตาลสะสม ระดับความดันโลหิต ระดับไขมันชนิดไม่ดี ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการพยาบาลชี้แนะแบบหลากหลายในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมารับการรักษาที่สถานีกาชาด สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ ในเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ ตุลาคม พ.ศ. 2550-มีนาคม 2551 ผู้ที่เป็นเบาหวาน 40 ราย ซึ่งได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด คัดเลือกด้วยวิธีการจับคู่ (Matched pair) โดยคำนึงถึงความคล้ายคลึงกันด้านอายุ เพศ ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน กลุ่มละจำนวน 20 คน ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งได้รับการรักษาพยาบาลที่สถานีกาชาด ที่ 2 เป็นกลุ่มทดลอง และผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งได้รับการรักษาพยาบาลตามปกติที่สถานีกาชาด ที่ 11 เป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการพยาบาลชี้แนะแบบหลากหลายในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับพยาบาล แผนการสอนและชี้แนะให้แก่ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 2) เครื่องมือที่ใช้ในการกำกับการทดลอง ได้แก่ การประเมินพฤติกรรมของตนเองของพยาบาล แบบวัดพฤติดรรมการดูแลตนเองในผู้ที่เป็นเบาหวาน แผนการรายงานพฤติกรรมตนเองในผู้ที่เป็นเบาหวาน 3) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคลและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ระดับน้ำตาลสะสม ระดับความดันโลหิต ระดับไขมันชนิดไม่ดี แบบสอบถามการรับรู้อาการภาวะแทรกซ้อนในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 แบบสอบถามความพึงพอใจ เครื่องมือดังกล่าวผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.82 และ 0.93 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และสถิติทดสอบ two proportion z-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งได้รับระบบการพยาบาลชี้แนะแบบหลากหลาย มีการรับรู้สัดส่วนการเกิดอาการภาวะแทรกซ้อน ต่ำกว่าในกลุ่มที่ไม่ได้รับระบบการพยาบลชี้แนะแบบหลากหลายภายหลังการทดลองที่ 12 สัปดาห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2. ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งได้รับระบบการพยาบาลชี้แนะแบบหลากหลาย มีค่าระดับน้ำตาลสะสมน้อยกว่าในกลุ่มที่ไม่ได้รับระบบการพยาบลชี้แนะแบบหลากหลายภายหลังการทดลองที่ 12 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งได้รับระบบการพยาบาลชี้แนะแบบหลากหลาย และในกลุ่มที่ไม่ได้รับระบบการพยาบาลชี้แนะแบบหลากหลายภายหลังการทดลองที่ 12 สัปดาห์มีค่าระดับความดันโลหิต ไม่แตกต่างกัน 4. ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งได้รับระบบการพยาบาลชี้แนะแบบหลากหลาย และในกลุ่มที่ไม่ได้รับระบบการพยาบลชี้แนะแบบหลากหลายภายหลังการทดลอง มีค่าระดับไขมันชนิดไม่ดี ไม่แตกต่างกัน 5. ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งได้รับระบบการพยาบาลชี้แนะแบบหลากหลาย มีค่าคะแนนความพึงพอใจมากกว่า ในกลุ่มที่ไม่ได้รับระบบการพยาบลชี้แนะแบบหลากหลายภายหลังการทดลองที่ 12 สัปดาห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2007
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Nursing Science
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13843
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.2064
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.2064
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rungrawee_Na.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.