Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13928
Title: | การกลายพันธุ์ Lactococcus lactis สายพันธุ์ MF2 เพื่อเพิ่มการสร้างไนซิน |
Other Titles: | Mutation of Lactococcus lactis strain MF2 for enhancing nisin production |
Authors: | มาลินี สิงห์โตทอง |
Advisors: | สุพัฒน์ เจริญพรวัฒนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | supat.c@sc.chula.ac.th |
Subjects: | ไนซิน แล็กโตค็อคคัส แล็คทีส |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | Lactococcus lactis สายพันธุ์ MF2 เป็นแบคทีเรียที่คัดกรองได้จากน้ำนมดิบ ซึ่งสามารถผลิตไนซินได้ โดยได้เลี้ยงแบคทีเรีย MF2 ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง วัดค่าดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 600 นาโนเมตร พบว่าชั่วโมงที่ 9 เป็นระยะกึ่งกลางทวีคูณซึ่งเป็นระยะเจริญที่เหมาะสมในการเป็นเชื้อเริ่มต้นปรับปรุงสายพันธุ์ ซึ่งในงานวิจัยครั้งนี้ได้ทำการปรับปรุงสายพันธุ์โดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยแสงอัลตราไวโอเลต ที่ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตร เป็นเวลา 60-80 วินาที จำนวน 3 รอบ ซึ่งให้ร้อยละการรอดอยู่ในช่วง 0.86–0.06 และกลายพันธุ์ด้วย NTG ความเข้มข้น 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เป็นเวลา 10-60 นาที ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส จำนวน 3 รอบ ให้ร้อยละการรอดอยู่ในช่วง 23.75–1.75 พบว่าได้สายพันธุ์กลายขั้นตอนสุดท้าย คือ สายพันธุ์ MU2NUN2 1, MU2NUN2 2 และ MU2NUN2 3 ซึ่งมีปริมาณไนซินเท่ากับ 2,638.89, 2,265.45 และ 2,564.23 หน่วยต่อมิลลิลิตร สูงขึ้นกว่าสายพันธุ์ตั้งต้น ที่ผลิตไนซินได้เพียง 370.51 หน่วยต่อมิลลิลิตร ถึง 7 เท่า และมีแอกทิวิตีหลังจากถ่ายเชื้อ 5 ครั้งเท่ากับ 90.4, 87.24 และ 85.29% ตามลำดับ จากนั้นได้ศึกษาหาภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตไนซินของเชื้อสายพันธุ์กลาย MU2NUN2 1 ซึ่งสามารถผลิตไนซินได้มากที่สุดและมีแอกทิวิตีมากที่สุด พบว่าเมื่อเลี้ยงเชื้อสายพันธุ์กลาย MU2NUN2 1 ในอาหาร MRS ที่มีการแปรผันน้ำตาลเป็นซูโครส 1.0% แต่คงชนิดและปริมาณของแหล่งของไนโตรเจนเดิมไว้ พบว่าสามารถผลิตไนซินได้สูงขึ้นเป็น 4,303.09 หน่วยต่อมิลลิลิตร ซึ่งสูงขึ้นกว่าเลี้ยงในอาหาร MRS สูตรเดิม ถึง 1.67 เท่า |
Other Abstract: | Lactococcus lactis MF2 isolated from raw milk was capable of producing nisin. The bacteria was grown in MRS medium at 30ºC for 24 hours. Growth was measured as optical density at 600 nm and found that the 9th hour of incubation period is a mid-log phase that is suitable to be a starter for improving the strain. After 3 rounds of UV exposure at 254 nm for 60-80 sec and 3 rounds of 50 g/ml NTG treatment for 10-60 min, the highest producing strains designated as MU2NUN2 1, MU2NUN2 2 and MU2NUN2 3 gave nisin activity of 2,638.89, 2,265.45 and 2,564.23 IU/ml respectively or a 7-fold increase more than original strain that was able to produce nisin only 370.51 IU/ml. The strains showed their stability of nisin production after 5 rounds of consecutive subculture by giving approximately activities of 90.4, 87.24 and 85.29%, respectively. MU2NUN2 1 was subjected to media optimization by using 1% sucrose in MRS medium. The result showed that MU2NUN2 1 was able to produce nisin up to 4,303.09 IU/ml or a 1.67-fold increase. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13928 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.62 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.62 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Marlinee_si.pdf | 1.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.