Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14009
Title: ผลของซีรั่มจากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่มีการปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิตระยะยาวต่อเซลล์บุผนังหลอดเลือดแดง
Other Titles: Effect of sera from patients with coronary artery disease intervened by long-term lifestyle modification on human coronary artery endothelail cells
Authors: รัตติพร วุ่นสุวรรณ
Advisors: ปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์
อัชฌาสัย ศิริตันติกร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Piyarat.T@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค
หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค -- ผู้ป่วย
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของไขมันในเลือด และระดับของ oxidative damage products ในซีรั่ม และผลของซีรั่มดังกล่าวต่อเซลล์บุผนังหลอดเลือดแดงของหัวใจ (human coronary artery endothelial cell, HCAEC) โดยการวัดเซลล์มีชีวิตและระดับของอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ โดยศึกษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบทั้งหมด 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการรักษาแบบปกติ (กลุ่ม UC) และกลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิต (กลุ่ม LM) กลุ่มละ 15 คน และในกลุ่มคนปกติ 7 คน ทำการวิเคราะห์ระดับไขมันในเลือด ระดับของ oxLDL และ protein carbonyl ในซีรั่ม ทิ่ baseline 6 เดือน และ 12 เดือน และนำซีรั่มดังกล่าวมาทดสอบในเซลล์ HCAEC แล้วตรวจวัดเซลล์มีชีวิตด้วยวิธี MTT colorimetric assay และวัดระดับของอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ โดยวัดแสงฟลูออเรสเซนต์ของสาร DCF จากผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยกลุ่ม LM มีระดับไขมันในเลือด ระดับของ oxLDL และ protein carbonyl ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังจากเข้าโปรแกรมการปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิต 6 เดือน และพบว่าลดลงมาใกล้เคียงกับกลุ่มคนปกติ ในขณะที่เพิ่มสูงขึ้นในผู้ป่วยกลุ่ม UC แต่ที่ 12 เดือนไม่พบความแตกต่างทางสถิติเมื่อเทียบกับ baseline ทั้งสองกลุ่มยกเว้นระดับ protein carbonyl ในผู้ป่วยกลุ่ม UC ที่เพิ่มสูงขึ้นจาก baseline และระดับ HDL-C ลดลงจาก baseline อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และจากการทดสอบผลของซีรั่มที่ได้จากผู้ป่วยในเซลล์ HCAEC พบว่าร้อยละของเซลล์มีชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อ incubated ด้วยซีรั่มจากผู้ป่วยกลุ่ม LM ที่ 6 เดือน แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติที่ 12 เดือน การวิเคราะห์ระดับของอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ พบว่าเมื่อ incubated ซีรั่มที่ 6 เดือนของผู้ป่วยกลุ่ม LM ระดับของอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ลดลง จาก baseline แต่เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยกลุ่ม UC เมื่อ incubated ซีรั่มที่ 12 เดือนของทั้งสองกลุ่ม พบว่าระดับของอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ไม่แตกต่างทางสถิติจาก baseline จากผลสรุปได้ว่าการปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิตสามารถลดระดับของ oxidative damage products ในเลือดของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ ชี้ให้เห็นว่า oxidative stress ลดลง ส่งผลดีต่อเซลล์บุผนังหลอดเลือดแดงของหัวใจทั้งในแง่ของการมีชีวิตอยู่เพิ่มขึ้นและมีการสร้างอนุมูลอิสระภายในเซลล์ลดลง
Other Abstract: Lifestyle modification (LM) programs are intended to stabilize or promote the remission of coronary artery disease (CAD). The purpose of this study was to examine the effects of LM program on oxidative stress marker in CAD patients and study on an in vitro effect of sera obtained from the LM-intervened patients on endothelial cells. A total of 30 patients were recruited and randomized into two group, experimental group (n=15) and usual care control group (n=15) and were followed for 12 months. Levels of lipid profiles, oxidized LDL and protein carbonyl were determined in the collected blood specimens from patients at baseline, 6 months and 12 months. Using patient sera and human coronary artery endothelial cells (HCAECs) culture, we measured cell viability by MTT colorimetric assay. After 6 months, serum lipid (cholesterol and triglyceride) levels were significantly decreased in LM group but they did not improve after 12 months of intervention. After 6 months of intervention, oxidized LDL and protein carbonyl levels significantly decrease in LM group but no significant changed at 12 months. In vitro, MTT assay indicated that HCAEC cell viability increased by sera from patients in experimental group after intervention. Fluorometric detection of hydrogen peroxide production significantly decreased after 6 months of intervention in LM group whereas significantly increased in UC group but no significant changed at 12 months in both groups. These findings indicate that lifestyle modification program decreases oxidative stress and increases endothelial cell viability in the patients with CAD. It is strongly recommended as an efficient strategy to decrease the risk of cardiovascular development
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีวเคมีทางการแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14009
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.771
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.771
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rattiporn_wu.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.