Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14040
Title: | การพัฒนาวัฒนธรรมการประเมินการเรียนการสอนของครู: การฝึกอบรมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการสร้างเครือข่ายและการคิดสะท้อนอภิมาน |
Other Titles: | Development of the teachers' instructional evaluation culture: A school-based training employing networking and meta reflection |
Authors: | วิษณุ ทรัพย์สมบัติ |
Advisors: | สุวิมล ว่องวาณิช นงลักษณ์ วิรัชชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | wsuwimon@chula.ac.th Nonglak.W@chula.ac.th |
Subjects: | ครู -- การประเมิน การสอน -- การประเมิน สมรรถภาพในการทำงาน |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็น การวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของวัฒนธรรมการประเมินการเรียนการสอนจากเอกสารงาน วิจัยและความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 16 คน และสำรวจสภาพวัฒนธรรม การประเมินการเรียนการสอนของครู ด้วยการจัดสนทนากลุ่ม 3 ครั้ง และสำรวจด้วยแบบสอบถามจาก กลุ่มตัวอย่างที่เป็นครู 1,090 คน จาก 3 สังกัดโรงเรียน ที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือสำหรับเก็บ ข้อมูลเชิงคุณภาพมี 3 ฉบับ และเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูลเชิง ปริมาณมี 1 ฉบับ ได้แก่ แบบวัดความรู้ เกี่ยวกับการประเมินการเรียนการสอน มีค่าความเที่ยง (KR20) 0.855 ค่าความยาก 0.22-0.72 และค่าอำนาจ จำแนก 0.25-0.75 และแบบวัดความเชื่อต่อการประเมินการเรียนการสอน และวัดการใช้ การประเมินในการ ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.802 และ 0.796 ตามลำดับ คุณภาพของเครื่องมือด้านความตรงเชิงโครงสร้างจาก การวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยันลำดับที่สองพบว่ามีค่าไค-สแควร์=88.41, df=96, p=0.69662, GFI=0.99, AGFI=0.98, RMR=0.015 ขึ้นที่สองเป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถประสงค์เพื่อพัฒนาวัฒนธรรมการ ประเมินการเรียนการสอน ของครู กลุ่มตัวอย่างเป็นครูในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 9 โรงเรียน จาก 3 สังกัด รวม 165 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม ๆ ละ 50 คน และ 63 คน และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม จำนวน 52 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ภาคบรรยาย การทดสอบค่าสถิติที การวิเคราะห์ความ แปรปรวน (Anova) การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ด้วย โปรแกรมลิสเลล (Lisrel)ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ (1) องค์ประกอบของวัฒนธรรม การประเมินการเรียนการสอนที่ได้ จากการสังเคราะห์เอกสารงาน วิจัยและความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ มีจำนวน 3 องค์ประกอบ 22 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ การประเมินการเรียนการสอน 2)ความเชื่อที่มีต่อการประเมินการเรียนการสอน และ 3) การใช้ การประเมินในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง (2 ) โดยสรุปรวมครูมีระดับของวัฒนธรรมการประเมินการเรียนการสอน ค่อนข้างต่ำ ตัวแปรสังกัดโรงเรียน ระดับการศึกษาและระดับที่โรงเรียนเปิดสอนส่งผลต่อระดับวัฒนธรรม การประเมิน การเรียนการสอนของครู ครูที่มีระดับการศึกษาสูง มีระดับวัฒนธรรมการประเมินการเรียน การสอนสูงกว่าครูที่มีระดับ การศึกษาต่ำกว่า ครูสังกัด กทม. มีระดับวัฒนธรรมการประเมินการเรียนการสอนสูงกว่า ครูสังกัด สช. และ ครูที่สอน ในสถานศึกษาที่เปิดสอน เฉพาะระดับอนุบาลมีระดับวัฒนธรรมการประเมินการเรียน การสอน ต่ำกว่าครูที่สอนใน สถานศึกษาที่เปิด สอนระดับอนุบาล-ป.6 และระดับ ป.1-ป.6 (3) ผลการเปรียบเทียบ วัฒนธรรม การประเมินการเรียน การสอน ระหว่างก่อนและหลังการฝึกอบรม พบว่าครูกลุ่มทดลองมีระดับวัฒนธรรม การประเมินการเรียนการสอน หลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่าครูกลุ่มควบคุม ตัวแปรสังกัดโรงเรียน มีผลทำให้ระดับ วัฒนธรรม การประเมินการเรียนการสอนของครูกลุ่มทดลอง แตกต่างกัน โดยครูสังกัด สช. และกทม. มีระดับวัฒนธรรม การประเมินการเรียนการสอนสูง กว่าครูสังกัด สพฐ. ส่วนครูสังกัด สพฐ มีระดับวัฒนธรรม การประเมินการเรียนการสอนช่วงก่อนและหลังทดลอง ไม่แตกต่างกัน (4) ผลผลิตจากการวิจัย ได้คู่มือฝึกครูพี่เลี้ยง จำนวน 1 ชุด คู่มือ ฝึกอบรมครูผู้เข้ารับอบรม จำนวน 1 ชุด เอกสารเสริมความรู้ 1 ชุด และมีรูปแบบการเรียนรู้แบบ เครือข่ายจำนวน 3 รูปแบบ (5) ครูมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการฝึกอบรมที่พัฒนา ขึ้นว่าสามารถเกิดการเรียนได้ดีด้วย การปฎิบัติจริงผ่าน กระบวนการคิดสะท้อนอภิมาน เกิดเรียนรู้ผ่าน ประสบการณ์ตนเองและผู้อื่น และมีผลงานเป็น รูปธรรมนำไปใช้ ได้จริง |
Other Abstract: | This research employed the research and development methodology and was classified into two stages. The first stage was an exploratory study aimed at studying the teachers's instructional evaluation culture factors from existing related documents and from 16 experts, so as to examine teachers' instructional evaluation culture from three focus groups and from questionnaires mailed to a sample of 1,090 teachers drawn from three school districts in Bangkok. Metropolitan Area. The research instrument used to collect qualitative data consisted of three instruments, whereas the one for quantitative data employ only one instrument divided into three parts. The first part, a knowledge of teachers' instructional evaluation's test, had diffculty and discrimination index ranged from 0.22-0.72, and 0.25-0.75, respectively, and a reliability coefficient (KR-20) of 0.802. The second and third parts were 5-point rating scales measuring teacher's evaluation culture had reliability coefficients of 0.802 and 0.796, respectively. The quality of instruments was assessed by construct validity analysis using second order factor analysis. The results showed that the evaluation culture model fitted the data very well (chi-square=88.41, df=96, p=0.69662, GFI=0.99, AGFI=0.98, RMR=0.015). The second stage of this study was an experiment research aimed to develop teacher' evaluation culture. The sample was 165 teachers drawn from 9 schools, 3 jurisdictions in Bangkok Metropolitan Area. Two experimental groups consisted of 50 and 63 teachers and a control groups consist of 52 teachers. Data analyses included descriptive statistics, t-test, analysis of variance (ANOVA), content analysis, and structural equation model. The major findings were as follows. 1) The teachers' instructional evaluation culture factors synthesized from research documents and experts consisted of 3 dimensions composing 22 indicators. The first dimension was knowledge about instructional evaluation, the second was beliefs about instructional evaluation, and the third was continuous evaluation. 2) In general, all teachers had consistently low instructional evaluational culture. School jurisdiction variable, educational level variable, and school level variable did have an effect on the level of teacher's instructional evaluation culture. Teachers with higher educational level possessed higher level of instructional evaluation culture than those with lower educational level. BMA schools' teachers had higher instuctional evaluation culture than OPEC's teachers. Also, teachers in schools which taught only kindergarten level possessed lower instructional evaluation culture than those who taught in schools which taught up to primary level. 3) The comparison of instructional evaluation culture assessed from pre and post training revealed that teachers from the experimental group possessed higher instructional evaluation culture than assessed befored the experiment also, higher than that of the control group. School jurisdiction variable had and effect on level of instructional evaluation culture of the controlled group at a different level. OPEC's teachers and BMA's teachers had higher level of instructional evaluation culture than those under OBEC. In addition, instructional evaluation culture of OBEC's teachers assesses before and after the experiment showed no significant different. 4) The products gained from the research was one training manual for trainer and one training manual for trainee. One book about instructional assessment was also produced. Teachers who were trained had three patterns of learning. 5) Teachers in the experimental group opinionated that their increased level of instructional evaluation culture was a result of the fact that the developed training provided trainees opportunities to practice which is a unique characteristic of the developed training, and that shared experience among participants developed tangible understanding. They highlighted that the developted training was practical and can be used in real practice. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14040 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.597 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.597 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wisanu.pdf | 6.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.