Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1413
Title: | ผลของเมทิลเอทิลคีโตนและไซโคลเฮกซาโนนในน้ำยาประสานท่อที่มีต่อสมบัติด้านการยึดติดของข้อต่อพีวีซีแข็ง |
Other Titles: | Effects of methyl ethyl ketone and cyclohexanone in adhesive on adhesion characteristics of rigid PVC fitting |
Authors: | จิตตินันท์ จูฑะกาญจน์, 2519- |
Advisors: | วิทย์ สุรทรนันท์ ชีรชน วชิราคม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | wit.s@chula.ac.th |
Subjects: | โพลิไวนิลคลอไรด์ ท่อ การติดยึด |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาน้ำยาประสานท่อพีวีซี ที่มีต้นทุนต่ำในขณะยังคงคุณสมบัติในการยึดติดที่ดี โดยศึกษาการทดแทนตัวทำละลายเตตระไฮโดรฟิวเรน ซึ่งจัดเป็นตัวทำละลายที่ใช้กันอย่างแพร่หลายด้วยตัวทำละลายเมทิลเอทิลคีโตนและไซโคลเฮกซาโนน โดยที่ตัวทำละลายทั้ง สองชนิด จะมีราคาถูกกว่าและมีอันตรายต่อผู้ใช้งานต่ำกว่า จากการศึกษาพบว่า ถึงแม้ว่าเมทิลเอทิลคีโตนจะมีความสามารถในการแพร่ซึมลึกเข้าสู่ผิวสัมผัสของวัสดุด้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเตตระไฮโดรฟิวเรน แต่เมทิลเอทิลคีโตนสามารถถูกใช้เป็นตัวทำละลายแทนเตตระไฮโดรฟิวเรนได้มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เนื่องจากตัวทำละลายทั้งสองต่างมีความสามารถในการทำละลายพีวีซีเรซินได้เช่นกันส่งผลต่อราคาต้นทุนที่ลดต่ำลง แต่ปริมาณของตัวทำละลายที่มีคุณสมบัติในการระเหยได้เร็วยังคงมีปริมาณไม่แตกต่างจากเดิม เนื่องจากตัวทำละลายทั้งสองต่างเป็นตัวทำละลายที่มีความดันไอสูง ดังนั้นการเติมตัวทำละลายไซโคลเฮกซาโนนผสมลงในน้ำยาประสานท่อ ในสัดส่วนมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก พบว่าให้คุณสมบัติในการยึดติดของน้ำยาประสานท่อดีขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากอัตราการระเหยของตัวทำละลายที่ต่ำลง ส่งผลให้เป็นการเพิ่มระยะเวลาในการยึดติด อย่างไรก็ตาม การมีปริมาณของไซโคลเฮกซาโนนอยู่มาก จะส่งผลในเชิงลบ เนื่องจากไซโคลเฮกซาโนนมีความสามารถในการแพร่ซึมเข้าสู่ผิวสัมผัสของท่อพีวีซีต่ำ ดังนั้นเมื่อพิจารณาทั้งในด้านต้นทุนในการผลิตและคุณสมบัติในการยึดติด พบว่าองค์ประกอบของน้ำยาประสานท่อที่เหมาะสม ประกอบด้วยพีวีซีเรซิน 15 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ตัวทำละลายเตตระไฮโดรฟิวเรน 4.9 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ตัวทำละลายเมทิลเอทิลคีโตน 44.1 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก และตัวทำละลายไซโคลเฮกซาโนน 36 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก |
Other Abstract: | This research aimed to develop a solvent cement for PVC pipe of lower cost while maintaining adequate joint strength. The substitution of tetrahydrofuran (THF), the commonly used solvent, by methyl ethyl ketone (MEK) and cyclohexanone were investigated as the latter two solvents are cheaper and less hazardous. It was found that, in spite of its comparatively poorer ability to diffuse into PVC substrate, MEK could be used as substitute for THF up to 90 percent due to their similarity in the solubility for PVC resins. The cost could then be lower substantially but the amount of volatile chemicals remained more or less the same as both solvents exhibit high vapor pressure. The introduction of low vapor pressure solvent like cyclohexanone up to 30 percent was found to enhance the joint strength appreciably. This was because less evaporation rate caused by the presence of cyclohexanone led to the prolonged retention time at the joint. However too much cyclohexanone addition could result in an adverse effect dueto its relatively poor diffusion power into PVC substrate. Upon considering cost and resulted joint strength, the optimal composition for solvent cement for PVC pipe was found as follows: 15 wt% PVC resin, 4.9 wt% THF, 44.1 wt% MEK, and 36 wt% cyclohexanone. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมเคมี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1413 |
ISBN: | 9741717768 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jittinun.pdf | 4.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.