Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14167
Title: อิทธิพลของโครงสร้างพื้นฐานที่มีต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยของเมือง ในพื้นที่เขตต่อเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Influence of infratructure on housing development in Eastern Bangkok urban frince
Authors: พัทธญา ปวนสุรินทร์
Advisors: ศักดิ์ชัย คิรินทร์ภาณุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sakchai.K@Chula.ac.th
Subjects: ที่อยู่อาศัย -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การพัฒนาที่อยู่อาศัย -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การพัฒนาเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาพัฒนาการของโครงสร้างพื้นฐาน วิเคราะห์อิทธิพลของโครงสร้างพื้นฐานที่มีต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย ศึกษาการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของการพัฒนาที่อยู่อาศัย ที่ได้รับอิทธิพลจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับการพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยใช้แบบสอบถาม ภาพถ่ายทางอากาศ และการสำรวจเชิงประจักษ์ในพื้นที่เขตดินแดง เขตห้วยขวาง เขตจตุจักร เขตบางกะปิ เขตวังทองหลางและเขตลาดพร้าว ผลการศึกษาด้วยการสำรวจภาคสนามพบว่า ปัจจัยด้านกายภาพอันได้แก่ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน มีอิทธิพลต่อการเลือกตำแหน่งที่ตั้งที่อยู่อาศัยของประชากรมากที่สุด โดยสาธารณูปโภคมีอิทธิพลมากกว่าสาธารณูปการ ประเภทของสาธารณูปโภคที่มีอิทธิพลมากที่สุด ได้แก่ การบริการคมนาคมขนส่ง การบริการประปา และการบริการไฟฟ้า ตามลำดับ ส่วนการบริการสถานศึกษา การบริการห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้าและการบริการตลาด เป็นการบริการสาธารณูปการที่มีอิทธิพลมากตามลำดับ ทั้งนี้การบริการคมนาคมขนส่งเป็นประเภทของการบริการโครงสร้างพื้นฐาน ที่ประชากรให้ลำดับความสำคัญในสัดส่วนสูงสุด โดยในปัจจุบันถนนมีอิทธิพลมากกว่าการคมนาคมขนส่งประเภทอื่น ส่วนในอนาคตประชากรมีความต้องการการคมนาคมขนส่งประเภทรถไฟฟ้ามากที่สุด จากการศึกษาสภาพการเปลี่ยนแปลงเชิงประจักษ์ในพื้นที่ศึกษาพบว่า การบริการคมนาคมขนส่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย ในพื้นที่ศึกษามากที่สุดสอดคล้องกับการสำรวจภาคสนาม โดยในช่วงแรกการพัฒนาถนนในพื้นที่ตลอดจนสาธารณูปโภคต่างๆ มีบทบาทในการบุกเบิกพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัย จนทำให้เกิดการขยายตัวของชุมชนและเกิดการพัฒนาสาธารณูปการตามมา อาทิเช่น พื้นที่ตามแนวถนนลาดพร้าว หลังจากมีการปรับปรุงขยายถนนลาดพร้าวได้ทำให้เกิดการขยายตัวของที่อยู่อาศัย ตลอดจนห้างสรรพสินค้า สถานศึกษา รวมถึงสาธารณูปการอื่นๆตามมา ต่อมาเมื่อเกิดการขยายตัวของพื้นที่จนการจราจรหนาแน่นขึ้น จึงได้มีการพัฒนาทางด่วนซึ่งเข้ามามีบทบาทอย่างสูง และเกิดการขยายตัวของที่อยู่อาศัยตามเส้นทางให้บริการ จนกระทั่งได้มีการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งระบบรางคือ รถไฟฟ้า ได้ส่งผลต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยและเกิดการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ตามแนวเส้นทางดังกล่าวอย่างเห็นได้ชัด โดยพบว่ามีการพัฒนาที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าหลายโครงการโดยเฉพาะในเขตห้วยขวางซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีเส้นทางรถไฟฟ้าตัดผ่านตลอดแนวเขต การเพิ่มขึ้นของที่อยู่อาศัยในบริเวณดังกล่าวมีสัดส่วนมากที่สุดเ มื่อเปรียบเทียบกับการเพิ่มขึ้นของที่อยู่อาศัยในพื้นที่อื่นในเขตพื้นที่ศึกษา และได้ดึงดูดให้มีประชากรเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่มากขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะมีการพัฒนาที่อยู่อาศัยในแนวดิ่งเช่นนี้เพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ส่วนการพัฒนาที่อยู่อาศัยในแนวราบ อาทิ บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ บ้านแฝด ได้มีการพัฒนาตามแนวทางด่วนด้านตะวันออกของพื้นที่ โดยเฉพาะในบริเวณเขตวังทองหลางและเขตลาดพร้าว บางส่วนจะกระจายตัวอยู่ตามแนวถนนซอย แนวทางการพัฒนา ควรมีการส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเภทต่างๆให้มีประสิทธิภาพการให้บริการสูงขึ้น โดยเฉพาะส่งเสริมให้มีการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าตลอดจนการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามแนวเส้นทางการให้บริการ เพื่อเป็นการชี้นำให้เมืองขยายตัวตามแนวเส้นทางดังกล่าว ซึ่งสามารถลดปัญหาการขยายตัวของเมืองอย่างกระจัดกระจายได้
Other Abstract: To study infrastructure development, to analyze influence of infrastructure on housing development, to study changes and tendency of housing development influenced by the development of infrastructure in order to be a guideline for infrastructure development which will be related to and consistent with the housing development. The research methodology included questionnaire, aerial photograph, and empirical survey in the areas of Din Daeng, Huaykwang, Chatujak, Bangkapi, Wangthonglang, and Ladprao. The result from the field survey found that physical factors included infrastructure which had most influenced on the selection of people’s housing location, while public utility had more influenced than public facilities. The most influenced type of the public utility was transportation, waterworks, and electricity, respectively. Moreover, schools, department stores or trade centers, and markets were also the most influenced public facilities, respectively. In addition, the transportation service was the type of infrastructure service which people rated as the most important infrastructure service. Currently, road has more influenced than other types of transportation. In the future, people will desire subway and sky train the most. According to the study of empirical change in the study area, it was found that the transportation service was the most influenced factor on the housing development in the study area which was consistent with the result from the field survey. At the initial stage, the development of road and public utilities in the areas played the major role in exploiting the housing area which may cause the community expansion and then the development of public facilities. For instance, in the area along Ladprao Road, after expansion of the road, houses, department stores, schools, and other public facilities were also expanded. Subsequently, such expansion caused traffic congestion. Therefore, the development of express way was created and played a major role in housing expansion along the route of express way service. Then, the transportation system as subway and sky train have been developed. With this regard, the housing development and adjustment of the area along the mentioned route were obviously affected. It was found that the housing development under several projects of condominium along the subway and sky train route had been emerged, especially in Huaykwang area which the electric train route would pass. The increment of housing in the mentioned area possessed the highest ratio, when comparing to the housing increment in other study areas. This had attracted more people to live in the area. Furthermore, the tendency of vertical housing development will be increased in the future, while horizontal housing development, such as single house, townhouse, and twin house, had been developed along the express way route in the east of the area, particularly in the area of Wangthonglang and Ladprao. Some were dispersed along the alley road. The development guideline should encourage the development on several types of infrastructures to be more highly efficient, especially to support the development of the subway and sky train route and housing development along the electric train service route. This can guide the expansion of the city along the rail route which can reduce the problem of urban sprawl.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14167
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1941
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1941
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patthaya_pa.pdf8.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.