Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14193
Title: | วงจรเข้ารหัสเออีเอสชนิดเปลี่ยนโครงแบบได้ |
Other Titles: | A design of reconfigurable AES encryption circuit |
Authors: | เจนโชติ ศรีพรประเสริฐ |
Advisors: | ประภาส จงสถิตย์วัฒนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Prabhas.C@chula.ac.th |
Subjects: | การเข้ารหัสลับข้อมูล |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้กล่าวถึงวงจรเข้ารหัสเออีเอสที่เปลี่ยนโครงแบบได้ วงจรเข้ารหัสดังกล่าวอาศัยข้อได้เปรียบจาการเปลี่ยนโครงแบบได้เพื่อลดขนาดโดยรวมของวงจรลง วงจรที่ได้จึงมีขนาดเล็กเหมาะสำหรับไปใช้ในงานที่ต้องคำนึงถึงความประหยัดเป็นอันดับแรก วงจรเข้ารหัสปกติใช้ 40.621 เกตสมมูลในขณะที่วงจรแบบเปลี่ยนโครงแบบได้ใช้เพียง 10,830 เกตสมมูล วงจรธรรมดาไม่ได้ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างสูงสุดเนื่องจากต้องมีบางส่วนของวงจรที่ไม่ได้ทำงานอะไรเลยในบางเวลาแต่วงจรแบบเปลี่ยนโครงแบบนั้นมีลักษณะการงานคือ แตกงานใหญ่ให้เป็นงานย่อยๆแล้วทำงานย่อยให้เสร็จแล้วเปลี่ยนตัวเองไปทำงานย่อยอันต่อไป ด้วยพฤติกรรมที่ทำงานเล็กๆ ทีละอันนี้ จึงช่วยลดการสิ้นเปลืองส่วนที่ไม่ได้ถูกใช้งานไปได้มาก งานวิจัยชิ้นนี้ได้ออกแบบวงจรประกอบด้วยสามส่วนหลักคือ หน่วยประมวลผลเปลี่ยนโครงแบบได้ หน่วยความจำรีจิสเตอร์แบงก์ และ หน่วยควบคุม หน่วยประมวลผลเปลี่ยนโครงแบบได้จะเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการเปลี่ยนโครงแบบของวงจรให้เป็นวงจรย่อยที่ต้องการในขณะนั้น รีจิสเตอร์แบงก์มีหน้าที่เก็บข้อมูลจากโครงแบบก่อนหน้าเพื่อส่งต่อให้โครงแบบต่อไปทำงาน หน่วยควบคุมทำหน้าที่ควบคุมการไหลของสัญญาณให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ขนาดของวงจรจะเท่ากับขนาดของวงจรย่อยที่ใหญ่ที่สุดรวมกับรีจิสเตอร์แบงก์และหน่วยควบคุม |
Other Abstract: | In this thesis, we focused on AES encryption circuit with dynamic reconfiguration. This circuit has the reconfiguration ability to reduce overall circuit size. It is suitable for low budget application. The regular AES circuit consumes approximately 40,621 equivalent gates, but the reconfigurable circuit consumes only 10,830 equivalent gates. A key concept to reduce size is to divide the whole task into many subtasks. The reconfigurable circuit will execute on subtask then change itself for the next subtask, therefore it uses the resources more efficiently. The reconfigurable circuit consists of three main components, a Reconfigurable Processing Unit, a Register Bank and a Control Unit. The Reconfigurable Processing Unit is a component which can be configured to any desired sub circuit. The Register Bank is a place to keep intermediate results between subtasks. The Control Unit controls overall data flow. The total circuit size is the sum of the largest circuit of subtasks, the Register Bank and the Control Unit. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14193 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1304 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1304 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
jenchote.pdf | 2.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.