Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14219
Title: ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ของไทย
Other Titles: The competitiveness of Thai motorcycle parts industry
Authors: นริสา เมืองสุวรรณ
Advisors: สามารถ เจียสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Samart.C@Chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมชิ้นส่วนจักรยานยนต์ -- ไทย
การแข่งขันทางการค้า -- ไทย
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาถึงโครงสร้างตลาดและศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ไทย ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม โดยใช้ค่า RCA และ Diamond Model สำหรับการศึกษาความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ไทย และใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติ สำหรับการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขัน ผลการศึกษาความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบโดยค่า RCA แยกตามรายสินค้า ดังนี้ 1) ยางนอกรถจักรยานยนต์ พบว่า ประเทศไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการผลิตยางนอกรถจักรยานยนต์ในตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และฝรั่งเศส 2) ยางในรถจักรยานยนต์ พบว่า ประเทศไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการผลิตยางนอกรถจักรยานยนต์ในตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา 3) อานรถจักรยานยนต์ พบว่า ประเทศไทยไม่มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการผลิตอานรถจักรยานยนต์ ในตลาดสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาเลย ในขณะที่มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในตลาดอิตาลี 4) ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ประเภทอื่นๆ พบว่า ประเทศไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการผลิตยางนอกรถจักรยานยนต์ในตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ไทย พบว่า 1) ยางนอกรถจักรยานยนต์ ปัจจัยที่ส่งผลคือ ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเฉลี่ยของประเทศไทย ส่วนแบ่งตลาดในช่วงเวลาก่อน และ ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจในประเทศไทย 2) ยางในรถจักรยานยนต์ ปัจจัยที่ส่งผลคือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติต่อคนของตลาดส่งออก ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเฉลี่ยของประเทศไทย และอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อหนึ่งหน่วยสกุลเงินของตลาดส่งออก 3) ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ประเภทอื่นๆ ปัจจัยที่ส่งผลคือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติต่อคนของตลาดส่งออก อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อหนึ่งหน่วยสกุลเงินของตลาดส่งออก ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ และตัวแปรหุ่นซึ่งแสดงถึงนโยบายบังคับใช้ชิ้นส่วนของไทย การวิเคราะห์ Diamond Model พบว่าประเทศไทยยังมีจุดอ่อนหลายด้านที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ เช่น ขาดบุคลากรที่มีคุณภาพ ขาดการทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างจริงจัง ขาดอุปกรณ์และเครื่องมือทดสอบ ผู้ผลิตชิ้นส่วนจำนวนมากขาดมาตรฐานและประสิทธิภาพในการผลิต
Other Abstract: To study the market structure of Thai motorcycle parts industry and to investigate factors affecting the industries competitiveness. Revealed Comparative Advantage (RCA) indices and Diamond Model are being used to evaluate the potential of Thai motorcycle parts industry. To analyze factors affecting the industry competitiveness, a Linear Regression Model is being used. The study results show that Thai 1) new pneumatic tires for motorcycles have potential competition in Japan, Malaysia, and France markets 2) inner tubes for motorcycles have potential competition in Japan, Malaysia, and USA markets 3) saddles for motorcycles have potential competition in Italy, but not in UK and USA markets. 4) Other parts and accessories for motorcycles have potential competition in Indonesia, Philippines, and Malaysia markets. For factors affecting the competitiveness of 1) new pneumatic tires for motorcycle are average wage, market share in previous time, and financial crises 2) inner tubes are gross domestic product per capita, average wage, and exchange rate 3) other parts and accessories of motorcycle are gross domestic product per capita, exchange rate, average wage, and local content requirements. The Diamond Model analysis shows that some barriers to the development of the motorcycle parts industry in Thailand are the lack of skilled labor, research and development and testing equipment. Part suppliers lack standards and efficiency in the manufacturing.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14219
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.302
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.302
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narisa_Mu.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.