Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14249
Title: ความคิดเห็นของครูผู้สอนศิลปะเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนศิลปะ ที่ส่งเสริมการแสดงออกถึงเอกลักษณ์ท้องถิ่นของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคอีสาน
Other Titles: Opinions of art teachers toward art instructional provision to enhance local identity expression of grade four to six students in schools under the Office of the Basic Education Commission, Northeastern Region
Authors: ธีระเดช ทองอินทร์
Advisors: ปิยะชาติ แสงอรุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Piyacharti.s@chula.ac.th
Subjects: ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
ครูศิลปศึกษา
ศิลปกรรมของเด็ก
ภูมิปัญญาชาวบ้าน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษความคิดเห็นของครูผู้สอนศิลปะการจัดการเรียนการสอนศิลปะ ที่ส่งเสริมการแสดงออกถึงเอกลักษณ์ท้องถิ่น ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคอีสาน ในด้านวัตถุประสงค์การเรียนการสอน ด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้แก่นักเรียน ด้านสาระการเรียนรู้ ด้านกระบวนการสอน ด้านการประเมินผล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ครูผู้สอนศิลปศึกษาจำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ด้านเนื้อหา ผลการวิจัย ครูผู้สอนวิชาศิลปะมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนศิลปะ ที่ส่งเสริมการแสดงออกถึงเอกลักษณ์ท้องถิ่น ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคอีสานดังนี้ 1. ด้านวัตถุประสงค์การเรียนการสอน มีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเรื่องเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้คุณค่าภูมิปัญญาทางศิลปะ ในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับขนบธรรมเนียมประเพณี 2. ด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้แก่นักเรียน มีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วย โดยเฉพาะในเรื่องกำหนดให้นักเรียนนำประสบการณ์จากการร่วมกิจกรรมวัฒนธรรมในชุมชน มาใช้เป็นแนวทางการทำงานศิลปะของตนเอง 3. ด้านสาระการเรียนรู้ มีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วย โดยเฉพาะในเรื่องแนวทางการสร้างสรรค์งานศิลปะที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้า และการเรียนรู้ประสบการณ์จริงในท้องถิ่น 4. ด้านกระบวนการสอน มีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วย โดยเฉพาะในเรื่องการปลูกจิตสำนึกเกี่ยวกับคุณค่าความสำคัญ และคุณธรรมที่แฝงอยู่ในภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่ทำให้เกิดออกมาเป็นงานศิลปะ และควรให้ผู้เรียนเห็นจุดเด่นของงานศิลปะท้องถิ่นที่มีความเป็นเอกลักษณ์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและภาคภูมิใจต่องานศิลปะท้องถิ่น 5. ด้านการประเมินผล มีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วย โดยเฉพาะในเรื่องคุณค่างานศิลปะสร้างสรรค์ที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ท้องถิ่น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนศิลปะ ที่ส่งเสริมการแสดงออกถึงเอกลักษณ์ท้องถิ่นของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ครูผู้สอนเสนอแนะว่า ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสค้นคว้างานศิลปะท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ทั้งในชุมชนและนอกชุมชนของตนเอง ในการถ่ายทอดและพัฒนาวัฒนธรรมในโรงเรียน ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เห็นและสัมผัสกับศิลปวัฒนธรรมไทย ตลอดจนได้ร่วมกิจกรรมในการส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมไทยด้วย และควรเปิดโอกาสให้ปราชญ์ท้องถิ่นและช่างศิลปะมาให้ความรู้กับนักเรียนในเรื่องที่เกี่ยวกับศิลปะในท้องถิ่น
Other Abstract: To study art teacher's opinion towards art instructional provision to enhance the supports local identity of Pratom 4-6 students in the Northeastern foundation education including setting the learning objectives, preparing student with art experience, instructing process, and evaluating the result. The subjects of this study consist of 360 art teachers. The instruments include questionnaire for analyzing percentage, average, and standard of deviation and also combine with analyzing the contents. The result of the research: Most art teachers had opinion the art instructional management to enhance local identity expression of grades four to six students in schools under the Office of Basic Education Commission Northeastern region. 1. Learning objectives, Most art teachers agree at the high level. Specific the student learn art local wisdom of traditional area. 2. Instructional management. Most art teachers agree. Specific the student had expirenced co-operation culture local wisdom had to work art. 3. Content. Most art teachers agree. Specific the way of creative art to the research and learn culture local by your self. 4. Process of instructional. Most art teachers agree. Specific should be create conscious of value in the cultural wisdom in the art. And art teachers should be see content in the local art as the identity. For proud, appreciate to the local art. 5. Measurement evaluation. Most art teachers agree in the value of local art identity expression. The suggestion of the art instructional management art to enhance local identity expression of grade four to six students in schools the teacher suggestions that should be opportunities student study research local art identity indoor and outdoor themselves. The transmission and develop culture in the school. The teacher had chance student learned your culture and join in the part of culture. And the teacher had chance expert of local wisdom and artisan teach to the student in local art.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14249
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.963
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.963
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
theeradej_to.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.