Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14256
Title: หลักกรรมสิทธิ์ในทรัพย์และความขัดแย้งอันเกิดจากกรรมสิทธิ์ในสังคมไทย
Other Titles: Property rights and derived conflicts within Thai society
Authors: ประยูร ดำรงชิตานนท์
Advisors: ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Narong.Pe@chula.ac.th
Subjects: กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน -- ไทย
ความขัดแย้งทางสังคม -- ไทย
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สังคมที่มีระบอบการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยทั้งหลาย หากจะให้มีปกติสุขย่อมจำเป็นที่จะต้องมีหลักการสำคัญที่ทุกฝ่ายยึดถือเป็นรากฐานในการปฏิบัติ หรือดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายในสังคม ซึ่งเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ในอันที่จะยึดโยงสังคมไว้ด้วยกันอย่างแนบแน่น ไม่แตกร้าวแตกแยก หลักการสำคัญที่ว่าก็คือ “หลักกรรมสิทธิ์ในทรัพย์” มนุษย์มีความต้องการปัจจัย 4 เพื่อการดำรงชีวิต แต่สิ่งเหล่านี้จักต้องได้รับการผลิต วิถีการผลิตในแต่ละสังคมจะขึ้นอยู่กับนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมของสังคมนั้น หรือความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ และความสัมพันธ์ทางการผลิต หรือความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันในกระบวนการผลิต ความสัมพันธ์ภายใต้โครงสร้างดังกล่าวจึงเป็นปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างชนชั้น ที่ตั้งอยู่บนฐานการช่วงชิงผลประโยชน์และสิทธิในการเข้าถึงปัจจัยการผลิต การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดจากแรงผลักดันของฝ่ายใด ผลของการเปลี่ยนแปลงได้กระทบต่อการถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการวิจัยก็คือ (1) ประมวลเนื้อหาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับหลักกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ (2) ศึกษาการพัฒนาการบทบาทและความสำคัญของหลักกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ต่อความขัดแย้งในสังคมไทย (3) ศึกษาตัวอย่างความขัดแย้งในสังคมไทยกับมิติหลักกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ ก่อนปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช กษัตริย์เป็นเจ้าชีวิตและเจ้าของที่ดินทั้งหมด ราษฎรมีเพียงสิทธิอาศัยและทำกินบนที่ดิน ไม่อาจนับเป็นกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ จนมาในปี พ.ศ. 2398 รัฐบาลไทยบรรลุข้อตกลงสนธิสัญญาการค้าเบาว์ริงกับประเทศอังกฤษ อันมีผลให้เกิดการผลิตเพื่อการค้าขึ้นระบบกรรมสิทธิ์ในที่ดินเริ่มคลี่คลาย เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ แต่สิทธิดังกล่าวยังกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มกษัตริย์ ขุนนางและพ่อค้าต่างชาติ อาจกล่าวได้ว่า ระบบกรรมสิทธิ์จึงมี 3 ลักษณะ (1) ระบบกรรมสิทฺธิ์ของกษัตริย์ (2) ระบบกรรมสิทธิ์ของเอกชน (3) ระบบกรรมสิทธิ์ของชุมชน จนปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบบประชาธิปไตย และในปี พ.ศ. 2497 รัฐบาลได้ออกประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ยอมรับกรรมสิทธิ์เอกชน ซึ่งได้รับการบังคับใช้จนกระทั่งวันที่ 13 มกราคม 2502 ก็ถูกยกเลิกโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 49 การยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยการกำหนดสิทธิในที่ดิน เกิดจากแรงผลักดันทางการเมืองที่สนับสนุนระบบเศรษฐกิจทุนนิยม มีผลให้กลุ่มทุนสามารถเข้าถือครองที่ดินได้โดยไม่จำกัดจำนวน เกษตรกรผู้ยากไร้มีที่ดินเพียงเล็กน้อยในการผลิตเพื่อยังชีพ จึงไม่สามารถทานอำนาจทุนและต้องสูญเสียที่ดินในที่สุด ดังนั้นตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันจึงมีเพียงระบบกรรมสิทธิ์ในที่ดินของรัฐและเอกชนเท่านั้น ละเลยความมีอยู่ของระบบกรรมสิทธิ์ชุมชนไปอย่างสิ้นเชิง อันเป็นเหตุแห่งความขัดแย้งมากมายในสังคมไทยตลอดมาจนถึงปัจจุบัน สรุปได้ว่า (1) ผลผลิตของโครงสร้างระบอบเศรษฐกิจทุนนิยมไทย ที่มีการยึดโยงกันอย่างแน่นแฟ้นระหว่างกลุ่มการเมืองและทุนเอกชน หรือทุนการเมืองทำให้การแสดงออกซึ่งอำนาจอธิปไตยของผู้แทนราษฎรเหล่านั้น ไม่ตรงกับเจตนาส่วนรวมของประชาชนได้ ก่อให้เกิดการบิดเบือนของสถาบันทางสังคมที่ทำหน้าที่ควบคุม และกำกับการจัดสรรกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินในสังคมไทย (2) การลดหรือการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยคำตอบ จึงจำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์บนแนวคิดจากเศรษฐศาสตร์การเมืองของหลักกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน การเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างส่วนบน และในทางกลับกันควบคู่กันไป
Other Abstract: Any society with liberal democratic government, to be peaceful would require certain principle that every party holds to for their economic, social and political behaviors or activities within that society. It will establish a tight without crack under an important principle i.e. Property Rights. Men have 4 basic needs to survive. They will be satisfied by their production. Mode of Production in any society will depend on their economic and social policies or the relationship between men and nature, production relation, or the relation among men in the production. Such structural relationship is then the power related interaction between classes founding on competition for benefit and rights to possess production factors. Changes occurred from either party’s force, will influence the possession the property rights. Therefore, the objectives of this study are 1. literature review on theories of property rights, 2. study the development, roles and importance of property rights and derived conflicts within Thai society, 3. case studies of property rights related conflicts within Thai society. Prior to the year 2475, Thailand was under the absolute monarchy. The King owned every life and land. His subjects only had the right to live in and make a living on, which could not be considered as having land ownership. Until the year 2398, Thai government had entered into the Browling Treaty with England, which had pushed up the production for trade. Property rights of land was more obvious. Private ownership of land took place. However, those rights were concentrated in the hands of the Royal family, lords, and foreign traders. The property rights system could be described in 3 features ; 1. those of the King’s, 2. those of the private’s, 3. those of the community’s. In the year 2475, Thailand had changed into democratic system. And in the year 2497, the government had issued “Land Law 2497” recognizing the private property, which were enforced till 13th January, 2502 when it was aborted by the 49th declaration of the Coup. Such abortion was a result of political pressure that supported capitalism. The result was capitalistic group could possess land without limit. Poor farmers who had only very limited land for their subsistence, could not sustain the capital power and had to lose their land finally. Today, there exists only the rights of land of the government and private, ignoring the presence of communal property rights, which has been the cause of several conflicts in Thai society. In conclusion, the output of solidly integrated Thai capitalism between political and private groups, or political capitalists has made the expression of sovereignty of the people representatives not in line with the common will the people, resulting in distraction of a social institution that control and regulate the allocation of property rights in Thai society. Secondly, the answer to reduce or solve social conflicts will require political economy analysis on property rights. The change of mode of production can lead to the change of its super structure and vice versa.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์การเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14256
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1948
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1948
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prayoon_da.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.