Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14257
Title: เกณฑ์การคัดเลือกผู้ได้รับสิทธิโครงการบ้านเอื้ออาทรกับความสามารถในการผ่อนชำระหนี้เพื่อที่อยู่อาศัย : กรณีศึกษา ลูกค้าโครงการบ้านเอื้ออาทร บางโฉลง 1 จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Criteria for seletion Baan Eua-arthorn clients and affordability for housing loan : a case study of Baan Eua-arthorn Bang Chalong 1 clients Samutprakarn Province
Authors: วิสุทธิดา นครชัย
Advisors: กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
ปรีดิ์ บุรณศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kundoldibya@hotmail.com, Kundoldibya.P@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: โครงการบ้านเอื้ออาทร
โครงการบ้านเอื้ออาทร บางโฉลง 1 สมุทรปราการ
สินเชื่อที่อยู่อาศัย
การชำระหนี้
นโยบายสาธารณะ
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มอบหมายให้การเคหะฯ จัดสร้างที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ที่มีรายได้ครัวเรือนต่อเดือนไม่เกิน 15,000 บาท (ณ ปี 2546) คือ โครงการบ้านเอื้ออาทร จำนวน 601,727 หน่วย ภายในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2546-2550) โดยในช่วง 5 ปีแรกกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 4-6% หลังจาก 5 ปีใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัว วิทยานิพนธ์นี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาของเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกผู้ได้รับสิทธิโครงการบ้านเอื้ออาทร และศึกษาความสามารถในการผ่อนชำระหนี้เพื่อที่อยู่อาศัยของผู้ได้รับสิทธิให้เข้าอยู่อาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทร โดยผู้วิจัยได้เลือกผู้อยู่อาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทร บางโฉลง 1 จังหวัดสมุทรปราการ เป็นกรณีศึกษา กลุ่มประชากรที่ศึกษาคือ ผู้อยู่อาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทร บางโฉลง 1 จำนวน 836 หน่วย โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกด้วยแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง ได้กลุ่มตัวอย่าง 58 ราย (20% ของกลุ่มประชากรเป้าหมาย) และสุ่มตัวอย่างตามวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งมีรายได้ครัวเรือนต่อเดือนมากกว่า 18,000 บาท (รายได้ ณ ปี 2549) โดยรายได้ดังกล่าวได้คำนวณรวมรายได้จากอาชีพเสริมและรายได้ของผู้อยู่อาศัยร่วมกับผู้ได้รับสิทธิด้วย 2. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความสามารถในการชำระหนี้ตามเงื่อนไขการผ่อนชำระของโครงการบ้านเอื้ออาทรปัจจุบัน เนื่องจากเงินงวดในช่วง 5 ปีแรก เป็นจำนวนเงินงวดที่น้อยกว่าเงินงวดที่คำนวณตามเงื่อนไขปกติของ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ แต่เมื่อครบกำหนดการเช่าซื้อกับการเคหะฯ 5 ปี ซึ่งเงินงวดจะปรับเพิ่มขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (MRR – 0.5%) กลุ่มตัวอย่างประมาณ 1 ใน 4 มีแนวโน้มจะไม่มีความสามารถ ในการชำระหนี้ เนื่องจากเงินงวดที่จะปรับเพิ่มขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยลอยตัว มีจำนวนมากกว่าจำนวนเงินออมต่อเดือนในปัจจุบันของกลุ่มตัวอย่างดังกล่าว ข้อเสนอแนะจากการศึกษาคือ 1. การคำนวณรายได้ของผู้ได้รับสิทธิควรพิจารณารายได้จากอาชีพเสริมและรายได้ของผู้อยู่อาศัยร่วมกับผู้ได้รับสิทธิประกอบด้วย เพื่อคัดเลือกผู้ได้รับสิทธิซึ่งเป็นผู้มีรายได้น้อยที่ควรได้รับการอุดหนุนด้านที่อยู่อาศัยตรงตามเป้าหมายของโครงการ 2. การเคหะฯ ควรร่วมมือกับ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในการให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างวินัยทางการเงินและการวางแผนการออมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยแก่ผู้ได้รับสิทธิ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ได้รับสิทธิมีการวางแผนการออมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งจะทำให้ ผู้ได้รับสิทธิมีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ตามเงื่อนไขการผ่อนชำระของโครงการบ้านเอื้ออาทรในอนาคตเพิ่มมากขึ้น และเนื่องจากการศึกษานี้เลือกศึกษาเฉพาะผู้อยู่อาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทร บางโฉลง 1 จ. สมุทรปราการ หากมีการขยายการศึกษาไปยังโครงการบ้านเอื้ออาทรโครงการอื่นๆ จะทำให้ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนมากขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงเกณฑ์การคัดเลือก ผู้ได้รับสิทธิโครงการบ้านเอื้ออาทร และเป็นข้อเสนอแนะแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินนโยบายที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยโครงการอื่นๆ ต่อไป
Other Abstract: Assigned by the Thaksin Shinawatra government, the National Housing Authority was to provide a number of 601,727 housing units for low-income families with a monthly household income of no more than 15,000 bath (2546 B.E. figures) within five years (2546-2550 B.E.). The interest rates for the five years were to be fixed at 4-6% and to become floating rates after that. This research study aims to study how the criteria for selection for Baan Eua-arthorn clients were determined as well as the eligible clients' ability to pay back the housing loans. This is a case study of the inhabitants of Baan Eua-arthorn Bang Chalong 1 project in Samutprakarn Province. The populations under study were the inhabitants in 836 units in the project. Research methods included structured in-depth interviews of 58 sampling groups (20% of the target population). The sampling was made randomly. The research results reveal the following 1. Approximately half of the sampling groups had a monthly household income of over 17,500 bath (2549 B.E. figures). The income was inclusive of that from additional occupations and the income of the household members cohabiting in the same units as the eligible clients. 2. Regarding their affordability, most of the sampling groups had the ability to pay back their loans according to the present term of Baan Eua-arthorn loan repayment for the first five years. This was because the installments during this period were less than the installments calculated according to the usual lending conditions of the Government Housing Bank. However, after the five-year period of the lease-purchase with the MRR - 0.5%, one in four of the sampling groups would not be able to meet their loan repayment responsibility. This was because the installments adjusted with the floating interest rates would be higher than the monthly saving of the sampling groups.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14257
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1949
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1949
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Visuthida_na.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.