Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1434
Title: การศึกษาเปรียบเทียบแรงที่กระทำกับใบมีดจอบหมุน 3 ชนิด
Other Titles: Comparative study of resistance forces acting on three types of rotary blades
Authors: สราวุธ เหล่าพงศ์สวัสดิ์, 2521-
Advisors: สุรินทร์ พงศ์ศุภสมิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: เครื่องพรวนจอบหมุน
แรง
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดอุปกรณ์สำหรับทดลองวัดแรงต้านทานที่กระทำกับใบมีดจอบหมุนที่นิยมใช้กับเครื่องพรวนจอบหมุนภายในประเทศจำนวน 3 ชนิด คือ ใบมีดจอบหมุนชนิดตัวแอล ใบมีดจอบหมุนชนิดตัวซี และใบมีดจอบหมุนแบบผสม โดยอาศัยเทคนิคการวัดแรงต้านทานที่กระทำกับตัวใบมีดโดยตรง เพื่อมุ่งเน้นการหาขนาด ทิศทาง และแนวของแรงต้านทานที่กระทำต่อใบมีดจอบหมุนแต่ละชนิด เนื่องจากแรงต้านทานดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาขณะที่ใบมีดหมุนพรวนดิน ดังนั้น การวัดแรงต้านทานต้องอาศัยอุปกรณ์เฉพาะที่มีอัตราการเก็บตัวอย่างข้อมูลสูง จึงใช้อุปกรณ์วัดแรง Extended Octagonal Ring ที่ติดสเตรนเกจจำนวน 12 ตัว ต่อเป็นวงจรแบบ Full Bridge 3 วงจร สำหรับวัดแรงกด F แรงเฉือน P และโมเมนต์ M ที่เกิดจากแรงต้านทานบนระนาบที่ตั้งฉากกับเพลาใบมีด ร่วมกับ Personal Computer Based Data Acquisition System โดยใช้โปรแกรม LabVIEW ร่วมกับโปรแกรมตัดคาบสัญญาณและโปรแกรมเปลี่ยนค่าความต่างศักย์เป็นแรงที่ได้เขียนขึ้นเพิ่มเติม สำหรับแสดงผล บันทึก และประมวลผล เพื่อวิเคราะห์แรงต้านทานที่เกิดขึ้นดังกล่าว ผลจากการทดลองจะได้ทราบ ขนาด ทิศทาง และตำแหน่งของแรงต้านทานลัพธ์ที่กระทำกับใบมีดจอบหมุนแต่ละชนิดจำนวนหนึ่งใบที่มุมองศาการพรวนต่างๆ และทราบถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลงของแรงต้านทานตลอดการพรวน ตลอดจนการเกิดแรงต้านทานในทิศทางที่ยกเครื่องพรวนจอบหมุนและทิศทางแรงต้านทานที่ดันเครื่องพรวนจอบหมุนไปข้างหน้าเนื่องจากลักษณะรูปร่างและการจัดเรียงใบมีด รวมทั้งทราบถึงสัดส่วนของแรงที่กระทำกับส่วนดัดปลายของใบมีดที่ทำหน้าที่ตัดและเหวี่ยงก้อนทราย และส่วนตรงของใบมีดที่ทำหน้าที่ตัดทราย นอกจากนั้นสามารถคำนวณขนาดพื้นที่และปริมาตรของการตัดทรายได้ด้วย ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ออกแบบ พัฒนาปรับปรุงรูปร่างของใบมีดจอบหมุนให้เหมาะสมกับการพรวนดินในไร่และนา ได้ดียิ่งขึ้น
Other Abstract: This study is conducted on the technological measuring method of resistance forces acting upon 3 types of rotary blades. There are L-shaped, C-shaped and mixed type blades which are used for cultivating soil in upland farming, lowland paddy field and both of them, respectively. The objective of this study is to determine magnitude, direction and lines of application of resultant forces acting on cutting edge of the rotary blade. The characteristics of these forces are changing all the time, therefore they should be measured by some special experimental devices. These devices are designed and fabricated which consist of rotary shaft unit and sand bin unit. An Extended Octagonal Ring is installed on the rotary shaft and it is used for measuring compression forces F, shearing forces P and moment M of the testing blade. Experimental data is analyzed by the Personal Computer Based Data Acquisition system which is operated with the LabVIEW program. Moreover, two additional developed programs are created for the propose of selecting the testing period of signals and calculating the resultant forces. Experimental results of this study can be clearly explained the relationship between the different shape of three rotary blades and the phenomena of resultant forces in each degree of rotation. This relation can be effective applied as necessary data to design the optimum shape of rotary blade to suit field conditions in Thailand. Moreover, the characteristics of resultant forces, is due to installing aside blades, are useful for further studying of rotary blade arrangement on the rotary shaft.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1434
ISBN: 9741743238
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saravut.pdf6.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.