Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14343
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย | - |
dc.contributor.author | ธัชชัย ควรเดชะคุปต์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2011-01-04T09:15:52Z | - |
dc.date.available | 2011-01-04T09:15:52Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14343 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักศึกษาประจำสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ในเขตกรุงเทพมหานคร วิธีการศึกษา ดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาประจำสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 436 คน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม 2551 ผู้เข้าร่วมการศึกษาตอบแบบสอบถาม 5 ชุดด้วยตนเอง ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลด้านประชากรและสังคม 2) แบบวัดความเครียดสวนปรุง (SPST-20) 3) แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับการเรียน 4) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม และ 5) แบบสำรวจวิธีการจัดการกับความเครียด นำเสนอความเครียดเป็นค่าเฉลี่ย ค่าสัดส่วน และร้อยละ ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้านต่างๆ โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์ความถดถอยลอจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายความเครียดในระดับสูงถึงรุนแรงของนักศึกษาประจำสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับน้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา คะแนนความเครียดโดยเฉลี่ยของนักศึกษาประจำสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ในเขตกรุงเทพมหานคร เท่ากับ 45.6 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 12.3 คะแนน นักศึกษาเนติบัณฑิตสภามากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 58.7) มีความเครียดอยู่ในระดับสูงถึงรุนแรง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียด ได้แก่ ทัศนคติเกี่ยวกับการเรียนด้านเนื้อหา ด้านความพร้อมในการเรียน (p<0.01) วิธีการจัดการกับความเครียด แบบปฏิเสธความจริง แบบระบายอารมณ์ทางลบ แบบเข้าหาคนรอบข้าง (p<0.01) การประกอบอาชีพในระหว่างเรียน (p<0.01) รายได้โดยเฉลี่ย และฐานะครอบครัว (p<0.05) ผลการวิเคราะห์ความถดถอยลอจิสติก พบว่า ปัจจัยทำนายความเครียดในระดับสูงถึงรุนแรงของนักศึกษาเนติบัณฑิตยสภา ได้แก่การระบายอารมณ์ทางลบ และการเข้าหาคนรอบข้าง (p<0.01) ทัศนคติเชิงลบด้านความพร้อมในการเรียนและการประกอบอาชีพในระหว่างเรียน (p<0.05) สรุปผลการศึกษา นักศึกษาประจำสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ในเขตกรุงเทพมหานคร มากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 58.7) มีความเครียดอยู่ในระดับสูงถึงรุนแรง ปัจจัยทำนายความเครียดในระดับสูงถึงรุนแรงของนักศึกษาเนติบัณฑิตยสภา ได้แก่ ทัศนคติเชิงลบด้านความพร้อมในการเรียน การระบายอารมณ์ทางลบ การเข้าหาคนรอบข้าง และการประกอบอาชีพในระหว่างเรียน | en |
dc.description.abstractalternative | Objectives: To study the stress and associated factors of students in the Institute of Legal Education Thai Bar Association in Bangkok Metropolis. Method: Four hundred and thirty-six participants were recruited from the Institute of Legal Education Thai Bar Association during June to October 2008. The participants completed five questionnaires: 1) Socio-demographic Questionnaire, 2) Suan Prung Stress Test (SPST-20), 3) Learning Attitude Questionnaire, 4) Social Support Questionnaire, and 5) Stress Management Questionnaire. The students' stress and stress level were presented by mean with standard deviation, proportion, and percentage. The relationship between the students' stress level and associated factors were analyzed by using chi-square test. Logistic regression was used to identify the predictors of stress level in Thai Bar students. A p-value of less than 0.05 was considered statistically significant. Result: The mean score of students' stress was 45.6 (SD = 12.3). More than half of the students (58.7%) had the high-to-severe level of stress. The associated factors of students' stress included negative attitude on learning contents and learning readiness (p<0.01), denial of stressors, negative emotional expression, and finding supportive person (p<0.01), working while studying (p<0.01), salary, and family financial status (p<0.05). After performing logistic regression, the remaining predictors of high-to-severe level of stress were negative emotional expression, finding supportive person (p<0.01), negative attitude on learning readiness, and working while studying (p<0.05). Conclusion: More than half of the students (58.7%) had the high-to-severe level of stress. The predictors of high-to-severe stress level were negative attitude on learning readiness, negative emotional expression, finding supportive person, and working while studying | en |
dc.format.extent | 943851 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.776 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา | en |
dc.subject | ความเครียด (จิตวิทยา) | en |
dc.subject | การบริหารความเครียด | en |
dc.title | ความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักศึกษาประจำสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาในเขตกรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | Stress and associated factors of students in the Institute of Legal Education Thai Bar Association in Bangkok Metropolis | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สุขภาพจิต | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.776 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thatchai_ku.pdf | 921.73 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.