Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14348
Title: | การใช้น้ำกากส่าในการเพาะเลี้ยงไรแดง |
Other Titles: | Use of distillery slop for water flea Moina macrocopa (Straus) culture |
Authors: | ธีรศักดิ์ สุนทรา |
Advisors: | อรทัย ชวาลภาฤทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | orathai.c@chula.ac.th |
Subjects: | ไรแดง ยีสต์ อุตสาหกรรมสุรา น้ำเสีย -- การบำบัด |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การทดลองนี้เป็นการศึกษาการนำน้ำกากส่ามาใช้เพาะเลี้ยงไรแดง Moina macrocopa (Straus) โดยนำน้ำกากส่ามาเจือจางความเข้มข้นระดับต่าง ๆ ได้แก่ ความเข้มข้นร้อยละ 0.05, 0.1, 0.5, 1 และ 1.5 โดยปริมาตร โดยให้ชุดที่ไม่มีน้ำกากส่าเป็นชุดควบคุม นำไรแดงลงเลี้ยงในขวด รูปชมพู่โดยให้รับแสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นเวลา 8 วัน เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของ ไรแดงในชุดที่เติมอากาศและไม่เติมอากาศ พบว่าไรแดงเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนได้ดีที่สุดในน้ำกากส่าความเข้มข้นร้อยละ 1 ชุดที่เติมอากาศ ได้ผลผลิตไรแดงจำนวน 2,200 ตัวต่อลิตร และเมื่อนำสาหร่ายคลอเรลล่า Chlorella sp. มาเจือจางความเข้มข้นระดับต่าง ๆ ได้แก่ ความเข้มข้น 1 x 104, 1 x 105, 1 x 106, 1 x 107, 1 x 108 เซลล์ต่อมิลลิลิตรในน้ำกากส่าความเข้มข้นร้อยละ 1 โดยให้ชุดที่ไม่มีสาหร่ายคลอเรลล่าเป็นชุดควบคุม นำไรแดงลงเลี้ยงในขวดรูปชมพู่โดยให้รับแสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นเวลา 8 วัน พบว่าไรแดงเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนได้ดีที่สุดในน้ำกากส่าที่มีความเข้มข้นของสาหร่ายคลอเรลล่า 1 x 107 เซลล์ต่อมิลลิลิตรชุดที่เติมอากาศ ได้ผลผลิตไรแดงจำนวน 5,320 ตัวต่อลิตร การเปรียบเทียบผลผลิตไรแดงจากการทดลองนี้กับผลผลิตไรแดงจากเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ พบว่าในการทดลองนี้มีอัตราการปล่อยไรแดงเริ่มต้นที่ต่ำแต่ได้ผลผลิตไรแดงค่อนข้างสูง ในขณะที่ใช้วัสดุอาหารไม่ซับซ้อนและไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำจากการเติมอาหารลงไปในน้ำที่ใช้เพาะเลี้ยง |
Other Abstract: | The cultivation of Moina macrocopa (Straus) in distillery slop was studied. Diluted distillery slop at the concentrations of 0.05, 0.1, 0.5, 1 and 1.5 percent and non distillery slop as control was prepared and then fed M. macrocopa in erlenmayer flasks under fluorescent light for 8 days. Comparison of M. macrocopa growth in the aerated and non aerated conditions was studied, it was found that M. macrocopa was able to grow and multiply best in 1 percent of distillery slop in the aerated condition. It gave a yield of 2,200 water fleas per liter. When diluted Chlorella sp. at the concentrations of 1 x 104, 1 x 105, 1 x 106, 1 x 107, 1 x 108 cells per liter was added in 1 percent of distillery slop and then fed M. macrocopa in erlenmayer flasks under fluorescent light for 8 days, it was found that M. macrocopa was able to grow and multiply best in 1 x 107 cells per liter of Chlorella sp. in the aerated condition. It gave a yield of 5,320 water fleas per liter. Comparison of a yield of water fleas from this study and others was studied, it was found that this study had low rate of M. macrocopa at the beginning but gave rather high yield whereas the use of food material was not complicate and no problems of water quality from material added. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14348 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.806 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.806 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Theerasak_Su.pdf | 1.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.