Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14434
Title: การศึกษากระบวนการบ่มเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตของแผ่นวงจรพิมพ์ชนิดอ่อน
Other Titles: A study on curing process for the production improvement of flexible printed circuit board manufacturing
Authors: พรรัตน์ จตุพรพรรณยา
Advisors: ศิริจันทร์ ทองประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sirichan.T@Chula.ac.th
Subjects: วงจรพิมพ์ -- การผลิต
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ในงานวิจัยเพื่อปรับปรุงกำลังผลิตของผ่นวงจรพิมพ์โดยศึกษาปัจจัยที่กระบวนการบ่ม อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของกระบวนการบ่ม โดยนำวิธีการของเครื่องมือทางสถิติต่างๆ มาประยุกต์ใช้ปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มปริมาณการผลิตที่กระบวนการบ่ม โดยต้องผ่านข้อกำหนดด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ คือ ค่าการเปลี่ยนแปลงความกว้างและความยาว ค่า Peel Strength ค่า Solder Heat Resistance ค่า Cross Section และค่าความต้านทานไฟฟ้า และหาสภาวะหรือเงื่อนไขที่เหมาะสมดังกล่าวที่สามารถนำไปใช้จริงได้กับกระบวนการผลิต ซึ่งก่อนการปรับปรุงกระบวนการผลิตมีปริมาณการผลิตต่อเดือนเท่ากับ 2,240 ล๊อต ขั้นตอนการวิจัยจะดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ มาทั้งหมด 5 ขั้นตอน โดยเริ่มจากขั้นตอนนิยามปัญหา ขั้นตอนการวัดเพื่อกำหนดสาเหตุของปัญหา ขั้นตอนการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการ และขั้นตอนการควบคุมกระบวนการผลิต สำหรับการทดลองในขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการแบ่งเป็น 2 การทดลอง ที่นำเอาปัจจัยที่มีผลต่อข้อจำกัดของกระบวนการบ่ม ได้แก่ การทดลองที่ 1 ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างของกระบวนการบ่มครั้งที่ 2 โดยการออกแบบการทดลอง และการทดลองที่ 2 ศึกษาการเปลี่ยนแปลงกระบวนการบ่มจาก 2 ครั้งเป็น 1 ครั้ง จากการวิจัยพบว่าการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทั้งสองการทดลองสามารถเพิ่มปริมาณการผลิต แต่ต้องทำการแก้ไขฟิล์มต้นฉบับของผลิตภัณฑ์ก่อน เนื่องจากค่าการเปลี่ยนแปลงความยาวและความกว้างของแผ่นวงจรพิมพ์ไม่ได้ตามข้อกำหนดคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยทำการแก้ไขฟิล์มต้อนฉบับจากทางแผนกออกแบบผลิตภัณฑ์แล้วนำมาทำการทดสอบและยืนยันคุณภาพของผลิตภัณฑ์อีกครั้งก่อนนำไปใช้งานจริงในกระบวนการผลิตแผ่นวงจรพิมพ์ จากนั้นจึงทำการควบคุมปัจจัยนำเข้าที่สำคัญทั้งสี่ด้วยกระบวนการเชิงสถิติในขั้นตอนการควบคุมกระบวนการ จากข้อมูลหลังการปรับปรุงกระบวนการผลิตพบว่าปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 3,830 ล็อตต่อเดือน ซึ่งคิดเป็น 70.98 เปอร์เซ็นต์ และงานรอผลิตของกระบวนการบ่มลดลงด้วย โดยเลือกการทดลองการเปลี่ยนแปลงการบ่มจาก 2 ครั้งเป็น 1 ครั้ง ไปใช้งานจริงในกระบวนการบ่ม
Other Abstract: The objective of this research is to improve the production capacity by studying curing process which is he bottle neck of the production process. The statistical methodology is used in identifying the influence factors affected this process. The product properties after improvement must be within the required specifications in term of : %dimension stability changing, peel strength, solder heat resistance, cross section and electricity resistance. The production performance indicator is measured by the number of the production quatity in lot unit which is currently current process has 2,240 lots per month. The study has been proceeded according to five-phase improvement models of statistical methodology: define phase, measuring phase, analyzing phase, improving phase and controlling phase respectively. Two experiments are carried out during the improving phase. First experiment is the study of curing structure changing at 2[superscript nd] Curing process by using Design of Experiment (DOE). And second experiment is the study one time curing from two time curing. The result of process both study can be used for production improvement in Curing process but the dimension of the master film of product has to be changed in order to meet the product specification. After master film compensating, implementation must be ensure of the conformance with control process by statistical process control. After the improvement, the production capacity is 3,830 lots per month which is about 70% increase in production and the waiting time of work in process is reduced, also.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14434
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.809
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.809
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phornrat.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.