Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14515
Title: | การพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา |
Other Titles: | Development of indicators for an educational quality assurance performance appraisal of education service areas |
Authors: | วันเพ็ญ ผ่องกาย |
Advisors: | ศิริชัย กาญจนวาสี สุวิทย์ มูลคำ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sirichai.K@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ประกันคุณภาพการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา การบริหารการศึกษา |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรในเขตพื้นที่ การศึกษา และ 2. ประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ในเขตพื้นที่การศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มตัวอย่างสำหรับพัฒนาและ ปรับปรุงตัวบ่งชี้ในการทดสอบภาคสนาม 2. กลุ่มตัวอย่างสำหรับการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ 3. กลุ่มตัวอย่างสำหรับทดลองวัดผลการปฏิบัติงานและ 4. กลุ่มตัวอย่างสำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงาน ของบุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์หรือ เดินทางไปเก็บข้อมูลด้วยตนเองตามความเหมาะสม เครื่องมือในการวิจัยที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีจำนวน 3 ชุด สำหรับผู้บริหารในเขตพื้นที่การศึกษาประเมินตนเอง สำหรับบุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษาประเมิน ตนเองและประเมินเพื่อนร่วมงาน และสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประเมินบุคลากร ในเขตพื้นที่การศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับประเมินผลการปฏิบัติงานของ บุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษาจำนวน 84 ตัวบ่งชี้ โดยแยกเป็นตัวบ่งชี้สมรรถนะการปฏิบัติงาน ตัวบ่งชี้ กระบวนการปฏิบัติงาน และตัวบ่งชี้ผลสำเร็จการปฏิบัติงาน โดยตัวบ่งชี้ทั้งหมดมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 83.33-100% และมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความหมาะสมในเนื้อหา (จากการให้คะแนน 1-5 คะแนน ตาม Likert scale) ระหว่าง 4.08-5 คะแนน และมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ระหว่าง 3.84-4.91 คะแนน โดยตัวบ่งชี้สมรรถนะที่ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับมาตรฐาน การศึกษาและ วิธีการจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อให้ได้มาตรฐาน ตัวบ่งชี้กระบวนการที่ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการจัดทำแผนงานและแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ตัวบ่งชี้ผลสำเร็จการปฏิบัติงานที่ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือ มีนโยยาย แผนงานและรูปแบบการประกัน คุณภาพการศึกษาที่ชัดเจนให้สถานศึกษานำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงาน 2. ผลการประเมินผลการ ปฏิบัติงานของบุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษา พบว่า ทุกเขตพื้นที่การศึกษามีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง โดยมีคะแนนผลการปฏิบัติงานสูงสุดคือ ด้านสมรรถนะการปฏิบัติงาน รองลงมาคือด้านกระบวนการและ ผลสำเร็จในการปฏิบัติงานตามลำดับ ข้อเสนอแนะในการวิจัย คือ เขตพื้นที่การศึกษาต่างๆ ควรนำตัวบ่งชี้สำหรับประเมินผลการปฏิบัติงานและเครื่องมือวิจัย (แบบประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษา) ไปใช้เป็นแนวทางในการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษาของตนโดยปฏิบัติตามคำชี้แจงในคู่มือซึ่งแนะนำวิธีการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์และแปลผลไว้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะช่วยให้เขตพื้นที่การศึกษาสามารถประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเองและปรับปรุงข้อบกพร่องต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่อง อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาผลการปฏิบัติงานของเขตพื้นที่การศึกษาให้ยั่งยืนต่อไป. |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1. to develop indicators for performance appraisal on educational quality assurance of officials of the Educational Service Areas. 2. to evaluate the educational quality assurance performance of the officials of the Educational Service Areas. Samples were divided into 4 groups. First, group for developing and improving indicators in 2 Educational Service Areas. Second, group of 32 oficials for tool-testing in 6 Educational Service Areas. Third, group for an evaluation of effectiveness of performance on educational quality assurance in 2 Education Service Areas. And fourth, group of 90 officials for performance appraisal on educational quality assurance in 10 Educational Service Areas. The instruments used in this study were focus group, interviews, and questionnaires. Descriptive statistics, i.e. frequences, means and standard deviations are used to analyze data. Content analysis also used to analyze qualitative data. The findings of this study were as follows: 1. The indicators for performance appraisal on educational quality assurance of officials of the Educational Service Areas were characterized into 53 competency indicators, 14 process indicators and 17 output indicators. 2. The Results of Evaluating Performance of officials of the Educational Service Areas revealed that the overall performance of officials of the Educational Service Areas was at high level. Among the three aspects of evaluation, operating competency ranked first, while those of process and output ranked second and third, respectively. The suggestions were that all Educational Service Areas can apply these developed indicators and instrument of this research to evaluate the effectiveness of educational quality assurance performance of the officials of the Educational Service Areas. These will improve and develop their organization capability for sustainable in the long run |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14515 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1262 |
ISBN: | 9741426143 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1262 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wanpen.pdf | 3.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.