Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14555
Title: | ความซ้ำซ้อนของกฎหมายการตรวจสอบสภาพอาคารโรงงาน |
Other Titles: | Redundancy by the law of factory audit |
Authors: | รัฐพล พัฒนศิริ |
Advisors: | ไตรวัฒน์ วิรยศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | vtraiwat@chula.ac.th |
Subjects: | กฎหมายโรงงาน อาคารอุตสาหกรรม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความซ้ำซ้อนของกฎหมายการตรวจสอบสภาพอาคารโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นเนื่องจาก โรงงานอุตสาหกรรมมีความเกี่ยวข้องและถูกกำกับดูแลด้วยกฎหมายหลายฉบับ อาทิเช่น พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพิจารณาความซ้ำซ้อนของกฎหมายการตรวจสอบสภาพอาคารโรงงานและความคิดเห็นของผู้ประกอบกิจการโรงงาน โดยมีขอบเขตในการศึกษาเฉพาะ กลุ่มอุตสาหกรรมโลหะเครื่องจักรกล ยานยนต์ และมีพื้นที่ ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตร ในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี วิธีการศึกษา โดยการแยกประเด็นความซ้ำซ้อนจากกฎหมายฉบับต่าง ๆ เป็นรายประเด็น และใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล เป็นแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา จากการศึกษาเบื้องต้น พบว่า ประเด็นหลักในการตรวจสอบสภาพอาคารโรงงานที่มีความซ้ำซ้อน มีจำนวน 38 ประเด็น โดยความซ้ำซ้อนที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจาก อำนาจหน้าที่ ที่กฎหมายบัญญัติไว้ แตกต่างกัน จากหลายหน่วยงาน ส่งผลให้ผู้ประกอบกิจการต้องรับการตรวจสอบสภาพอาคารโรงงานจากหน่วยงานต่างๆ ที่อาจซ้ำซ้อนกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โรงงานที่มีขนาดเงินทุนรวมมากกว่าและมีจำนวนแรงงานมากกว่า จะมีแนวโน้มของระดับความคิดต่อความซ้ำซ้อนของกฎหมายการตรวจสอบสภาพอาคารโรงงานว่า เป็นผลดีต่อองค์กร สูงกว่า โรงงานที่มีขนาดเงินทุนน้อยกว่า และมีจำนวนแรงงานน้อยกว่า จากการทดสอบสมมติฐานค่าสถิติระหว่างผู้ที่ทราบและผู้ที่ไม่ทราบว่ามีความซ้ำซ้อนของกฎหมายการตรวจสอบสภาพอาคารโรงงาน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนภาพรวมความคิดเห็นของผู้ประกอบกิจการ เห็นว่า ความซ้ำซ้อนของกฎหมายการตรวจสอบสภาพอาคารโรงงานเป็นผลดีต่อการดำเนินกิจการของโรงงาน จากการศึกษาในครั้งนี้ สรุปได้ว่า แม้ว่าความซ้ำซ้อนของกฎหมายการตรวจสอบสภาพอาคารโรงงานจะก่อให้เกิดปัญหาบางประการต่อการดำเนินกิจการของโรงงาน แต่ความซ้ำซ้อนของกฎหมายการตรวจสอบสภาพอาคารโรงงานก็ยังเป็นผลดีต่อการดำเนินกิจการโรงงานโดยรวม ในด้านลดความเสี่ยงของผู้ประกอบกิจการ |
Other Abstract: | Redundancies resulting from a factory audit law stems from factory controls and audits in accordance with many acts such as the Building Control Act. B.E.2522, Factories Act, B.E. 2553, National Promotion and conservation of Environment Quality Act, B.E.2535, City Plan Act, B.E.2518, Labour Protection Act, B.E.2541, Public health Act, B.E.2535, Hazardous Substances Act, B.E.2535 and Machinery Registration Act, B.E. 2514. The objects of this thesis are to investigate redundancy as a consequence of the factory audit law and factory owner’s opinions on the matter. The scope will be restricted to the Metal and Automobile industry covering an area greater than 5,000 m[superscript2] in Pathumthani province. The study categorizes the factory’s facilities from the relevant legislation and collects the data through questionnaire. Descriptive statistics were used to summarize quantitative data. After this exploratory study, there were found to be 38 issues affecting the main factory’s facility in its dealing with the redundancy law. There was redundancy because of the power of government officials who imposed the audits on the factories. There was a rise in positive thinking among owners of factories with higher capital and labour as concerns redundancy by factory audit law. The hypothesis test indicated no difference between the group who know about the legal redundancies and the group who do not know about them with the significance. The perspective provided by opinions on such legal redundancy is beneficial. Results from this study revealed that even if the factory owners have some trouble caused by the redundancy law of the factory audit, they still get the benefit of risk protection. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14555 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.527 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.527 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ruttapon_pu.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.