Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14675
Title: The determination of the average patient skin dose and its factors affecting in cardiac catheterization procedures
Other Titles: การหาปริมาณรังสีเฉลี่ยที่ผิวหนังผู้ป่วยและปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณรังสีจากการตรวจสวนหัวใจ
Authors: Phattanapong Saenchon
Advisors: Anchali Krisanachinda
Somjai Wangsuphachart
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Medicine
Advisor's Email: Anchali.K@Chula.ac.th
Somjai.W@Chula.ac.th
Subjects: Cardiac catheterization
Hides and skins -- Effect of radiation on
Issue Date: 2006
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The patient dosimetry for cardiac catheterization and in this study were determined using Dose Area Product (DAP) method. The skin dose was calculated from DAP meter readout and information from portal film determination. The proposed potential factors affecting patient dose are fluoroscopic time, kVp, mAs, patient BMI, number of frames and experience of the cardiologists. The measurement was carried out from 73 patients who underwent the cardiac catheterization procedures such as Diagnostic Coronary Angiography (DCA), Cardiac intervention; Percutaneous Transluminal Coronary Angioplasty (PTCA) /stent and cardiac radiofrequency (RF) ablation at King Chulalongkorn Memorial Hospital. The result shows the average patient skin dose from DCA was 9.52 cGy (95 % confident interval (CI) : 8.39-14.24) in tube A (Postero-Anterior) and 18.67 cGy (95 % CI : 13.97-23.85) in tube B (Lateral), PTCA/stent was 35.95 cGy (95 % CI: 24.50-49.92) in tube A and 85.42 cGy (95 % CI: 40.75-132.96) in tube B. For cardiac RF ablation the average patient skin dose was 64.82 cGy (95 % CI: 42.27-87.43) for single plane. Factors influencing the patient skin dose in this study were fluoroscopic time, kVp, mAs and number of frames. The patient skin dose is more dependent on the fluoroscopic time than other factors especially from DCA, PTCA/stent and RF ablation which the correlation (r is 0.60, 0.83, 0.90, 95% CI : 2.41-8.19, 3.07-6.03, 1.54-2.52, p-value < 0.05) respectively. The average patient skin doses in this study were less than threshold dose of skin injury (2 Gy). Only two patients received the dose higher than the threshold dose (2.12, 4.51 Gy) from cardiac RF ablation and cardiac interventional studies respectively. The benefits of this study are the record and the establishment of the patient skin dose in order to protect the patient from skin injury and increase the cardiologist's awareness for cardiac catheterization procedure.
Other Abstract: การหาปริมาณรังสีเฉลี่ยและปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณรังสีในผู้ป่วยตรวจสวนหัวใจ โดยใช้แดพมิเตอร์ปริมาณรังสีที่ผิวหนังผู้ป่วยคำนวณได้จากค่าที่อ่านได้จากแดพมิเตอร์และพื้นที่บนผิวหนังที่ได้รับรังสี จากการใช้พอร์ทอลฟิล์ม ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อปริมาณรังสีประกอบด้วย เวลาที่ใช้ในการตรวจขณะที่ใช้รังสี ความหนาแน่นมวลกายของผู้ป่วย ค่าเควีพี ค่าเอ็มเอเอส ประสบการณ์ของแพทย์ผู้ทำการตรวจรักษา และจำนวนเฟรม โดยได้ทำการศึกษาจากผู้ป่วยที่มารับการตรวจสวนหัวใจจำนวน 73 ราย ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย ผลการศึกษาพบว่าปริมาณรังสีเฉลี่ยที่ผิวหนังของผู้ป่วยที่ได้รับจากการตรวจโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยรังสี (DCA) มีค่า 9.52 เซนติเกรย์ (95 % CI : 8.39-14.24) ในท่าตรง (PA) และ 18.67 เซนติเกรย์ (95 % CI : 13.97-23.85) ในท่าด้านข้าง (Lateral) ปริมาณรังสีเฉลี่ยจากการตรวจรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจพร้อมการใส่สเตนท์ (PTCA/stent) มีค่า 35.95 เซนติเกรย์ (95 % CI : 24.50-49.92) ในท่าตรง และ 85.42 เซนติเกรย์ (95 % CI : 40.75-132.96) ในท่าด้านข้าง ค่าปริมาณรังสีเฉลี่ยจากการตรวจ RF ablation 64.82 เซนติเกรย์ (95 % CI : 42.27-87.43) ในหลอดท่าตรง และจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณรังสีผู้ป่วยได้รับกับปัจจัยต่างๆ พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณรังสีประกอบด้วย เวลาที่ใช้ในการตรวจขณะที่มีการใช้รังสี ค่าเควีพี ค่าเอ็มเอเอส และจำนวนเฟรม และพบว่าเวลาที่ใช้ในการตรวจขณะที่มีการใช้รังสี จะมีความสัมพันธ์กับปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับสูง ที่ค่า r เท่ากับ 0.60, 0.83, 0.90 (95 % CI : 2.41-8.19, 3.07-6.03, 1.54-2.52 และ p-value น้อยกว่า 0.05) จากการตรวจ DCA PTCA/stent และ RF ablation ตามลำดับ การศึกษานี้พบว่าค่าปริมาณรังสีเฉลี่ยที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจสวนหัวใจมีค่าน้อยกว่า 2 เกรย์ ซึ่งเป็นค่าปริมาณรังสีที่จะก่อให้เกิดผิวหนังเป็นผื่นแดง และพบว่ามีผู้ป่วยจำนวน 2 รายที่ได้รับปริมาณรังสีเฉลี่ยที่ผิวหนังเกินระดับที่กำหนดคือ จากการตรวจและรักษาโดยวิธี RF ablation และ PTCA/STENT ปริมาณรังสีเฉลี่ยคือ 2.12 และ 4.51 เกรย์ ตามลำดับ ประโยชน์จากการศึกษานี้เป็นการรายงานถึงปริมาณรังสีเฉลี่ยที่ผู้ป่วยได้รับในการตรวจรักษา เพื่อเป็นการสร้างความตระหนัก ให้แพทย์ผู้ทำการตรวจและผู้ที่เกี่ยวข้องให้คำนึงถึงปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับและปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณรังสี เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่จะก่อให้เกิดอันตรายจากรังสีแก่ผู้ป่วยในการตรวจสวนหัวใจ
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2006
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Medical Imaging
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14675
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1865
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1865
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phattanapong_Sa.pdf19.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.