Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14767
Title: การเปรียบเทียบความตรงเชิงทำนายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับปริญญาตรีที่ควบคุมปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับเชาวน์ปัญญา โดยใช้คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับและไม่ได้รับการปรับเทียบเป็นเกณฑ์
Other Titles: A comparison of predictive validity of undergraduate achievement, controlling intelligence-free factor using an equate and non equate secondary school grade point average criterion
Authors: อัมพิกา อูปแก้ว
Advisors: เอมอร จังศิริพรปกรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Aimorn.J@Chula.ac.th
Subjects: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
คะแนนเฉลี่ยสะสม
นักศึกษาบัณฑิต -- ระดับสติปัญญา
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ไม่ได้รับการปรับเทียบ และได้รับการปรับเทียบด้วยวิธีปรับคะแนนเฉลี่ยสะสม 3 วิธี คือ วิธีปรับคะแนนเฉลี่ยสะสมอีควิเปอร์เซ็นไทล์ (equipercentile method) วิธีปรับคะแนนเฉลี่ยสะสมเชิงเส้นตรงตาม design IV C-2 ของ Angoff และ วิธีปรับคะแนนเฉลี่ยสะสมโดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ ภายใต้ graded response model (IRT GRM) กับ ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนระดับปริญญาตรีที่ควบคุมปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับเชาวน์ปัญญา และเปรียบเทียบความตรงเชิงทำนายของผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนระดับปริญญาตรีที่ควบคุมปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับเชาวน์ปัญญา ระหว่าง คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับ และไม่ได้รับการปรับเทียบ กลุ่มตัวอย่าง คือนิสิต/นักศึกษาชั้นปี 1 ในปีการศึกษา 2548 ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 1,369 คน ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัย คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับ ปริญญาตรี ข้อมูลจากแบบสอบถามเกี่ยวกับเพศ รายได้ของครอบครัว แรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ การร่วมกิจกรรมในมหาวิทยาลัย และ ทัศนคติต่อมหาวิทยาลัย สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับศึกษาตอนปลายที่ไม่ได้รับการปรับเทียบ และได้รับการปรับเทียบด้วยวิธีอีควิเปอร์เซ็นไทล์ (equipercentile method) วิธีเชิงเส้นตรงตาม design IV-C2 ของ Angoff และวิธีใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบภายใต้ graded response model (IRT-GRM) มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับปริญญาตรีที่ควบคุมปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับชาวน์ปัญญา อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการเปรียบเทียบความตรงเชิงทำนายพบว่า คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับการ ปรับเทียบด้วยวิธีปรับคะแนนเฉลี่ยสะสมทั้ง 3 วิธี มีความตรงเชิงทำนายสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ไม่ได้รับ การปรับเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับการปรับด้วยวิธีอีควิเปอร์เซ็นไทล์ (equipercentile method) และวิธีเชิงเส้นตรงตาม design IV-C2 ของ Angoff มีความตรงเชิงทำนายสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยสะสมที่ได้รับ การปรับด้วยวิธีใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบภายใต graded response model (IRT-GRM) และทั้งสองวิธีมีความตรงเชิงทำนายไม่ แตกต่างกัน.
Other Abstract: The main purposes of this study were to analyze the correlation between equate and non equate secondary school grade point average by using 3 methods namely; equipercentile method, Angoffs linear method design IV-C2, IRT grade response model and the undergraduate achievement, controlled non related intelligence factors. After that compare the predictive validity of the undergraduate achievement, controlled non related intelligence factors by using equate and non equate secondary school grade point average criterion. The sample of this study was 1,369 students in the first year, 2005 academic year of the public universities, i.e. Chulalongkorn, Thamasat, Kasetsart, Mahidol, Srinakarinwirot. The data were secondary school grade point average, entrance examination score, the information from the non related intelligence factors and the first year of the university GPA. The results were as follow : 1. The secondary school grade point average which non equate and equate by using equipercentile method, Angoff linear method design IV-C2, IRT grade response model correlated with the undergraduate achievement, controlled non related intelligence factors significantly at .05 statistical level. 2. The comparison of the prediction showed that the equate secondary school grade point average had higher predictive validity than non equate secondary school grade point average significantly at .05 statistical level. The comparison of the predictive validity among secondary school grade point average by using 3 methods had been found that the equipercentile method and Angoff linear method design IV-C2 yielded higher predictive validity than IRT grade response model, and which were equal.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14767
ISBN: 9741417705
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amphika.pdf11.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.