Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14780
Title: | การศึกษาและวิเคราะห์สภาพการใช้แบบสอบอัตนัยในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
Other Titles: | A study and analysis of the state of using essay type test in learning measurement and evaluation of students in basic education |
Authors: | จุฑา ธรรมชาติ |
Advisors: | ศิริเดช สุชีวะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Siridej.S@Chula.ac.th |
Subjects: | การประเมินผลทางการศึกษา ข้อสอบอัตนัย การเรียนรู้ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์สภาพการใช้แบบสอบอัตนัยในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจำแนกตามขนาดของโรงเรียน ช่วงชั้น และกลุ่มสาระการเรียนรู้ 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของสภาพการใช้แบบสอบอัตนัยในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนระหว่างขนาดโรงเรียน ช่วงชั้น และกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน และ 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการใช้แบบสอบอัตนัยในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการวิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยวิธีการผสม 2 วิธี คือ 1) การรายงานตนเองของครู มีกลุ่มตัวอย่างเป็นครูที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 1,369 คน และ 2) การศึกษาข้อมูลภาคสนามแบบพหุกรณีศึกษา ในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดสระแก้ว รวม 7 โรง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบตรวจสอบรายการประเมินหลัก ซึ่งมี 2 องค์ประกอบ คือ 1) ลักษณะการใช้แบบสอบอัตนัย และ 2) ลักษณะของแบบสอบอัตนัยที่ใช้ มีจุดตรวจสอบทั้งหมด 26 จุด รวม 152 ข้อรายการ เครื่องมือมีความเที่ยงแบบวัดซ้ำทั้งฉบับเท่ากับ .87 ความเที่ยงแบบ วัดซ้ำขององค์ประกอบลักษณะการใช้แบบสอบอัตนัยมีค่าเท่ากับ .81 และองค์ประกอบลักษณะของแบบสอบอัตนัยที่ใช้มีค่าเท่ากับ .88 ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เนื้อหาด้วยโปรแกรม Atlas.ti 5.2 ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูในโรงเรียนส่วนใหญ่มีลักษณะการใช้แบบสอบอัตนัยและการปฏิบัติตามลักษณะของแบบสอบอัตนัยน้อยไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน ช่วงชั้นต่างกัน และกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างกัน 2. ครูช่วงชั้นต่างกันและกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างกันจะมีความครอบคลุมในการใช้แบบสอบอัตนัยตามวัตถุประสงค์การวัดและประเมินผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ครูโรงเรียนขนาดต่างกันและกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างกันจะมีความหลากหลายของผลย้อนกลับที่ให้แก่ผู้เรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ครูโรงเรียนขนาดต่างกันจะมีความหลากหลายของรูปแบบการให้ผลย้อนกลับแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ครูโรงเรียนขนาดต่างกัน ช่วงชั้นต่างกัน และกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างกัน จะใช้คำถามครอบคลุมตามสมรรถภาพของผู้เรียนที่มุ่งวัดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ปัญหาและอุปสรรคในการใช้แบบสอบอัตนัยของครูส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากผู้เรียนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 72.42 รองลงมาเกิดจากการตรวจของครู คิดเป็นร้อยละ 24.45 และเกิดจากข้อสอบน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 3.13 โดยครูมีแนวทางพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาที่ผู้เรียนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 43.83 รองลงมาเป็นการแก้ไขที่วิธีการนำแบบสอบอัตนัยไปใช้ คิดเป็นร้อยละ 35.80 แก้ไขที่กระบวนการตรวจ คิดเป็นร้อยละ 16.51 และแก้ไขที่ตัวครูน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 3.86. |
Other Abstract: | The purposes of this research aimed 1) to study and analyze the state of using essay type test in learning measurement and evaluation of students in basic education with different school sizes, key stages, and learning strands, 2) to compare the differences of the states of using essay type test in learning measurement and evaluation of students with different school sizes, key stages, and learning strands, and 3) to study the problems and obstacles of using essay type test in learning measurement and evaluation of students in basic education. This research was a survey research mixing two methods of teachers’ self - report and multi - site cases study. Participants were 1,369 teachers selecting based on multi - stage random sampling. Multi - site cases study were taken places in 7 schools in Bangkok and Sakaeo. The research instrument was the Key Evaluation Checklist (KEC) consisting of two factors, i.e. the characteristic of using essay type test and the characteristic of used essay type test with 26 checkpoints - 152 items. The test - retest reliability of the research instrument was .87. The test - retest reliability of the characteristic factor of using essay type test was .81 and the test - retest reliability of the characteristic factor of used essay type test was .88. Descriptive statistics, analysis of variance, and content analysis employing Atlast.ti 5.2 were used to analyze the collected data. The main findings were as follows: 1) Most of teachers with different school sizes, key stages, and learning strands had low characteristics of using essay type test and practice based on essay type test. 2) The cover of using essay type test based on measurement and evaluation objectives of teachers with different key stages and learning strands was different at .05 level of statistical significance. The variety of feedbacks of teachers with different school sizes and learning strands was different at .05 level of statistical significance.The variety of feedback patterns of teachers with different school sizes was different at .05 level of statistical significance.The use of questions in essay type test covering the measurement of learner competencies of teachers with different school sizes, key stages and learning strands was different at .05 level of statistical significance. 3) Most of the problems and obstacles in using essay type test of teachers were happened from the learners (72.42%), followed by the correction of teachers (24.45%), and less of them was happened from the items (3.13%), respectively. Most of teachers had the guidelines to develop or solve the problems for learners (43.83%), followed by the correction of using essay type test method (35.80%), the correction of examining process (16.51%), and less of teachers had the correction of themselves (3.86%), respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14780 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.639 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.639 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.