Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14810
Title: การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครโดยใช้เทคนิคดีอีเอ
Other Titles: An analysis of the educational management efficiency of Bangkok metropolis schools using the DEA technique
Authors: สนธยา พูนไธสง
Advisors: สุวิมล ว่องวาณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Suwimon.W@chula.ac.th
Subjects: โรงเรียน -- การบริหาร
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ เปรียบเทียบและนำเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 391 โรงเรียน ใน 3 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารและงบประมาณ 2)ด้านบุคลากร และ 3) ด้านสภาพแวดล้อมของนักเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนและบุคลากรสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลจากผู้อำนวยการโรงเรียนและข้อมูลสารสนเทศที่เผยแพร่ทางเอกสารและอินเทอร์เนต ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคดีอีเอโดยใช้โปรแกรม Frontier Analyst ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการศึกษาด้านการบริหารและงบประมาณ พบว่า โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมีค่าประสิทธิภาพอยู่ระหว่าง 80.77-100.00% โดยมีโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ 100 % จำนวน 45 โรงเรียน (ร้อยละ 11.50) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาโดยการลดปัจจัยป้อนพบว่า ปัจจัยที่มีขนาดการปรับลด โดยเฉลี่ยมากที่สุดคือ งบประมาณทางการศึกษา ร้อยละ 37.56 รองลงมาคือ ปัจจัยป้อนจำนวนครูต่อห้อง ร้อยละ 10.24 และจำนวนชั่วโมงสอนของครูต่อสัปดาห์ ร้อยละ 6.25 ตามลำดับ ส่วนผลการวิเคราะห์การเพิ่มประสิทธิภาพโดยการเพิ่มปัจจัยผลผลิต พบว่าขนาดการปรับเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาโดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 11.96 และขนาดการปรับเพิ่มร้อยละของผู้เรียนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 10.15 2. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการศึกษาด้านบุคลากร พบว่า โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมีค่าประสิทธิภาพอยู่ระหว่าง 80.69-100.00% โดยมีโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ 100% จำนวน 81 โรงเรียน (ร้อยละ 20.71) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาโดยการลดปัจจัยป้อน พบว่า ปัจจัยที่มีขนาดการปรับลดโดยเฉลี่ยมากที่สุดคือ จำนวนครั้งของการใช้สื่อการสอนต่อสัปดาห์ ร้อยละ 41.42 รองลงมาคือ ปัจจัยป้อนจำนวนชั่วโมงที่ครูได้รับการอบรมพัฒนาต่อปี ร้อยละ 39.17 และจำนวนชั่วโมงที่ครูปฏิบัติหน้าอื่นที่เกี่ยวข้องกับการสอน ร้อยละ 31.02 ตามลำดับส่วนผลการวิเคราะห์การเพิ่มประสิทธิภาพโดยการเพิ่มปัจจัยผลผลิต พบว่าขนาดการปรับเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาโดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 11.13 และขนาดการปรับเพิ่มร้อยละของผู้เรียนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 9.76 3. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการศึกษาด้านสภาพแวดล้อมของนักเรียน พบว่า โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมีค่าประสิทธิภาพอยู่ระหว่าง 81.18-100.00% โดยมีโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ 100% จำนวน 83 โรงเรียน(ร้อยละ 21.22) แนวทางการปรับเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาโดยการลดปัจจัยป้อน พบว่า ปัจจัยที่มีขนาดการปรับลดโดยเฉลี่ยมากที่สุดคือ อัตราส่วนพื้นที่ห้องต่อนักเรียน ร้อยละ 36.42 รองลงมาคือ จำนวนหนังสือต่อนักเรียนร้อยละ 23.26 และจำนวนคอมพิวเตอร์ต่อนักเรียน ร้อยละ 22.30 ตามลำดับ ส่วนผลการวิเคราะห์การเพิ่มประสิทธิภาพ โดยการเพิ่มปัจจัยผลผลิต พบว่า ขนาดการปรับเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาโดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ11.53 และขนาดการปรับเพิ่มร้อยละของผู้เรียนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 12.25 4. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการศึกษาโดยภาพรวม พบว่า จำนวนโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพการจัดการศึกษาทั้ง 3 ด้าน มีจำนวน 19 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 4.86 ของโรงเรียนทั้งหมด
Other Abstract: The Purposes of this research were to analyze, compare and show the potential directions for improving the inefficiency of 391 Bangkok metropolis schools about 1.) The expenditure and administration. 2) The teaching and administrative staff and 3) The student’s environment. Data were collected by data recoding from the school administrators and from the Department of education, Bangkok metropolis. They were analyses using descriptive statistic and Frontier Analyst program. The research finding were as follows: 1. The estimated efficiency score of 391 bangkok metropolis schools in the expenditure and administration ranged from 80.77 to 100.00 %. The number of efficiency school were 25 schools (11.50%). The 346 inefficiency schools require an improvement by reducing input; number of expenditure (37.56%), teacher per room 10.24% and teacher hours (6.25%), or increasing output; total academic achievement (11.96%) and percent of student morality (10.15%). 2. The estimated efficiency score in the teaching and administrative staff ranged from 80.69 to 100.00 %. The number of efficiency school were 81 schools (20.71%). The 310 inefficiency schools require an improvement by reducing input; classroom area and student ratio (36.42%), number of book per student (23.26%) and number of computer per student (22.30%), or increasing output; total academic achievement (11.53%) and percent of student morality (12.25%). 3. The estimated efficiency score in the student’s environment ranged from 81.18 to 100.00 %. The number of efficiency school were 83 schools (21.22%). The 308 inefficiency schools require an improvement by reducing input; number of using teaching media per week (41.42%), teacher's training hour per year (39.17%) and teacher's overtime hour per week (31.02%), or increasing output ; total academic achievement (11.13%) and percent of student morality (9.76%). 4. The number of efficiency school with consisted of the expenditure and administration, the teaching and administrative staff and the student's environment were 19 schools (4.86 %).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14810
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.606
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.606
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sontaya_Po.pdf20.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.