Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14814
Title: ศักยภาพของผงแก้วในการเป็นปอซโซลาน
Other Titles: Potential of glass powder as pozzolan
Authors: ศุภนนท์ บรรจงเกลี้ยง
Advisors: บุญไชย สถิตมั่นในธรรม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fcebst@eng.chula.ac.th, Boonchai.S@chula.ac.th
Subjects: ปอซโซลาน
แก้ว
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาคุณสมบัติพื้นฐานของผงแก้วซึ่งเป็นวัสดุอสัณฐานโดยเน้นศึกษาปริมาณรีแอคทีฟซิลิกา จากนั้นศึกษาผลของผงแก้วต่อการพัฒนากำลังอัดและปริมาตรโพรงในมอร์ตาร์รวมทั้งความทนทานของคอนกรีต การวิจัยใช้ผงแก้วที่ได้จากการบดเศษขวดแก้วใสจนมีขนาดเล็กกว่า 38 ไมครอนในปริมาณอย่างน้อยร้อยละ 95 โดยน้ำหนัก ด้วยขนาดอนุภาคเฉลี่ยของผงแก้วเพียง 0.12 ไมครอน มีค่าพื้นที่ผิวจำเพาะจากเทคนิค BET สูงกว่าปูนซีเมนต์เป็น 1.42 ตารางเมตรต่อกรัม ประกอบกับมีปริมาณรีแอคทีฟซิลิการ้อยละ 40 ของน้ำหนักทั้งหมดสูงกว่าเถ้าลอยแม่เมาะซึ่งมีร้อยละ 35 ของน้ำหนักทั้งหมด จึงมีแนวโน้มที่ผงแก้วจะให้ศักยภาพในการเป็นปอซโซลานที่ดีกว่าเถ้าลอยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนากำลังอัดในระยะหลังผงแก้วสามารถจัดเป็นปอซโซลานเทียบเท่ามาตรฐาน ASTM C618ได้ และปฏิกิริยาปอซโซลานของผงแก้วซึ่งช่วยลดปริมาตรรวมทั้งความต่อเนื่องของโพรงในเพสต์ส่งผลดีต่อการพัฒนากำลังอัดและช่วยเพิ่มความทนทาน พบว่าผงแก้วช่วยพัฒนากำลังอัดทั้งในระยะต้นและระยะหลังโดยอัตราการเกิดปฏิกิริยาขึ้นกับสัดส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่ใช้ (w/b) ที่ w/b เป็น 0.5 ผงแก้วจะช่วยพัฒนากำลังอัดตั้งแต่ระยะแรกโดยให้กำลังอัดเทียบเท่ามอร์ตาร์ควบคุมที่ประมาณ 7 วัน และให้ดัชนีกำลังอัดสูงถึงประมาณร้อยละ 130 ที่ 91 วัน อีกทั้งผงแก้วช่วยเพิ่มความสามารถในการต้านทานการซึมผ่านของคอนกรีต โดยลดประจุคลอไรด์ที่ผ่านจาก 5,165 คูลอมบ์ที่ 7 วัน จนเหลือเพียง 750 คูลอมบ์ที่ 91 วัน ในขณะที่คอนกรีตไม่ผสมผงแก้วมีค่าประจุผ่านลดลงเล็กน้อยจาก 4,960 คูลอมบ์ที่ 7 วัน เหลือ 4,745 คูลอมบ์ที่ 91 วัน
Other Abstract: In this research, properties of amorphous glass powder (GP), especially amount of reactive silica, its strength development and pore volume of mortars and durability in concretes were studied. The GP were obtained by grounding clear glass bottle cullet in ball mill until at least 95% by weight of its particle size is smaller than 38 microns. It has 0.12 microns average particle diameter and 1.42 m[superscript 2]/g BET specific surface area. The GP has more reactive silica (40% by weight) than Mae Moe fly ash (35% by weight), which might introduce more pozzolanic character and especially gave more later strength. It can be treated as a pozzolanic material according to ASTM C618. Pozzolanic reaction of GP which could reduce volume of continuous pores in paste improved both strength and durability. GP could improve both early and later strength. Its pozzolanic reaction rate was depended on w/b ratio. At w/b = 0.5, GP could develop strength since early age. It gave slightly higher strength than control mortar at 7 days and gave strength activity indexes about 130% at 91 days. The GP could reduce permeability in concrete. It reduced passed charge greatly from 5,165 coulombs at 7 days to 750 coulombs at 91 days, while charge passed through control concrete was reduced slightly from 4,960 coulombs at 7 days to 4,745 coulombs at 91 days.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14814
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1353
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1353
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Subpanon_Ba.pdf11.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.