Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14815
Title: ผลของโปรแกรมการนวดโดยสามีต่อการลดความเจ็บปวดในระยะคลอดของหญิงครรภ์แรก
Other Titles: The effect of massage by husband program on pain reduction during labour of primiparas
Authors: สุดารัตน์ ภิรมย์นก
Advisors: สัจจา ทาโต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Sathja.T@Chula.ac.th
Subjects: การนวด
การคลอด
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการนวดโดยสามีต่อการลดความเจ็บปวดในระยะคลอดของหญิงครรภ์แรก โดยใช้ทฤษฎีการควบคุมประตู (Gate Control Theory) ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการนวดเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดในระยะคลอด กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงครรภ์แรกที่มาฝากครรภ์และคลอดบุตรที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 50 คน โดยจับคู่ให้มีความใกล้เคียงกันในเรื่อง ระดับการศึกษา และระดับสัมพันธภาพของหญิงตั้งครรภ์และสามี จัดกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยจับฉลากวันในหนึ่งสัปดาห์จนครบจำนวนกลุ่มละ 25 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการนวดโดยสามี เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการนวดโดยสามี ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม (Chang, 2002 ; สุภาพ ไทยแท้ และสัจจา ทาโต, 2548) ซึ่งประกอบด้วยการเตรียมสามีที่แผนกฝากครรภ์ 2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ และมีการทบทวนการนวดเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดในระยะคลอดอีก 1 ครั้ง เมื่อหญิงตั้งครรภ์เข้าสู่ระยะเจ็บครรภ์เข้ารับบริการที่ห้องรอคลอด ขณะเจ็บครรภ์สามีดำเนินการนวดในระยะปากมดลูกเปิดช้า ระยะปากมดลูกเปิดเร็ว และระยะเปลี่ยนผ่าน โดยมี แผนการสอน ภาพพลิก คู่มือการนวดและคู่มือการเตรียมสามีเป็นสื่อที่ใช้ในโปรแกรมการนวดโดยสามี เครื่องมือกำกับการทดลอง ได้แก่ แบบบันทึกการฝึกปฏิบัติการนวดโดยสามีและแบบประเมินการนวดเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินความเจ็บปวด Visual Analogue Scale วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย สถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความเจ็บปวดของหญิงครรภ์แรก ในระยะปากมดลูกเปิดช้า ระยะปากมดลูกเปิดเร็ว และระยะเปลี่ยนผ่าน หลังได้รับโปรแกรมการนวดโดยสามีต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการนวดโดยสามี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) 2. ค่าเฉลี่ยของผลต่างคะแนนความเจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิดช้า ระยะปากมดลูกเปิดเร็ว และระยะเปลี่ยนผ่านของกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับโปรแกรมการนวดโดยสามีต่ำกว่ากลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)
Other Abstract: The purpose of this quasi-experimental research was to examine the effect of massage by husband program on pain reduction during labour of primiparas. The conceptual framework of this study was based on the Gate Control Theory and related literature on massage to reduce pain during labour. Subject consisted of 50 primiparas, who attended prenatal clinic and were later admitted to labour unit of Surathani Hospital. They were equally assigned to experimental and control groups according to their prenatal days. Both groups were matched by education level and the level of their relationship. The control group received routine nursing care while the experimental group received the massage by husband program. Visual Analogue Scale (VAS) (reliability = .95) was used to measure pain level during labour. Data were analyzed using descriptive statistics, Independent t-test and dependent t-test. Major findings were as follow: 1. The mean score of pain level during the latent phase, active phase and transitional phase of primiparas after receiving the massage by husband program was significantly lower than before receiving the massage by husbands program (p<.001) 2.The mean score of pain reduction during the latent phase, active phase and transitional phase of primiparas in the experimental group receiving th massage by husband program was significantly lower than that of the control group (p<.001)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14815
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.940
ISBN: 9741434545
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.940
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sudarat_Ph.pdf4.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.