Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14818
Title: | ผลการใช้แบบแผนการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยต่อความสามรถในการดูแลทารกของมารดาทารกกลุ่มอาการหายใจลำบากและความพึงพอใจในงานของพยาบาล หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด |
Other Titles: | Effects of using discharge planning pattern on caring ability of respiratory distress syndrome infant patients' mothers and nurses job satisfaction, neonatal intensive care unit |
Authors: | สุพรรณี สุขสม |
Advisors: | สุวิณี วิวัฒน์วานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | suvinee@hotmail.com |
Subjects: | การรักษาทางเดินหายใจ การดูแลหลังคลอด บริการการพยาบาล -- ความพอใจของผู้ใช้บริการ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการจัดแบบแผนการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยทารกกลุ่มอาการหายใจลำบาก ศึกษาผลการวางแผน การจำหน่ายผู้ป่วย ต่อความสามารถในการดูแลของมารดาทารก ศึกษาผลการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยต่อ ความพึงพอใจในงานของพยาบาล หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด ก่อนและหลังการใช้แบบแผนการวางแผน การจำหน่ายผู้ป่วยทารกกลุ่มอาการหายใจลำบาก กลุ่มตัวอย่าง คือมารดาทารก ที่มารับการรักษา ในหอผู้ป่วยหนัก ทารกแรกเกิด จำนวน 30 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานประจำ หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาล เจริญกรุงประชารักษ์ จำนวน 16 คน กลุ่มมารดาทารก ได้จากการคัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่ กำหนด สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยวิธีจับคู่ เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างและพัฒนาแบบแผนการวางแผน การจำหน่ายมี 4 ชุด คือ โครงการการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยทารกกลุ่มอาการหายใจลำบาก แผนการสอนเรื่อง การพัฒนาคุณภาพการบริการ การวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยทารกกลุ่มอาการหายใจลำบาก และแบบทดสอบ ความรู้ของพยาบาล คู่มือการจัดแบบแผนการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วย และแผ่นพับ เรื่อง การดูแลทารกกลุ่ม อาการหายใจลำบาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 3 ชุด คือ แบบกำกับการทดลอง แบบประเมิน ความสามารถในการดูแลของมารดาทารก และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาล ซึ่งได้รับการตรวจสอบ ความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ของแบบสอบถามทั้ง 2 ชุด เท่ากับ .90 เท่ากัน วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าเฉลี่ยอันดับที่ ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ ทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ Wilcoxon Matched-Pair Signed – Rank Test และ Mann–Whitney U –Test ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. แบบแผน การวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยทารกกลุ่มอาการหายใจลำบาก หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด ประกอบด้วย แนวทาง และคู่มือการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วย แผ่นพับ เรื่อง การดูแลทารกกลุ่มอาการหายใจลำบาก และแบบกำกับ การปฏิบัติงาน 2. มารดาที่ได้รับการบริการพยาบาลโดยการใช้แบบแผนการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วย มีความ สามารถในการดูแลทารกกลุ่มอาการหายใจลำบาก สูงกว่ากลุ่มของมารดาที่ได้รับการบริการตามปกติ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจในงานของพยาบาล ก่อนและหลังการใช้แบบแผนการวางแผน การจำหน่ายผู้ป่วยทารกกลุ่มอาการหายใจลำบาก ไม่แตกต่างกัน |
Other Abstract: | The purposes of this quasi experimental research were to study the effects of using discharge planning pattern on caring ability of mother infant respiratory distress syndrome, nurses job satisfaction in neonatal intensive care unit. The research subjects consisted of 30 mothers infant, 16 professional nurse working in neonatal intensive care unit, Jaroenkungphacharak hospital. The patients and mother were randomly assigned to experimental group and control group by matched pair technique. Research instruments were a caring ability of patients' mothers infant, training program, guidelines of discharge planning, handbook of nursing practice, observation foam nursing practice, handbook of caring infant with respiratory distress syndrome. Research data obtained by questionnaires of caring ability of mother infant, nurses job satisfaction. The instruments were tested validity by 5 experts. The Cronbach's alpha coefficient of the questionnaires were .90 respectively. Statisical techniques used in data were median, quartile deviation, standard deviation, Wilcoxon matched pairs Singed - rank test and Mann – Whitney U test. Major result were as follows : 1. discharge planning pattern, guidelines for discharge planning, handbook of nursing practice and handbook of caring infant respiratory distress syndrome. 2. The caring ability of mother infant in experimental group was significantly higher than that of the control group at the .05 level. 3. The overalls nurses job satisfaction after before using discharge planning pattern of infant respiratory distress syndrome was not significantly. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบริหารการพยาบาล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14818 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1926 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1926 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supannee_Su.pdf | 14.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.