Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14834
Title: การศึกษาเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์ระหว่างนักเรียนที่มีแบบการเรียนต่างกัน
Other Titles: A comparison of critical thinking and creative thinking among students with different learning styles
Authors: ธนพร วีระเจริญกิจ
Advisors: เอมอร จังศิริพรปกรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Aimorn.J@Chula.ac.th
Subjects: ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ความคิดสร้างสรรค์
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และเปรียบเทียบลักษณะแบบการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) วิเคราะห์และเปรียบเทียบระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) เปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์ระหว่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีแบบการเรียนแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 417 คน ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยมี 3 ฉบับ ได้แก่ แบบรายงานตนเองเกี่ยวกับแบบการเรียนตามแนวคิดของ Anthony Grasha and Sheryl Riechmann แบบทดสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณและแบบทดสอบการคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย วิเคราะห์ค่า t-test [chi-square]-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ว่า 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีลักษณะแบบการเรียนทั้ง 6 แบบ โดยแบบการเรียนที่พบมากที่สุด คือ แบบการเรียนแบบหลีกเลี่ยง รองลงมา ได้แก่ แบบร่วมมือ แบบแข่งขัน แบบมีส่วนร่วม แบบพึ่งพาและแบบอิสระตามลำดับ เมื่อพิจารณาค่าสถิติทดสอบไค-สแควร์ของตัวแปรโรงเรียน เพศและระดับอายุ กับแบบการเรียน พบว่าตัวแปรโรงเรียน เพศและระดับอายุมีความสัมพันธ์กับแบบการเรียน 2) การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ส่วนใหญ่มีคะแนนอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์ ระหว่างนักเรียนที่มีตัวแปรภูมิหลังแตกต่างกัน พบว่า ค่าเฉลี่ยของการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพศหญิงมีค่าสูงกว่าเพศชาย การจำแนกตามระดับอายุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ตัวแปรการคิดอย่างมีวิจารณญาณไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนตัวแปรการคิดสร้างสรรค์ พบว่าแตกต่างกันโดยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีระดับอายุ 11-12 ปี มีการคิดสร้างสรรค์สูงกว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีระดับอายุ 13-15 ปี และ 3) ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุนามของตัวแปรการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่มีแบบการเรียนที่แตกต่างกัน พบว่า แบบการเรียนแบบร่วมมือมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์มากที่สุด ส่วนแบบการเรียนแบบหลีกเลี่ยงมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์น้อยที่สุด
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to analyse and compare the characteristic of learning styles among Prathom suksa six students. 2) to analyse and compare the level of critical thinking and creative thinking among Prathom suksa six students, and 3) to compare the critical thinking level and creative thinking level among Prathom suksa six students with different learning styles. The multi-stage sample consisted of 417 students in Prathom suksa six. The research instruments were 3 issues: a self-report on learning style was developed from Anthony Grasha and Sheryl Riechmann, critical thinking test and creative thinking test. Data analysis were descriptive statistics, T-test, [chi-square]-test and manova analysis using prepared computer program. The major findings were: 1) Prathom suksa six students had six learning styles. The most learning style was avoidant. Next were collaborative, competitive, participant, dependent and independent styles, respectively. The examination of [chi-square]-test with school, gender and age levels were related with learning styles. 2) Critical thinking and creative thinking scores were average. The comparison of average critical thinking and creative thinking with different backgrounds shown that female students in Prathom suksa six were higher than male students in Prathom suksa six. The students in Prathom suksa six with different age levels had no different critical thinking but creative thinking were different. Creative thinking in 11-12 years were higher than in 13-15 years. And 3) The manova analysis of critical thinking and creative thinking with different learning styles found that students collaborative learning style had critical thinking and creative thinking the most for instance students avoidant learning style had the least.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14834
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.654
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.654
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanaporn_Ve.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.