Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15306
Title: อิทธิพลของการสอนงานและการเอื้ออำนวยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติประยุกต์ทางพฤติกรรมศาสตร์ 1
Other Titles: Effects of mentoring and facilitation on learning achievement in applied statistics of behavioral sciences 1
Authors: เกรียงไกร คล้ายกล่ำ
Advisors: นงลักษณ์ วิรัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Nonglak.W@chula.ac.th
Subjects: สถิติประยุกต์ทางพฤติกรรมศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนงานสำหรับนิสิตที่ทำหน้าที่เป็นผู้สอนงานกับผู้เรียนงาน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเอื้ออำนวยและประเภทการสอนงานที่ต่างกัน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนตั้งต้นและอัตราการเปลี่ยนแปลงของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มที่มีการเอื้ออำนวยและประเภทการสอนงานต่างกัน มีแบบแผนการทดลองเป็นแบบแฟคทอเรียลขนาด 2X3 กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตระดับปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ลงทะเบียนรายวิชา 2758601 ในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2551 จำนวน 67 คน ซึ่งได้มาจากการเปิดรับอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ชุด ได้แก่ 1) แบบทดสอบวิชาสถิติประยุกต์ทางพฤติกรรมศาสตร์ 1 2) รูปแบบการสอนงาน ประกอบด้วย 2.1) คู่มือการใช้รูปแบบการสอนงาน 2.2) แบบการสอนสำหรับการสอนงาน 2.3) แผนการจัดการเรียนรู้ 2.4) เอกสารประกอบการสอนงาน และ 2.5) แบบตรวจสอบการจัดกระทำ ซึ่งได้เก็บรวบรวมข้อมูลระยะยาวจากการวัด 3 ครั้ง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์โมเดล โค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝง การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนาม ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสอนงานที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ 6 แผน สำหรับสาระการเรียนรู้ 6 เรื่อง แต่ละแผนมีเอกสารประกอบการสอนงาน แบบฝึกหัด และแบบสอบถามสำหรับตรวจสอบการจัดกระทำ โดยใช้เวลาในการสอนงานประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง กระบวนการสอนงานแต่ละครั้งมี 5 ขั้น คือ ขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นการสอนและการเรียนรู้ ขั้นการสรุปบทเรียน ขั้นการอภิปรายและการเสนอแนะแหล่งการเรียนรู้ต่อไป และขั้นการตอบแบบสอบถามตรวจสอบการจัดกระทำ 2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรการสอนงาน 3 กลุ่ม พบว่า ผู้เรียนงานในกลุ่มที่ได้รับการสอนงานแบบกลุ่มเล็กมีค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนงานแบบกลุ่มใหญ่และกลุ่มที่ไม่ได้รับการสอนงาน เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรการเอื้ออำนวย 2 แบบ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มที่ได้รับการเอื้ออำนวยแบบผสมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าการเอื้ออำนวยแบบเดี่ยวในกลุ่มที่ได้รับการสอนงานแบบกลุ่มเล็ก ส่วนกลุ่มที่ได้รับการสอนงานแบบกลุ่มใหญ่และกลุ่มที่ไม่ได้รับการสอนงานมีความแตกต่างกันในตัวแปรประเภทการสอนงานอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. การเปรียบเทียบคะแนนตั้งต้นและอัตราการเปลี่ยนแปลงของผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีการเอื้ออำนวยต่างกันมีค่าเฉลี่ยของคะแนนตั้งต้นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอัตราการเปลี่ยนแปลงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยที่การเอื้ออำนวยแบบผสมให้ค่าเฉลี่ยสูงกว่าการเอื้ออำนวยแบบเดี่ยว การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้เรียน พบว่า คะแนนตั้งต้นของกลุ่มที่มีการสอนงานมีค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอัตราการเปลี่ยนแปลงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยกลุ่มที่ได้รับการสอนงานแบบกลุ่มเล็กมีค่าเฉลี่ยอัตราการเปลี่ยนแปลงสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนงานแบบกลุ่มใหญ่และกลุ่มที่ไม่ได้รับการสอนงาน
Other Abstract: The 3 objectives of this research were 1) to develop the mentoring model for students being mentors and mentees, 2) to compare the learning achievement between groups of students having different techniques of mentoring and facilitation, and 3) to compare the initial levels and slopes of learning achievement between groups having different techniques of mentoring and facilitation in studying Applied Statistics to Behavioral Sciences 1. The research design was a 2X3 factorial design. The sample consisted of 67 Master’s Degree students registering in the course 2758601 in the second semester, Faculty of Education, Chulalongkorn University, all of whom volunteered to participate in this research. The 2 sets of research instruments were 1) the test for the course - Applied Statistics to Behavioral Sciences and 2) the mentoring model consisted of 5 instruments were 2.1) manual for mentoring, 2.2) mentoring model, 2.3) learning organizational plans, 2.4) supplemented documents for mentoring, and 2.5) questionnaire for the manipulation check. The longitudinal data were collected at 3 different times and analyzed using the analysis of latent growth curve model, ANOVA and MANOVA. The research results were as follows: 1. The developed mentoring model consisted of 6 learning organizational plans for 6 learning content areas, each of which included supplemented document, exercise and manipulation check questionnaire, and took approximately 1-2 hours for mentoring. The mentoring process for each session had 5 stages, namely: introduction, teaching and learning, conclusion of lesson, discussion and suggestion for further learning resources, and responding the manipulation check questionnaire. 2. The comparison of learning achievement to detect the effects of the 3 mentoring types indicated that the mentees receiving small group mentoring had higher learning achievement mean than those of the receiving large group mentoring and the groups receiving no mentoring. To detect the effects of 2 facilitating types, the comparison indicated that the group receiving mixed facilitating instruction had higher learning achievement mean than that of the group receiving single facilitating instruction. Those significant findings were found only in the group receiving small group mentoring, but not for the group receiving large group mentoring and the groups receiving no mentoring. 3. The comparisons of the initials and slopes of learning achievement between the groups receiving different facilitation revealed that the difference between initial score means was not statistically significant. Whereas the difference between slopes was statistically significant at .05. It was found that the group with mixed facilitating instruction had higher mean than the single facilitating instruction group. The comparisons of the initials and slopes of learning achievement between the groups receiving different mentoring types revealed non significant difference in the initial score means. Whereas the difference between slopes was statistically significant at .05. It was found that the group with small group mentoring had higher mean than the group with large group mentoring and the groups receiving no mentoring.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15306
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.228
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.228
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kriengkrai_kl.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.