Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15324
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง-
dc.contributor.authorจุฬาพร เหมวรรณวดีกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-06-27T09:26:20Z-
dc.date.available2011-06-27T09:26:20Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743329757-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15324-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการและปัญหา ของบุคลากรฝึกอบรมเกี่ยวกับความรู้จากฐานงานวิจัยด้านฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรฝึกอบรมภาครัฐ จำนวน 277 คน รัฐวิสาหกิจ จำนวน 126 คน และภาคเอกชน จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยเทคนิคเชฟเฟ และการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า : 1. หัวข้อหลักและหัวข้อย่อยเกี่ยวกับการฝึกอบรม ที่บุคลากรฝึกอบรมทั้ง 3 กลุ่มต้องการ เรียงตามลำดับความต้องการ ได้แก่ (1) ความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรม : การวิเคราะห์สภาพปัญหาในการปฏิบัติงานในหน่วยงาน ขั้นตอนและวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาความต้องการจำเป็น ในการฝึกอบรมและหัวข้อวิธีการประยุกต์ใช้เทคนิคต่างๆ ในการหาความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรม (2) หลักสูตรและโครงการฝึกอบรม : ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ เนื้อหาของหลักสูตร และโครงการฝึกอบรม แนวทางการพัฒนาหลักสูตรและโครงการฝึกอบรม และรูปแบบหลักสูตรและโครงการฝึกอบรม (3) การประเมินผลและติดตามผลการฝึกอบรม : รูปแบบการประเมินและติดตามผลการฝึกอบรม เกณฑ์ประเมินและติดตามผลการฝึกอบรม และเครื่องมือการประเมินติดตามผลการฝึกอบรม 2. บุคลากรฝึกอบรมส่วนใหญ่ ระบุความต้องการเกี่ยวกับองค์ประกอบของการวิจัยฝึกอบรมในระดับมาก ได้แก่ ความต้องการเครื่องมือวิจัยประเภทแบบสอบถาม การวิจัยปฏิบัติการ ศึกษาข้อมูลจากกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรม และขอบเขตพื้นที่ศึกษาวิจัยทั่วประเทศ 3. บุคลากรฝึกอบรม ระบุว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการวิจัยในระดับมาก 2 เรื่อง คือ ผลการวิจัยไม่สามารถที่จะช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที และจำนวนผลงานวิจัยด้านฝึกอบรมมีน้อยเกินไป 4. เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน มีความต้องการและมีปัญหาเกี่ยวกับ การวิจัยด้านฝึกอบรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการวิเคราะห์ค่าไคสแควร์ พบว่า เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมมีความต้องการแตกต่างกัน 23 เรื่อง ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวพบว่า บุคลากรฝึกอบรมมีความต้องการเกี่ยวกับ องค์ประกอบการวิจัยด้านฝึกอบรมแตกต่างกัน 8 เรื่อง และมีปัญหาเกี่ยวกับการวิจัยด้านฝึกอบรม 4 เรื่อง บุคลากรฝึกอบรมภาครัฐวิสาหกิจ มีปัญหามากกว่าบุคลากรฝึกอบรมจากภาครัฐและเอกชน.en
dc.description.abstractalternativeTo determine and to compare the perceived needs and problems for research based knowledge in training, as stated by training personnel. The samples were 277 government training officers, 126 public enterprise training officers and 180 private training officers. A survey instrument was employed to gather data. Descriptive statistics were used to analyze the data including frequency, percentage, X, S.D., one-way ANOVA, Sheffe method, and Chi-square test. The results revealved that: 1. The research topics and sub-topics for training personnel in rank order of needs were (1) training needs : analysis of performance problems in organization, process and methods for training needs assessment, and methods for implementing needs; (2) curriculum and training project : an appropriate objectives and content, guidelines for developing curriculum and training project, and a model of curriculum and training project, (3) training evaluation and follow-up study : a model of training evaluation and follow-up study, and an instrument for evaluation and follow-up study. 2. The training personnel indicated the needs for research components in high level as following : survey questionnaire as research instrument, action research, study data from trainees, and collect data around the country. 3. Training personnel rated two research problems in high level. There were unavailable research findings and research findings could not be used to solve training problems. 4. There appeared to be some significant differences at .05 level in perceived needs and problems of training personnel in government organization, public enterprise orgainzation and private sectors. Chi-square analyses indicated twenty-three significant differences in perceived needs between training personnel from three different organizations. Results of a one-way analysis of variance indicated that there were eight significant differences in perceived needs for research components and four significant differences in perceived research problems of the three groups. Training personnel from public enterprise organization tended to have more problems than personnel from government organization and private sector.en
dc.format.extent12742085 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1999.425-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการฝึกอบรมen
dc.subjectวิจัยen
dc.titleการศึกษาความต้องการของบุคลากรฝึกอบรม เกี่ยวกับความรู้จากฐานงานวิจัยด้านฝึกอบรมen
dc.title.alternativeA study of training personnel's needs for research based knowledge in trainingen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorOnjaree.N@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1999.425-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chulaporn_He.pdf12.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.