Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15418
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์-
dc.contributor.advisorวิภาวี กิตติโกวิท-
dc.contributor.authorพิเชฐ หล่อวินิจนันท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-06-30T03:44:56Z-
dc.date.available2011-06-30T03:44:56Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15418-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าเซลล์ไขกระดูกสามารถเดินทางไปยังเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายและทำหน้าที่เปรียบเสมือนเซลล์ซ่อมแซมอวัยวะต่างๆเหล่านั้น ในแบบจำลองของพยาธิสภาพของไตภายหลังจากการทำให้ไตขาดเลือดไปเลี้ยง ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสรุปได้ว่าเซลล์ไขกระดูกสามารถที่จะเข้าไปอยู่และเปลี่ยนแปลงสภาพตัวเองไปเป็นเซลล์เยื่อบุท่อไตแทนที่เซลล์เยื่อบุท่อไตเดิมที่หลุดลอกออกไปได้หรือเปล่า คณะผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาหาหลักฐานของเซลล์ไขกระดูกว่าสามารถไปปรากฏอยู่ที่ไตได้หรือเปล่า โดยอาศัยแบบจำลองของการปลูกถ่ายไตในผู้ป่วยชายที่ได้รับการปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคซึ่งเป็นผู้หญิง การศึกษานี้ได้ทำการศึกษาโดยใช้ชิ้นเนื้อไตของผู้ป่วยชายที่ได้รับการปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคซึ่งเป็นผู้หญิง จำนวน 8 ชิ้น ผู้ป่วยแต่ละรายได้รับการเจาะชิ้นเนื้อไตด้วยเหตุผลทางการแพทย์ คณะผู้วิจัยได้ใช้ชิ้นเนื้อไต1 ชิ้น ของผู้ป่วยชายที่ไม่ได้รับการปลูกถ่ายไต ไว้เป็นกลุ่มควบคุมในเชิงบวก และใช้ชิ้นเนื้อไต 1 ชิ้นของผู้ป่วยหญิงที่ไม่ได้รับการปลูกถ่ายไต และชิ้นเนื้อไต 2 ชิ้น ของผู้ป่วยชายที่ได้รับการปลูกถ่ายไตและได้รับการเจาะชิ้นเนื้อไตวันแรกภายหลังการปลูกถ่ายไต ไว้เป็นกลุ่มควบคุมในเชิงลบ หลังจากนั้นทำการตรวจหาวายโครโมโซมโดยใช้วิธีอินไซตูไฮบริไดเซชั่น วายโครโมโซมที่ตรวจพบ จะปรากฏเป็นจุดสีเขียวอยู่บนนิวเครียสของเซลล์เยื่อบุท่อไต และทำการนับจำนวนวายโครโมโซมที่ตรวจพบต่อนิวเครียสของเซลล์เยื่อบุท่อไต 1000 เซลล์ ผลการศึกษา คณะผู้วิจัยสามารถตรวจพบวายโครโมโซมจากชิ้นเนื้อไตที่มีพยาธิสภาพเป็น Acute tubular necrosis (0.71 เปอร์เซ็นต์) Borderline tubulointerstitial rejection (0.36 เปอร์เซ็นต์) และ acute cellular rejection (2.5 เปอร์เซ็นต์) และตรวจไม่พบวายโครโมโซมจากชิ้นเนื้อไตที่มีพยาธิสภาพเป็น chronic allograft nephropathy, cyclosporine nephrotoxicity และ IgA nephropathy โดยสรุปมีหลักฐานของเซลล์ไขกระดูกในพยาธิสภาพของไตชนิด Acute kidney injury ภายหลังการปลูกถ่ายไตแต่ไม่พบหลักฐานของเซลล์ไขกระดูกในพยาธิสภาพของไตชนิด chronic kidney injury จากหลักฐานที่พบจำนวนเซลล์ไขกระดูกในพยาธิสภาพของไตภายหลังการปลูกถ่ายไตจำนวนน้อย จึงเป็นไปได้ว่าเซลล์ไขกระดูกอาจไม่มีบทบาทสำคัญในขบวนการซ่อมแซมเยื่อบุท่อไตen
dc.description.abstractalternativeBackground: Animal studies have demonstrated bone marrow cells migration into the site of damage tissue as reparative cell response to organ injury. In ischemic injury of kidney models, there were substantial evidences, though controversial, of bone marrow stem cells engrafted and differentiated into damage tubular epithelial cells. We studied the possibility of bone marrow cells migration to kidney by using male kidney transplant recipient who received renal graft from female donor. Methods: 8 kidney biopsies of male kidney transplant recipients who received renal graft from female donors were recruited in the study. The kidney biopsies were done by standard clinical indication. Non transplanted kidney biopsy of one male was done as positive control. Two renal allograft biopsies at day zero and one of non transplanted female kidney biopsy samples were done as negative controls. The In Situ Hybridization in short arm of human Y-chromosome at region 12 (Yq12) was done by using satellite III DNA and spectrum green fluorescent dye. Y-chromosome positive tubular epithelial cells were count for total 1000 cells and percentage of positive cells were analyzed. Results: In Situ Hybridization of Y-chromosome were positive namely acute tubular necrosis (0.71%), borderline tubulointerstitial rejection (0.36 %), acute cellular rejection (2.5 %). There was negative staining of Y-chromosome in chronic allograft nephropathy, cyclosporine nephrotoxicity, IgA nephropathy. Conclusion: There was evidence of bone marrow cells present in renal allograft. The low percentages of bone marrow cells may indicate the minor role of bone marrow cells for the tubular cells reparative process. There was no evidence of bone marrow cells in chronic renal allograft injury.en
dc.format.extent3009499 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.724-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectไขกระดูกen
dc.subjectไต -- การปลูกถ่ายen
dc.titleการศึกษาหลักฐานของเซลล์ไขกระดูกต่อพยาธิสภาพของไตภายหลังการปลูกถ่ายไตโดยใช้วายโครโมโซมอินไซตูไฮบริไดเซชั่นen
dc.title.alternativeEvidence of bone marrow cells in histopathology of renal graft by y-chromosome in situ hybridizationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorkearkiet@hotmail.com-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.724-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pichet_Lo.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.