Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15467
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฏฐภรณ์ หลาวทอง-
dc.contributor.authorดนุรี เงินศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-07-10T06:57:57Z-
dc.date.available2011-07-10T06:57:57Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15467-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยของการรับรู้ความสามารถของตนเองของครู และค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการสอนของครูมัธยมศึกษา เมื่อจำแนกตามภูมิหลังผู้ตอบแบบสอบถาม 2) พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุและผลของการรับรู้ความสามารถของตนเองของครูมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร และ 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2551 จำนวน 502 คน ตัวแปรที่ใช้การวิจัย ประกอบด้วย ตัวแปรภายในแฝง 2 ตัวแปร ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตนเองของครู และพฤติกรรมการสอนของครู และตัวแปรภายนอกแฝง 3 ตัวแปร คือ ปัจจัยทางจิตวิทยา ปัจจัยด้านภูมิหลังครู และปัจจัยด้านโรงเรียน โดยตัวแปรแฝงวัดจากตัวแปรสังเกตได้ รวมทั้งหมด 25 ตัวแปร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ 1. ครูมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร มีการรับรู้ความสามารถของตนเองในระดับดี โดยค่าเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองของครูเมื่อจำแนกตามประสบการณ์สอน ขนาดโรงเรียน และผลการเรียนเฉลี่ยของนักเรียนในระดับโรงเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการสอนของครูจำแนกตามผลการเรียนเฉลี่ยของนักเรียนในระดับโรงเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. โมเดลเชิงสาเหตุและผลของการรับรู้ความสามารถของตนเองของครูมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร พบว่า พฤติกรรมการสอนของครูได้รับอิทธิพลทางตรงจากการรับรู้ความสามารถของตนเองของครู และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากปัจจัยทางจิตวิทยา ปัจจัยด้านภูมิหลังครู และปัจจัยด้านโรงเรียน โดยส่งผ่านการรับรู้ความสามารถของตนเองของครู 3. โมเดลเชิงสาเหตุและผลของการรับรู้ความสามารถของตนเองของครูมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (chi square =53.821, df=58, p=0.631, GFI=0.991, AGFI=0.952, RMR=0.008) ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการรับรู้ความสามารถของตนเองของครูได้ 69% และอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรพฤติกรรมการสอนของครูได้ 73%.en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to study and compare the average of teacher self-efficacy and average of teaching behavior, 2) to develop a cause and effect model of self-efficacy of secondary school teachers under Bangkok educational service area offices, and 3) to examine the goodness of fit of the model with empirical data. The research samples consisted of 502 secondary teachers from the school under Bangkok educational service area offices. Variables consisted of five latent variables: teacher self-efficacy, teaching behavior factor, psychology factor, teacher background factor, and school factor. These latent variables were measured by twenty-five observed variables. The research data were collected by two questionnaires. Data were analyzed by descriptive statistics, oneway ANOVA, Pearson correlation, confirmatory factor analysis, and LISREL analysis. The major findings were as follows: 1. The secondary school teachers under Bangkok educational service area offices‘ teacher self-efficacy are good. The level of teacher’s opinion on psychology factor was different among the students’ grade point average in school level, teacher background factor was different among the school sizes and students’ grade point average in school level at .05 level of statistical significant. Average of teacher self-efficacy was different among the teacher experience, school sizes, and students’ grade point average in school level at .05 level of statistical significant. Average of teaching behavior was different among the students’ grade point average in school level at .05 level of statistical significant. 2. A cause and effect model of secondary school teachers under Bangkok educational service area offices found that teaching behavior was had direct effect on teacher self-efficacy and indirect effect on the psychology factor, teacher background factor, and school factor which passed on teacher self-efficacy. 3. A cause and effect model of self-efficacy of secondary school teachers under Bangkok educational service area offices was fitted with the empirical data ((chi square =53.821, df=58, p=0.631, GFI=0.991, AGFI=0.952, RMR=0.008). The variables in the model accounted for 69% of variance in the teacher self-efficacy and 73% of variance in the teaching behavior.en
dc.format.extent1899783 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.441-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความสามารถในตนเองen
dc.subjectการรับรู้ตนเองen
dc.subjectการสอนen
dc.subjectลิสเรลโมเดลen
dc.titleการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุและผลของการรับรู้ความสามารถของตนเองของครูมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeDevelopment of a cause and effect model of self-efficacy of secondary school teachers under Bangkok educational service area officesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorLawthong_n@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.441-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Danuree_ng.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.