Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15468
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุจริต คูณธนกุลวงศ์-
dc.contributor.advisorวิรัช ฉัตรดรงค์-
dc.contributor.authorบุญชนะ ทวีรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-07-10T07:11:21Z-
dc.date.available2011-07-10T07:11:21Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15468-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractเรดาร์ตรวจอากาศเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพชนิดหนึ่งสำหรับการตรวจวัดปริมาณฝนเชิงพื้นที่ และติดตามการเคลื่อนตัวของกลุ่มฝน ปัจจุบันหน่วยงานในประเทศไทยได้นำเอาข้อมูลเรดาร์มาใช้ เพื่อหาการเคลื่อนที่และประมาณปริมาณน้ำฝนร่วมกับข้อมูลจากสถานีตรวจวัดฝนภาคพื้นดิน วิธีการประมาณน้ำฝนที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น มักกระทำโดยการปรับแก้ข้อมูลเรดาร์ด้วยข้อมูลน้ำฝนจากสถานีตรวจวัดภาคพื้นดินด้วยความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง แต่วิธีการดังกล่าวมักมีความคลาดเคลื่อนสูง แม้ว่าจะมีการปรับแก้ฝนสะสมโดยรวมให้ตรงกันแล้วก็ตาม แนวทางหนึ่งในการปรับปรุงการประมาณปริมาณน้ำฝนจากสถานีเรดาร์ สามารถทำได้โดยการใช้แบบจำลองที่พิจารณาถึงความสัมพันธ์ของน้ำฝนเชิงพื้นที่ และสามารถรวมข้อมูลฝนจากหลายๆ แหล่งเข้าด้วยกันได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้นำเสนอการประยุกต์ใช้แบบจำลองฝนเชิงพื้นที่แบบลำดับขั้น (Cascade rainfall model) เพื่อปรับปรุงการประมาณปริมาณน้ำฝนจากสถานีเรดาร์ ด้วยการรวมข้อมูลฝนจากสถานีตรวจวัดภาคพื้นดิน การใช้แบบจำลองดังกล่าวนอกจากจะได้ประโยชน์จากการรวมข้อมูลจากหลายเครื่องมือวัดแล้ว ยังใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์เชิงพื้นที่และข้อมูลโดยรอบเพื่อปรับปรุงค่าประมาณที่แต่ละตำแหน่ง ให้มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ผลการศึกษาพบว่า แม้แบบจำลองสามารถเพิ่มความถูกต้องในการประมาณปริมาณน้ำฝนได้เพียงเล็กน้อย แต่สามารถช่วยเติมข้อมูลที่ขาดหายไปได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ จากความง่ายในการใช้งานและความรวดเร็วในการคำนวณแนวทางดังกล่าว สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อรวมข้อมูลฝนจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น จากดาวเทียมตรวจอากาศ หรือใช้เพื่อประมาณปริมาณน้ำฝนเชิงพื้นที่ของประเทศไทยจากหลายเครื่องมือตรวจวัด เพื่อให้มีความสมบูรณ์และถูกต้องเพิ่มขึ้นต่อไป.en
dc.description.abstractalternativeRadar is one of the most effective instruments for monitoring spatial rainfall intensity and estimating rainfall movement. In Thailand, radar has been widely employed to detect rainfall movements and to estimate rainfall rate in conjunction with rain-gauge measurements. A traditional method for estimating rainfall rate from radar is done by using a linear regression model between gauge and radar information. This method usually produces inaccurate result, although the cumulative rainfall rate has been adjusted to that obtained from the gauges. One way to improve the accuracy is to use a spatial rainfall model to incorporate nearby observations and combine multiple rainrate measurements together. This thesis illustrates an application of using the Cascade Rainfall Model to improve radar rainrate estimate by incorporating spatial information and combining gauge data. Not only does the spatial model benefit from having multiple sources of measurements, but it also makes use of neighbor information to improve rainfall estimation. Even though the result shows that this technique slightly improves the accuracy, it can fill-in missing data reasonably well. Due to its simplicity and effectiveness, this technique can be applied for merging other rainfall measurement sources such as satellite observations, and be employed to provide comprehensive and real-time rainfall estimate of Thailand in the near future.en
dc.format.extent6166848 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.728-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectน้ำฝน -- การวัดen
dc.subjectฝนen
dc.subjectเรดาร์en
dc.titleการประยุกต์ใช้แบบจำลองลำดับชั้นเชิงพื้นที่สำหรับประเมินปริมาณน้ำฝนในกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeAn application of a spatial cascade model for estimating rainfall in Bangkok Metropolitanen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมแหล่งน้ำes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSucharit.K@Chula.ac.th-
dc.email.advisorcvirat@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.728-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonchana_ta.pdf6.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.