Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15489
Title: การบำบัดน้ำเสียที่ปนเปื้อนโลหะหนัก โดยใช้กากของเหลวเขียว
Other Titles: Treatment of heavy metal wastewater using green liquor dregs
Authors: วิชชุดา ไชยะโชค
Advisors: สุธา ขาวเธียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sutha.K@eng.chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ
น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนัก
การดูดซับทางเคมี
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมและประสิทธิภาพในการใช้กากของเหลวเขียว สำหรับดูดซับโครเมียมและทองแดงจากน้ำเสียสังเคราะห์ และน้ำเสียจากโรงงานชุบโครเมียม การดำเนินการวิจัยนี้ได้ทดลองแบบกวนผสมสมบูรณ์ ในระบบแบตช์ระดับห้องปฏิบัติการที่อุณหภูมิห้อง และวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักด้วยเครื่องอะตอมมิกแอบซอร์พชั่นสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ ในน้ำเสียก่อนและหลังจากเขย่า ซึ่งน้ำเสียที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วยน้ำเสียสังเคราะห์ และน้ำเสียจากโรงงานชุบโครเมียม โดยกำหนดค่าความเข้มข้นของน้ำเสียสังเคราะห์คือ ค่าความเข้มข้นโครเมียมและทองแดง เท่ากับ 200 และ 20 มิลลิกรัมต่อลิตรตามลำดับ และโครเมียมผสมทองแดงที่ความเข้มข้นเดียวกัน โดยวิธีการหาระยะเวลาสัมผัสที่เหมาะสมจะทำการเขย่าเป็นเวลา 0.5 ถึง 24 ชั่วโมง วิธีการหาค่าพีเอชที่เหมาะสมจะทำการปรับค่าพีเอชเป็น 2 ถึง 9 และวิธีการหาไอโซเทอมนั้นจะทำการปรับปริมาณกากของเหลวเขียวเป็น 0 ถึง 1.2 กรัม/100 มิลลิลิตร นอกจากนี้จะทำการศึกษาการคายออกของโลหะโดยใช้วิธี Waste extraction test (WET) ผลการวิจัยพบว่า ระยะเวลาสัมผัสที่เหมาะสมในการดูดซับโครเมียมและทองแดง มีค่าเท่ากับ 24 ชั่วโมง ช่วงพีเอชที่เหมาะสมในการกำจัดโครเมียมและทองแดงเท่ากับ 7-9 และไอโซเทอมที่เหมาะสมกับการดูดซับโครเมียมในน้ำเสียคือ ไอโซเทอมของฟรุนดริช และไอโซเทอมของแลงเมียร์ แต่การดูดซับทองแดงนั้นไม่เป็นไปตามไอโซเทอมของการดูดซับทั้งสองชนิด เนื่องจากเกิดกระบวนการตกตะกอนขึ้นเป็นส่วนใหญ่ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำกากของเหลวเขียวมาใช้ในระบบการบำบัดน้ำเสียขั้นต้น เพื่อกำจัดโลหะหนักบางส่วนก่อนเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย.
Other Abstract: To find an optimum condition and efficiency of dregs in the adsorption of chromium and copper from synthetic wastewater and wastewater from electroplating factories. The experiment was carried out in a laboratory scale-completely mixed batch system at room temperature. The heavy metals concentration in the wastewater was measured by Atomic adsorption spectrophotometer before and after adsorption by dregs. Two sample of synthetic wastewater was prepared; one with either chromium or copper and one with both chromium and copper at concentration of 200 and 20 mg/L, respectively. For adsorption kinetic studies samples were taken for heavy metals measurement at 0.5-24 hours of adsorption time. The pH range from 2-9 was studied to determine the optimum value. Isotherm was identified by varying the amount of dregs from 0-1.2 g/100 ml. Furthermore, leaching test of heavy metals was performed by waste extraction test (WET). The optimum condition for this study was 24 hours of contact time and pH range of 7-9. The adsorption isotherm of chromium can be described by both the Freundlich and Langmuir isotherm. For copper, the equilibrium was not followed the adsorption isotherm because the removal of copper is based on precipitation. Therefore, it would be plausible to use dregs in the preliminary treatment of wastewater to remove some of the heavy metals, and to reduce the amount of chemicals used in pH adjustment step in the precipitation process.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15489
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1412
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1412
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vichchuda_ch.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.